รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการดูแลตามเกณฑ์ : 0700-0780

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 80

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 84.68

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 0

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00
100
100 / 100
2
54.81
100
100 / 100
3
41.66
0
0 / 0
4
84.68
0
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

อยู่ระหว่างเก็บข้อมูลผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

-โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ ทั้ง 8 แห่ง ได้ดำเนินการตรวจคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ และได้รับการดูแลตามเกณฑ์ดังนี้ 1. ผู้ป่วย DM ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ. 2 ส. 2. ตรวจ HbA1C ปีละ 1 ครั้ง 3. ตรวจ Lipid ปีละ 1 ครั้ง 4. ตรวจ UMA อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ผลการดำเนินงาน มีดังนี้ - จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ที่ได้รับวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคเบาหวานได้รับการดูแลตามเกณฑ์ จำนวน 13,861 ราย - จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในคลินิกเบาหวานหรือคลินิกอายุรกรรม (กรณีไม่มีคลินิกโรคเบาหวาน) ในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ทั้งหมด จำนวน 25,290 ราย คิดเป็นร้อยละ 54.81

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

-โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ ทั้ง 8 แห่ง ได้ดำเนินการตรวจคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ และได้รับการดูแลตามเกณฑ์ดังนี้ 1. ผู้ป่วย DM ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ. 2 ส. 2. ตรวจ HbA1C ปีละ 1 ครั้ง 3. ตรวจ Lipid ปีละ 1 ครั้ง 4. ตรวจ UMA อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ผลการดำเนินงาน มีดังนี้ - จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ที่ได้รับวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคเบาหวานได้รับการดูแลตามเกณฑ์ จำนวน 20,971 ราย - จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในคลินิกเบาหวานหรือคลินิกอายุรกรรม (กรณีไม่มีคลินิกโรคเบาหวาน) ในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ทั้งหมด จำนวน 50,586 ราย คิดเป็นร้อยละ 41.66

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

-โครงการพัฒนาคุณภาพระบบบริการประชาชนที่เป็นโรคเบาหวาน เป็นการพัฒนาระบบ ทั้งวัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ นำมาใช้ในหน่วยงาน เพื่อให้การบริการแก่ผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งในโครงการนี้หมายถึง ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคเบาหวานและเข้าสู่บริการของคลินิกเบาหวานหรือคลินิกอายุรกรรม (กรณีไม่มีคลินิกโรคเบาหวาน) ได้รับการดูแลรักษาอย่างมีมาตรฐาน ตามเกณฑ์ที่กำหนด ครบ 4 เกณฑ์ ได้แก่ 1. ผู้ป่วย DM ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ. 2 ส. 2. ตรวจ HbA1C ปีละ 1 ครั้ง 3. ตรวจ Lipid ปีละ 1 ครั้ง 4. ตรวจ UMA อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยมีผลการดำเนินงานในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์จำนวน 8 แห่ง ดังนี้ 1.โรงพยาบาลกลาง - เปิดบริการ จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 12.00 น. ณ OPD อายุรกรรมทั่วไป ชั้น 2 อาคารอนุสรณ์ 100 ปี - กิจกรรม : 1) อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การพัฒนาองค์ความรู้เรื่องบริหารยาเบาหวานสำหรับพยาบาล” วันที่ 12, 22 และ 29 พ.ย. 2562 ณ ห้องประชุม พี.เอ.ไนติงเกล ชั้น 20 อาคารอนุสรณ์ 100 ปี 2) จัดโครงการ “ผู้สูงอายุปลอดภัย ครอบครัวเข้าใจ ใส่ใจเบาหวาน” ครั้งที่ 2 วันที่ 14 พ.ย. 2562 โดยภายในงานให้บริการตรวจวัดน้ำตาลในเลือด มีการบรรยายให้ความรู้ เรื่อง “ใครไม่เบา เบาหวาน” และฐานกิจกรรมต่างๆ ณ มัสยิดมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย 3) จัดบรรยายให้ความรู้สู่ผู้รับบริการ เรื่อง อาหารเบาหวาน วันที่ 25 ธ.ค. 2562 พร้อมแจกของขวัญ เนื่องในวันคริสมาสต์ ณ บริเวณหน้าห้องตรวจประกันสุขภาพ แผนกอายุรกรรม และบริเวณหน้าห้องตรวจประกันสังคม - จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการดูแลตามเกณฑ์ จำนวน 989 ราย - จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการทั้งหมด จำนวน 1,155 ราย คิดเป็นร้อยละของความสำเร็จ เท่ากับร้อยละ 85.63 2.โรงพยาบาลตากสิน - เปิดบริการ จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. ณ ชั้น 6 อาคารธนบุรีศรีมหาสมุทร - กิจกรรม : 1) โครงการวันเบาหวานโลก วันที่ 12 พ.ย. 2562 โดยมีการคัดกรองปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ให้คำปรึกษาและคำแนะนำในการปฏิบัติตัว ตลอดจนให้คำปรึกษาทางโภชนาการ การใช้ยา การออกกำลังกาย 2) การสอนผู้ป่วยและญาติที่มารอรับการตรวจรักษาที่ศูนย์เบาหวาน โดยทีมศูนย์เบาหวาน เป็นกิจกรรมการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน โดยมีการตั้งคำถามตอบ และเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคเบาหวาน ในวันจันทร์และวันพุธ เริ่ม 13 พ.ค. 2563 ซึ่งได้มีการสอนครบไปแล้ว 1 รอบ เนื้อหาในการสอนจำนวน 8 เรื่อง และเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ได้มีการปรับวันให้ความรู้เป็นแบบกลุ่ม สัปดาห์ละครั้ง สลับวันกันไปคือ วันอังคารและวันพุธ เริ่มวันที่ 16 มิ.ย. 2563 ถึงปัจจุบัน 3) การติดตามประเมินการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตากสิน โดยทีมศูนย์เบาหวาน ดำเนินการติดตามอาการ การประเมินให้การพยาบาลประจำหน่วยงานในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน และการตรวจภาวะแทรกซ้อนประจำปี เริ่ม 14 เม.ย. 2563 - จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการดูแลตามเกณฑ์ จำนวน 3,903 ราย - จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการทั้งหมด จำนวน 4,435 ราย คิดเป็นร้อยละของความสำเร็จ เท่ากับร้อยละ 88 3.โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ - เปิดบริการ จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 11.00 น. ณ คลินิกอายุรกรรม (ศูนย์เบาหวาน) ชั้น 2 อาคารอนุสรณ์ 20 ปี - กิจกรรม : วันเบาหวานโลก ประจำปี 2562 วันที่ 14 พ.ย. 2562 โดยมีการสาธิตการออกกำลังกาย “ลดเบาหวาน ป้องกันหัวใจ” ชมคลิป VDO “ศูนย์เบาหวาน รพจ.” และความรู้เรื่องโรคเบาหวาน พร้อมกิจกรรมต่างๆ มากมาย ดังเอกสารแนบท้าย - จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการดูแลตามเกณฑ์ จำนวน 5,445 ราย - จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการทั้งหมด จำนวน 6,597 ราย คิดเป็นร้อยละของความสำเร็จ เท่ากับร้อยละ 82.54 4.โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ - เปิดบริการ ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 08.00 – 12.00 น. ณ คลินิกเบาหวาน - กิจกรรม : จัดกิจกรรมรณรงค์วันเบาหวานโลก วันที่ 11 – 15 พ.ย. 2562 มีกิจกรรมคัดกรองผู้ป่วยเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ โดยมีกิจกรรมให้ความรู้และการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน - จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการดูแลตามเกณฑ์ จำนวน 643 ราย - จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการทั้งหมด จำนวน 730 ราย คิดเป็นร้อยละของความสำเร็จ เท่ากับร้อยละ 88.08 5.โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ - เปิดบริการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. ณ ชั้น 1 ตึก OPD - กิจกรรม : จัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติ เป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม - จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการดูแลตามเกณฑ์ จำนวน 4,454 ราย - จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการทั้งหมด จำนวน 5,355 ราย คิดเป็นร้อยละของความสำเร็จ เท่ากับร้อยละ 83.17 6.โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร - เปิดบริการ ทุกวันพุธและวันศุกร์ เวลา 07.00 – 12.00 น. ณ คลินิกเบาหวาน - กิจกรรม : 1) การปรับเปลี่ยนระบบในคลินิกเบาหวานเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยมากขึ้น โดยจัดให้มีการเว้นระยะห่างเพื่อป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 และปรับจุดบริการให้ผู้ป่วยสามารถซักประวัติเจาะเลือดได้สะดวกรวดเร็วกว่าเดิม 2) การให้ความรู้เรื่อง COVID-19 การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำปี การควบคุมระดับน้ำตาล ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน - จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการดูแลตามเกณฑ์ จำนวน 1,701 ราย - จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการทั้งหมด จำนวน 1,982 ราย คิดเป็นร้อยละของความสำเร็จ เท่ากับร้อยละ 85.82 7.โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ - เปิดบริการ จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. ณ บริเวณจุดคัดกรองชั้น 1 อาคารเฉลิม พระเกียรติ - กิจกรรม : 1) พัฒนาระบบการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานประจำปีให้ครอบคลุม ทั้งการตรวจเท้า การตรวจจอประสาทตา การคัดกรองวัณโรค การตรวจเลือดประเมินรับน้ำตาลสะสม การตรวจโปรตีนในปัสสาวะ 2) จัดทำเอกสารให้ความรู้ แผ่นพับ โปสเตอร์ เรื่องโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน เพื่อให้ผู้ป่วยตระหนักเห็นความสำคัญของการตรวจ คัดกรองภาวะแทรกซ้อน - จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการดูแลตามเกณฑ์ จำนวน 14,397 ราย - จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการทั้งหมด จำนวน 16,632 ราย คิดเป็นร้อยละของความสำเร็จ เท่ากับร้อยละ 86.56 8.โรงพยาบาลสิรินธร - เปิดบริการ จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. ณ ห้องตรวจอายุรกรรม - กิจกรรม : วันเบาหวานโลก วันที่ 14 พ.ย. 2562 ภายใต้หัวข้อครอบครัวห่วงใย ใส่ใจเบาหวาน โดยมีผลการดำเนินงานดังเอกสารแนบท้าย - จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการดูแลตามเกณฑ์ จำนวน 8,151 ราย - จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการทั้งหมด จำนวน 9,975 ราย คิดเป็นร้อยละของความสำเร็จ เท่ากับร้อยละ 81.71 สรุปในภาพรวม จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการดูแลตามเกณฑ์ จำนวน 39,683 ราย และจำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการทั้งหมด จำนวน 46,861 ราย คิดเป็นร้อยละของความสำเร็จ เท่ากับ ร้อยละ 84.68

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

ผู้ป่วยเบาหวาน หมายถึง ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคเบาหวานและเข้าสู่บริการของคลินิกเบาหวานหรือคลินิกอายุรกรรม (กรณีไม่มีคลินิกโรคเบาหวาน) การดูแลตามเกณฑ์ หมายถึง ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการดูแลตามเกณฑ์ดังนี้ 1. ผู้ป่วย DM ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ. 2 ส. 2. ตรวจ HbA1C ปีละ 1 ครั้ง 3. ตรวจ Lipid ปีละ 1 ครั้ง 4. ตรวจ UMA อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ที่ได้รับวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคเบาหวานได้รับการดูแลตามเกณฑ์ หารด้วย จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ทั้งหมด คูณด้วย 100

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

-

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย
:๑.๖.๑ คนกรุงเทพฯ มีสุขภาวะทางกายและจิต มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ไม่มีภาวะเจ็บป่วยจาก โร%
:๑.๖.๑.๑ คัดกรองและลดปัจจัยเสี่ยงเชิงพฤติกรรมที่มีผลกระทบต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง