รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละของวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ต่อได้รับการฝากครรภ์และคลอดอย่างมีคุณภาพ : 0700-0777

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 40

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 50.93

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 0

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00
100
100 / 100
2
65.63
100
100 / 100
3
57.19
0
0 / 0
4
50.93
0
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

อยู่ระหว่างเก็บข้อมูลวัยรุ่นอายุ 10 – 19 ปี ที่ตั้งครรภ์ต่อได้เข้ารับบริการฝากครรภ์และการคลอดอย่างมีคุณภาพ ในโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

จำนวนวัยรุ่นตั้งครรภ์อายุ 10 - 19 ปี ที่ตั้งครรภ์ต่อได้เข้ารับบริการฝากครรภ์และการคลอดอย่างมีคุณภาพ จำนวน 320 ราย จำนวนวัยรุ่นอายุ 10 – 19 ปี ที่มารับบริการคลอดบุตรทั้งหมดในช่วงเวลาเดียวกัน จำนวน 210 รายคิดเป็นร้อยละ 65.63

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

จำนวนวัยรุ่นตั้งครรภ์อายุ 10 - 19 ปี ที่ตั้งครรภ์ต่อได้เข้ารับบริการฝากครรภ์และการคลอดอย่างมีคุณภาพ จำนวน 292 ราย จำนวนวัยรุ่นอายุ 10 – 19 ปี ที่มารับบริการคลอดบุตรทั้งหมดในช่วงเวลาเดียวกัน จำนวน 167 รายคิดเป็นร้อยละ 57.19

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

-โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ 8 แห่ง ได้มีการให้บริการด้านอนามัยเจริญพันธุ์ มีกิจกรรมโรงเรียนพ่อ-แม่สำหรับหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น และมีการให้ความรู้ในหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ฝากครรภ์จนถึงหลังคลอด โดยมีผลการดำเนินการดังนี้ 1. โรงพยาบาลกลาง ดำเนินการจัดกิจกรรมโรงเรียนพ่อ-แม่สำหรับหญิงตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยมีการให้ความรู้ในการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นตั้งแต่ฝากครรภ์จนถึงหลังคลอด ให้บริการในวันศุกร์ที่ 1 และ 3 ของเดือน และเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2562 ได้จัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ “โครงการคุณแม่คุณภาพ” เพื่อให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์และครอบครัว สามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง ในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และหลังคลอด ลดความวิตกกังวลในการเข้าสู่บทบาทการเป็นมารดา รวมทั้งลดภาวะแทรกซ้อนในระยะตั้งครรภ์ โดยภายในงานมีการบรรยาย เสวนา และกิจกรรมเชิงปฏิบัติการโดยทีมพยาบาลผู้ป่วยนอกสูตินรีเวชกรรม มีจำนวนวัยรุ่นอายุ 10 – 19 ปี ที่มารับบริการคลอดบุตรทั้งหมด 96 ราย และมีจำนวนวัยรุ่นอายุ 10 – 19 ปีที่ตั้งครรภ์ต่อได้รับการฝากครรภ์และคลอดอย่างมีคุณภาพ จำนวน 74 ราย คิดเป็นร้อยละ 77.08 2. โรงพยาบาลตากสิน ดำเนินการจัดตั้งคลินิกหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น ให้คำแนะนำและให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมโรงเรียนพ่อ-แม่วัยรุ่น โดยให้ความรู้เรื่องการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด การสังเกตอาการผิดปกติ การปฏิบัติตัวที่เหมาะสม การวางแผนครอบครัว การคุมกำเนิด และการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คลินิกเปิดให้บริการ ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 08.00 – 12.00 น. มีจำนวนวัยรุ่นอายุ 10 – 19 ปี ที่มารับบริการคลอดบุตรทั้งหมด 76 ราย และมีจำนวนวัยรุ่นอายุ 10 – 19 ปีที่ตั้งครรภ์ต่อได้รับการฝากครรภ์และคลอดอย่างมีคุณภาพ จำนวน 44 ราย คิดเป็นร้อยละ 57.89 3. โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ดำเนินการจัดกิจกรรมโรงเรียนพ่อ-แม่สำหรับหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น และมีการให้ความรู้ในหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ฝากครรภ์จนถึงหลังคลอด ณ ห้องฝากครรภ์ ชั้น 3 อาคาร 72 พรรษา มหาราชินี ในวันจันทร์ เวลา 08.00 – 11.00 น. มีจำนวนวัยรุ่นอายุ 10 – 19 ปี ที่มารับบริการคลอดบุตรทั้งหมด 220 ราย และมีจำนวนวัยรุ่นอายุ 10 – 19 ปีที่ตั้งครรภ์ต่อได้รับการฝากครรภ์และคลอดอย่างมีคุณภาพ จำนวน 85 ราย คิดเป็นร้อยละ 38.64 4. โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโรอุทิศ จัดกิจกรรมโรงเรียนพ่อ-แม่สำหรับหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น กิจกรรมให้ความรู้การปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์วัยรุ่น มีการทดสอบความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนพ่อ-แม่ รวมทั้งมีการแจกแผ่นพับประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ เรื่อง คุณแม่มือใหม่กับการฝากครรภ์ และ เรื่องการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น มีจำนวนวัยรุ่นอายุ 10 – 19 ปี ที่มารับบริการคลอดบุตรทั้งหมด 36 ราย และมีจำนวนวัยรุ่นอายุ 10 – 19 ปีที่ตั้งครรภ์ต่อได้รับการฝากครรภ์และคลอดอย่างมีคุณภาพ จำนวน 15 ราย คิดเป็นร้อยละ 41.67 5. โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ ดำเนินการจัดกิจกรรมโรงเรียนพ่อ-แม่สำหรับหญิงตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยมีการให้คำแนะนำหญิงตั้งครรภ์และครอบครัว ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง โดยใช้สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก และส่งเสริมโภชนาการและการเพิ่มน้ำหนักในหญิงตั้งครรภ์เพื่อเฝ้าระวังน้ำหนักให้มีน้ำหนักเพิ่มตามเกณฑ์ มีจำนวนวัยรุ่นอายุ 10 – 19 ปี ที่มารับบริการคลอดบุตรทั้งหมด จำนวน 60 ราย และมีจำนวนวัยรุ่นอายุ 10 – 19 ปีที่ตั้งครรภ์ต่อได้รับการฝากครรภ์และคลอดอย่างมีคุณภาพ จำนวน 29 ราย คิดเป็นร้อยละ 48.33 6. โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร ดำเนินการจัดกิจกรรมโรงเรียนพ่อ-แม่สำหรับหญิงตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในระยะตั้งครรภ์ บทบาทพ่อแม่ที่ดี การเตรียมความพร้อมเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการให้คำปรึกษาเรื่องโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม การดูแลช่องปาก และการประเมินสุขภาพจิต ณ คลินิกฝากครรภ์ รวมถึงในระยะใกล้คลอด มีกิจกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอด การฝึกการเตรียมความพร้อมในการเผชิญความเจ็บปวดจากการคลอด การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และอาการสำคัญที่ต้องมา โรงพยาบาล ณ ห้องคลอด มีจำนวนวัยรุ่นอายุ 10 - 19 ปี ที่มารับบริการคลอดบุตรทั้งหมด จำนวน 33 ราย และมีจำนวนวัยรุ่นอายุ 10 - 19 ปีที่ตั้งครรภ์ต่อได้รับการฝากครรภ์และคลอดอย่างมีคุณภาพ จำนวน 23 ราย คิดเป็นร้อยละ 69.70 7. โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ดำเนินการจัดกิจกรรมโรงเรียนพ่อ-แม่สำหรับหญิงตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นในการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ และมีการเตรียมความพร้อมในการเป็นคุณพ่อคุณแม่ที่มีคุณภาพ ณ คลินิกสูตินรีเวชกรรม ในวันราชการ เวลา 08.00 – 12.00 น. มีจำนวนวัยรุ่นอายุ 10 – 19 ปี ที่มารับบริการคลอดบุตรทั้งหมด จำนวน 55 ราย และมีจำนวนวัยรุ่นอายุ 10 – 19 ปีที่ตั้งครรภ์ต่อได้รับการฝากครรภ์และคลอดอย่างมีคุณภาพ จำนวน 23 ราย คิดเป็นร้อยละ 41.82 8. โรงพยาบาลสิรินธร ดำเนินการจัดกิจกรรมโรงเรียนพ่อ-แม่สำหรับหญิงตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ให้ความรู้และคำแนะนำหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นในการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ รวมทั้งการให้คำปรึกษาในการดำเนินชีวิตหลังคลอด เช่น การวางแผนการคุมกำเนิด และการศึกษา ณ ห้องตรวจสูตินรีเวชกรรม ชั้น 2 ในวันศุกร์ เวลา 13.00 น. มีจำนวนวัยรุ่นอายุ 10 – 19 ปี ที่มารับบริการคลอดบุตรทั้งหมด จำนวน 445 ราย และมีจำนวนวัยรุ่นอายุ 10 – 19 ปีที่ตั้งครรภ์ต่อได้รับการฝากครรภ์และคลอดอย่างมีคุณภาพ จำนวน 227 ราย คิดเป็นร้อยละ 51.01 รวมจำนวนวัยรุ่นอายุ 10 – 19 ปี ที่มารับบริการคลอดบุตรทั้งหมด จำนวน 1,021 ราย และมีจำนวนวัยรุ่นอายุ 10 – 19 ปีที่ตั้งครรภ์ต่อได้รับการฝากครรภ์และคลอดอย่างมีคุณภาพ จำนวน 520 ราย คิดเป็นร้อยละ 50.93

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ต่อได้รับการฝากครรภ์และคลอดอย่างมีคุณภาพ หมายถึง วัยรุ่นอายุ 10 – 19 ปี ที่ตั้งครรภ์ต่อได้รับการส่งต่อเข้ารับบริการฝากครรภ์ในอายุครรภ์ที่ไม่เกิน 12 สัปดาห์ และมาฝากครรภ์อย่างน้อย 3 ครั้ง ไตรมาสละอย่างน้อย 1 ครั้ง (ตรวจสอบจากสมุดฝากครรภ์จากโรงพยาบาล คลินิก หรือสถานบริการสุขภาพนอกสังกัดฯ ได้) ตลอดจนได้รับการคลอดอย่างมีคุณภาพตามระบบ ANC

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

จำนวนวัยรุ่นตั้งครรภ์อายุ 10 - 19 ปีที่ตั้งครรภ์ต่อได้เข้ารับบริการฝากครรภ์และการคลอดอย่างมีคุณภาพ หารด้วย จำนวนวัยรุ่นอายุ 10 – 19 ปี ที่มารับบริการคลอดบุตรทั้งหมดในช่วงเวลาเดียวกัน (เก็บข้อมูลจากห้องคลอด) คูณด้วย 100

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

-

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย
:๑.๖.๑ คนกรุงเทพฯ มีสุขภาวะทางกายและจิต มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ไม่มีภาวะเจ็บป่วยจาก โร%
:๑.๖.๑.๘ ส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง