ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5
ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
31/10/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอนศึกษาข้อมูลเตรียมขออนุมัติโครงการ 30/11/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอนจัดทำแผนการปรับปรุงหน่วยงานตามผลความคิดเห็นที่ได้รับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 29/12/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอนร่วมประชุมเพื่อรับฟังการชี้แจงการดำเนินงานจากกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2562 พร้อมทั้งได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะดำเนินการทอดแบบสอบถาม
31/1/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...กองงานผู้ตรวจราชการได้มีการทอดแบบประเมินผลความพึงพอใจครั้งที่ 1 เรียบร้อยแล้ว 29/2/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน... กองงานผู้ตรวจราชการได้มีการทอดแบบประเมินผลความพึงพอใจครั้งที่ 1 เรียบร้อยแล้ว 31/3/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...กองงานผู้ตรวจราชการได้มีการทอดแบบประเมินผลความพึงพอใจครั้งที่ 1 เรียบร้อยแล้ว
30/4/2563 : กองงานผู้ตรวจราชการได้มีการทอดแบบประเมินผลความพึงพอใจครั้งที่ 1 เรียบร้อยแล้ว 29/5/2563 : กองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานครได้ส่งแบบสอบถามความพึงพอใจ ครั้งที่ 2 ให้สำนักงานประชาสัมพันธ์ประเมิน 30/6/2563 : กองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานครได้ส่งแบบสอบถามความพึงพอใจ ครั้งที่ 2 ให้สำนักงานประชาสัมพันธ์ประเมิน และสำนักงานประชาสัมพันธ์ได้จัดส่งแบบสอบถามคืนให้กองงานผู้ตรวจราชการเรียบร้อยแล้ว
31/7/2563 กองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานครได้ส่งแบบสอบถามความพึงพอใจ ครั้งที่ 2 ให้สำนักงานประชาสัมพันธ์ประเมิน และสำนักงานประชาสัมพันธ์ได้จัดส่งแบบสอบถามคืนให้กองงานผู้ตรวจราชการเรียบร้อยแล้ว 31/8/2563 กองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานครได้ส่งแบบสอบถามความพึงพอใจ ครั้งที่ 2 ให้สำนักงานประชาสัมพันธ์ประเมิน และสำนักงานประชาสัมพันธ์ได้จัดส่งแบบสอบถามคืนให้กองงานผู้ตรวจราชการเรียบร้อยแล้ว 29/9/2563 สำนักงานประชาสัมพันธ์ ได้รับคะแนนความพึงพอใจจากผู้รับบริการในการสำรวจประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ดังนี้ ครั้งที่ 1 ได้รับคะแนนความพึงพอใจที่คะแนนเฉลี่ย 4.053 ในภาพรวม โดยประเด็นสำรวจที่ได้รับคะแนนความพึงพอใจสูงสุด คือ (1.3) เจ้าหน้าที่มีอัธยาศัยสุภาพ ได้รับความพึงพอใจที่ระดับ 4.189 และต่ำสุดคือ (1.13) ข้อหารือได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็วและชัดเจน ได้รับความพึงพอใจที่ระดับ 3.910 ครั้งที่ 2 ได้รับคะแนนความพึงพอใจที่คะแนนเฉลี่ย 4.114 ในภาพรวม โดยประเด็นสำรวจที่ได้รับคะแนนความพึงพอใจสูงสุด คือ (1.16) การชี้แจงประเด็นข่าวที่มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร มีความรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ ได้รับความพึงพอใจที่ระดับ 4.178 และต่ำสุดคือ (1.10) การให้บริการสืบค้นข่าวสาร หรือ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ได้ผลและรวดเร็ว ได้รับความพึงพอใจที่ระดับ 3.979 ผลเฉลี่ยความพึงพอใจในภาพรวมจากการสำรวจทั้ง 2 ครั้ง อยู่ที่ 4.084 ทั้งนี้สำนักงานประชาสัมพันธ์ได้นำประเด็นที่ได้คะแนนต่ำสุดจากสื่อมวลชนและประชาชน คือ ประเด็นการประสานงาน/ข้อคิดเห็น ได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็ว มาพัฒนา/ปรับปรุงคุณภาพการให้บริการให้ดียิ่งขึ้น ดังนี้ 1. มอบผู้รับผิดชอบดูแลกลุ่มไลน์ “แจ้งกำหนดงาน กทม.” ประสานงานกับสื่อมวลชนอย่างสม่ำเสมอ 2. ให้ข้อมูลข่าวสาร ภาพข่าว และประสานงานกับสื่อมวลชนอย่างทันที 3. ให้บริการอินโฟกราฟฟิกผ่านทาง Facebook กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์ 4. บริหารภาพนิ่งและคลิปข่าวอย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์ ผ่านทุกช่องทาง ได้แก่ Line / Facebook / Twitter / YouTube 5. ปรับปรุงข้อมูลข่าวสารในสื่อออนไลน์ของสำนักงานประชาสัมพันธ์ให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการบริการของหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร หมายถึง การสำรวจความความพึงพอใจของประชาชนผู้มารับบริการโดยตรง หรือข้าราชการและบุคลากรจากหน่วยงาน/ส่วนราชการทั้งภายในและภายนอกกรุงเทพมหานคร ที่หน่วยงานนั้นๆ ให้บริการ ในประเด็นต่างๆ เช่น 1. ความพึงพอใจด้านกระบวนการ ขั้นตอนการให้บริการ 2. ความพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ 3. ความพึงพอใจด้านการบริการผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ 4. ความพึงพอใจด้านสิ่งอำนวยความสะดวก 5. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานด้านการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของหน่วยงาน 6. ความพึงพอใจต่อกิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนาของหน่วยงาน ฯลฯ
คะแนนจะเป็นไปตามค่าเฉลี่ยผลสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการทั้ง 2 ครั้ง คือ การนำผลคะแนนสำรวจความพึงพอใจครั้งที่ 1 รวมกับผลคะแนนสำรวจความพึงพอใจครั้งที่ 2 หารด้วยจำนวนครั้งในการสำรวจ (หาร 2) และใช้ทศนิยม 3 ตำแหน่ง
หน่วยงานจัดเตรียมเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับงานบริการของหน่วยงานนั้นๆ ไว้ที่หน่วยงานพร้อมให้ผู้ประเมินผลตรวจสอบหรือขอข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการวิเคราะห์และประเมินผลความพึงพอใจของผู้รับบริการ
:ด้านที่ ๕ - มหานครประชาธิปไตย : Bangkok as a Democratic City |
:๕.๔ - การเมืองสีขาว |
:๕.๔.๑ ประชาชนมีความเชื่อมั่นในข้าราชการและผู้ดำารงตำาแหน่งทางการเมืองของกรุงเทพมหานคร% |
:๕.๔.๑.๑ ประชาชนมีความเชื่อมั่นในหน่วยงานและผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง |