รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

อัตราการตายของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน Ischemic Heart , CKD , Stroke : 0700-0782

ค่าเป้าหมาย น้อยกว้าร้อยละ : 1

ผลงานที่ทำได้ น้อยกว้าร้อยละ : 0.012

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 0

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(น้อยกว้าร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.01
100
100 / 100
2
0.01
100
100 / 100
3
0.01
0
0 / 0
4
0.01
0
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ทุกแห่ง ได้มีการตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน (ผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน Ischemic Heart, CKD, Stroke) ที่เข้ามารับการรักษาทั้งหมดอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ รพก. ผู้ป่วย 9,186 ราย เสียชีวิต 0 ราย ร้อยละ 0.00 รพต. ผู้ป่วย 21,099 ราย เสียชีวิต 1 ราย ร้อยละ 0.005 รพจ. ผู้ป่วย14,403 ราย เสียชีวิต 0 ราย ร้อยละ 0.000 รพท. ผู้ป่วย 3,361 ราย เสียชีวิต 0 ราย ร้อยละ 0.00 รพว. ผู้ป่วย 4,327 ราย เสียชีวิต 0 ราย ร้อยละ 0.000 รพล. ผู้ป่วย 2,342 ราย เสียชีวิต 0 ราย ร้อยละ 0.000 รพร. ผู้ป่วย 5,076 ราย เสียชีวิต 3 ราย ร้อยละ 0.059 รพส. ผู้ป่วย 7,300 ราย เสียชีวิต 0 ราย ร้อยละ 0.000 รพข. ผู้ป่วย 933 ราย เสียชีวิต 0 ราย ร้อยละ 0.00 รพค. ผู้ป่วย 157 ราย เสียชีวิต 0 ราย ร้อยละ 0.00 รพบ.ผู้ป่วย 57 ราย เสียชีวิต 0 ราย ร้อยละ 0.00 รวมผู้ป่วยทั้งสิ้น จำนวน 68,241 ราย เสียชีวิต จำนวน 4 รายคิดเป็นร้อยละ 0.006

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

-สำนักการแพทย์ได้เพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาระบบบริการประชาชนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานที่เข้ามารับบริการในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ ทั้ง 10 แห่ง เช่น 1.จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพระบบบริการประชาชนที่เป็นโรคเบาหวาน เพื่อให้ความรู้และคำปรึกษา เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถจัดการตนเองได้ 2.จัดกิจกรรมเบาหวานโลกโรงพยาบาลแต่ละแห่งได้มีการจัดกิจกรรมและให้ความรู้แก่ประชาชนที่เป็นโรคเบาหวาน เช่น การบรรยาย เรื่อง เบาหวาน กับภาวะแทรกซ้อนทางตา การจัดนิทรรศการอาหารเบาหวาน เป็นต้น ซึ่งโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ทุกแห่งได้มีการตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน (ผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน Ischemic Heart, CKD, Stroke) ที่เข้ามารับการรักษาทั้งหมดอย่างต่อเนื่อง ผลการดำเนินงาน ดังนี้ รวมผู้ป่วยทั้งสิ้น จำนวน 42,414 ราย เสียชีวิต จำนวน 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.01

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

-1.จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพระบบบริการประชาชนที่เป็นโรคเบาหวาน เพื่อให้ความรู้และคำปรึกษา เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถจัดการตนเองได้ 2.จัดกิจกรรมเบาหวานโลกโรงพยาบาลแต่ละแห่งได้มีการจัดกิจกรรมและให้ความรู้แก่ประชาชนที่เป็นโรคเบาหวาน เช่น การบรรยาย เรื่อง เบาหวาน กับภาวะแทรกซ้อนทางตา การจัดนิทรรศการอาหารเบาหวาน เป็นต้น ซึ่งโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ทุกแห่งได้มีการตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน (ผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน Ischemic Heart, CKD, Stroke) ที่เข้ามารับการรักษาทั้งหมดอย่างต่อเนื่อง ผลการดำเนินงาน ดังนี้ รวมผู้ป่วยทั้งสิ้น จำนวน 152,214 ราย เสียชีวิต จำนวน 18 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.012

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

-สำนักการแพทย์ได้เพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาระบบบริการประชาชนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานที่เข้ามารับบริการในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ ทั้ง 10 แห่ง ดังนี้ 1.จัดตั้งคลินิกโรคเบาหวาน และให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวาน เช่น การใช้ยา การดูแลตนเอง การควบคุมอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวาน และให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวานแก่ประชาชนผู้มารับบริการ 2.จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานและดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับโรงพยาบาลในสังกัด 3. จัดประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพ เพื่อกำหนดแนวทางในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานตามแนวทางเวชปฏิบัติ 4. จัดประชุมกลุ่ม เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน เช่น โรคแทรกซ้อน/การดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน โภชนบำบัด ความรู้เกี่ยวกับยา การออกกำลังกาย ให้แก่ผู้ป่วยเบาหวานและญาติ 5.จัดกิจกรรมเกี่ยวกับโรคเบาหวาน เช่น กิจกรรมวันเบาหวานโลก กิจกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติ กิจกรรมให้ความรู้และคำปรึกษาโดยสหวิชาชีพ 6. จัดทำเอกสารให้ความรู้ แผ่นพับ โปสเตอร์ เรื่องโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน จัดทำสื่อการสอนเรื่องโรคเบาหวาน เป็นต้น 7.จัดตั้งชุมชนนักปฏิบัติโรคเบาหวานร่วมกับโรงพยาบาลในสังกัด 8. มีการพัฒนาในด้านต่างๆ เพื่อเสริมสร้างการดำเนินงานให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตน เช่น พัฒนาสื่อการสอน และช่องทางการสื่อสารกับผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยเฉพาะผู้ป่วยที่ใช้ยาฉีดอนิซูลินทางระบบ LINE พัฒนาระบบการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานประจำปีให้ครอบคลุม ทั้งการตรวจเท้า การตรวจจอประสาทตา การคัดกรองวัณโรค การตรวจเลือดประเมินระดับน้ำตาลสะสม การตรวจโปรตีนในปัสสาวะ พัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน Update สร้างนวตกรรม Guideline ต่างๆ เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย เป็นต้น ซึ่งโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ทุกแห่งได้มีการตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน (ผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน Ischemic Heart, CKD, Stroke) ที่เข้ามารับการรักษาทั้งหมดอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 - 31 สิงหาคม 2563 ดังนี้ รพก. ผู้ป่วย 24,318 ราย เสียชีวิต 0 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.00 รพต. ผู้ป่วย 25,706 ราย เสียชีวิต 0 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.00 รพจ. ผู้ป่วย 36,681 ราย เสียชีวิต 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.003 รพท. ผู้ป่วย 8,501 ราย เสียชีวิต 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.012 รพว. ผู้ป่วย 5,119 ราย เสียชีวิต 7 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.137 รพล. ผู้ป่วย 8,867 ราย เสียชีวิต 0 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.00 รพร. ผู้ป่วย 15,817 ราย เสียชีวิต 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.013 รพส. ผู้ป่วย 17,687 ราย เสียชีวิต 6 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.034 รพข. ผู้ป่วย 2,393 ราย เสียชีวิต 0 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.00 รพค. ผู้ป่วย 329 ราย เสียชีวิต 0 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.00 รวมผู้ป่วยทั้งสิ้น จำนวน 145,418 ราย เสียชีวิต จำนวน 17 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.012

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หมายถึง ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์และได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน และเสียชีวิตโดยไม่มีภาวะ Ischemic heart , Chronic kidney disease , Stroke ร่วมด้วย

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

จำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยโรคเบาหวานที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนของ Ischemic heart , Chronic kidney disease , Stroke ร่วมด้วย หารด้วย จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการรักษาในปีงบประมาณเดียวกัน คูณ 100

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

-

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย
:๑.๖.๑ คนกรุงเทพฯ มีสุขภาวะทางกายและจิต มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ไม่มีภาวะเจ็บป่วยจาก โร%
:๑.๖.๑.๑ คัดกรองและลดปัจจัยเสี่ยงเชิงพฤติกรรมที่มีผลกระทบต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง