ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 0
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
เดือนตุลาคม...ดำเนินการศึกษาหลักเกณฑ์ตัวชี้วัด เพื่อเตรียมดำเนินการตามขั้นตอน เดือนพฤศจิกายน...อยู่ระหว่างรวบรวมองค์ความรู้จากคำพิพากษาของศาลปกครอง เดือนธันวาคม...คัดเลือกองค์ความรู้จากคำพิพากษาของศาลปกครอง
เดือนมกราคม - เดือนมีนาคม....ได้มีหนังสือถึงประธานกลุ่มเขตเพื่อประสานเขตที่รับผิดชอบให้พิจารณาส่งรายชื่อผู้เกี่ยวข้อง ผู้รับผิดชอบการดำเนินคดีปกครอง ให้เข้าร่วมกิจกรรม อยู่ระหว่างดำเนินการประสานและรวบรวม
เดือนเมษายน - เดือนมิถุนายน - ได้มีหนังสือเรียนประธานกลุ่มเขต 6 กลุ่มเขตประสานสำนักงานเขตพิจารณาจัดส่งนิติกรหรือผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินคดีปกครองเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมฯ และดำเนินการจัดอบรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพบุคลลากรด้านกฎหมาย ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ตำแหน่งนิติกร หรือเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวบ้องกับการดำเนินยคดีปกครอง จำนวน 3 ครั้ง ในรูปแบบ E-Meeting โดยผ่านทางแอพพลิเคชั่น Webex Meet โดยกำหนดการจัดอบรม ครั้งที่ 1 ให้กับเจ้าหน้าที่กลุ่มกรุงเทพกลางและกลุ่มกรุงเทพตะวันออก จำนวนเขตละ 2 คน เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2564 เวลา 9.30 - 12.00 น. ครั้งที่ 2 กลุ่มกรุงเทพเหนือ และกลุ่มกรุงเทพใต้ กำหนดอบรมวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 ครั้งที่ 3 กลุ่มกรุงธนเหนือและกลุ่มกรุงธนใต้ และสำนักต่าง ๆ กำหนดอบรมวันที่ 6 กรกฎาคม 2564
เดือนกรกฎาคม - กันยายน ดำเนินการประมวลผลคะแนนการทดสอบก่อน - หลังการจัดการอบรมให้ความรู้ตามกิจกรรม และรายงานผลการดำเนินกิจกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพบุคลากรด้านกฎหมายให้ผู้บังคับบัญชาทราบ
๑.การให้ความรู้ หมายถึง การจัดกิจกรรมเพื่อถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจจากข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายจากคำพิพากษาของศาลปกครอง เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินคดีปกครองของหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร ๒.ผู้เข้ารับความรู้ หมายถึง นิติกรหรือเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ผู้รับผิดชอบในการดำเนินคดีปกครอง สังกัดสำนักงานเขต โดยจัดการให้ความรู้ให้แก่ตัวแทนกลุ่มสำนักงานเขต ทั้ง ๖ กลุ่มเขต (จำนวนครั้งที่จัดกิจกรรม ๑ ครั้งต่อ ๒ กลุ่มเขต) ๓.การดำเนินการทดสอบก่อนการให้ความรู้ (Pre-Test) หมายถึง การให้ผู้เข้าร่วมรับความรู้ทำข้อทดสอบจากข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายจากคำพิพากษาของศาลปกครอง ที่จะนำมาให้ความรู้ ก่อนการให้ความรู้ ๔.การดำเนินการทดสอบหลังการให้ความรู้ (Post-Test) หมายถึง การให้ผู้เข้าร่วมรับความรู้ทำข้อทดสอบจากข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายจากคำพิพากษาของศาลปกครอง หลังการให้ความรู้
คำนวณจากคะแนนการทดสอบภายหลังจากการให้ความรู้ โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
แฟ้มงาน
:**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****% |
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |