รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่สามารถควบคุมได้ : 0700-0795

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 35

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 51.06

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 0

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00
100
100 / 100
2
39.17
100
100 / 100
3
48.65
0
0 / 0
4
51.06
0
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

อยู่ระหว่างเก็บข้อมูลจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ที่มารับบริการในสำนักการแพทย์

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

-โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ทั้ง 8 แห่ง ดำเนินการคัดกรองผู้ป่วยเบาหวานโดยมีผู้รับบริการดังนี้ - จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ในปีงบประมาณ จำนวน 6,886 ราย - จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมดในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ 8 แห่ง จำนวน 17,582 ราย - คิดเป็นร้อยละ 39.17

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

--โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ ทั้ง 8 แห่ง ได้ดำเนินการตรวจคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ และได้รับการดูแลตามเกณฑ์ดังนี้ 1. ผู้ป่วย DM ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ. 2 ส. 2. ตรวจ HbA1C ปีละ 1 ครั้ง 3. ตรวจ Lipid ปีละ 1 ครั้ง 4. ตรวจ UMA อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ผลการดำเนินงาน มีดังนี้ - จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ที่ได้รับวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคเบาหวานได้รับการดูแลตามเกณฑ์ จำนวน 20,491 ราย - จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในคลินิกเบาหวานหรือคลินิกอายุรกรรม (กรณีไม่มีคลินิกโรคเบาหวาน) ในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ทั้งหมด จำนวน 42,119 ราย คิดเป็นร้อยละ 48.65

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

- โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ทั้ง 8 แห่ง ได้ดำเนินกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ทั้งในสถานะผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ที่ได้รับการวินิจฉัยโรคเบาหวาน และเป็นผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนรับการรักษากับโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ทั้ง 8 แห่ง ได้รับการติดตาม ให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ตามเกณฑ์ ดังนี้ (1) ค่าระดับ HbA1c ค่าระดับครั้งสุดท้าย น้อยกว่าร้อยละ 7 หรือ (2) ค่าระดับ Fasting Plasma Glucose (FPG) 2 ครั้งสุดท้ายติดต่อกันอยู่ในระดับ 70 -130 มก./ดล. ซึ่งเป็น ค่าระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับการตรวจติดตาม ในคลินิกเบาหวานตามนัด โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้ 1. โรงพยาบาลกลาง ดำเนินการจัดโครงการ “ผู้สูงอายุปลอดภัย ครอบครัวใส่ใจเบาหวาน”ครั้งที่ 2 ได้มีการบรรยายเรื่อง “ใครไม่เบา เบาหวาน” และจัดบรรยายให้ความรู้สู่ผู้รับบริการ เรื่องอาหารเบาหวาน โดยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมดจำนวน 1,155 ราย และมีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลได้ดีตามเกณฑ์จำนวน 517 ราย คิดเป็นร้อยละ 44.76 2. โรงพยาบาลตากสิน ดำเนินการคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยกลุ่มงานเวชศาสตร์ชุมชน และศูนย์เบาหวาน อาคารธนบุรีศรีมหาสมุทร ชั้น 6 เปิดให้บริการวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. โดยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมดจำนวน 13,289 ราย และมีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลได้ดีตามเกณฑ์จำนวน 7,912 ราย คิดเป็นร้อยละ 59.54 3. โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ดำเนินการให้บริการผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียน และมารับบริการ ณ ห้องตรวจอายุรกรรม (90001) และคลินิกเบาหวาน ความดัน (200010) ชั้น 2 อาคารอนุสรณ์ 20 ปี ในวันราชการวันจันทร์ - วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00 – 11.00 น. โดยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมดจำนวน 13,004 ราย และมีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลได้ดีตามเกณฑ์จำนวน 5,825 ราย คิดเป็นร้อยละ 44.79 4. โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ ดำเนินการจัดกิจกรรมรณรงค์วันเบาหวานโลก ระหว่างวันที่ 11 - 15 พฤศจิกายน 2562 มีกิจกรรมตรวจคัดกรองหาผู้ป่วยเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ กิจกรรมให้ความรู้และการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน โดยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมดจำนวน 8,501 ราย และมีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลได้ดีตามเกณฑ์จำนวน 4,655 ราย คิดเป็นร้อยละ 54.76 5.โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ ดำเนินการให้บริการที่ ตึก OPD ชั้น 1 ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.00 - 16.00 น และจัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม โดยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมดจำนวน 5,355 ราย และมีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลได้ดีตามเกณฑ์จำนวน 4,066 ราย คิดเป็นร้อยละ 75.93 6.โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานครดำเนินการโครงการให้ความรู้ในแต่ละทีมสหสาขาวิชาชีพ วางแผนทำเอกสารให้ความรู้ในการควบคุมอาหาร การออกกกำลังกาย การรับประทานยาให้ทันสมัยและครอบคลุมมากขึ้น โดยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมดจำนวน 3,022 ราย และมีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลได้ดีตามเกณฑ์จำนวน 1,562 ราย คิดเป็นร้อยละ 51.69 7.โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ดำเนินการให้บริการคลินิกเบาหวานทุกวันพฤหัสบดีและคลินิกตรวจเท้าเบาหวานให้บริการ เวลา 8.00 – 12.00 น. ณ ห้องตรวจผู้ป่วยนอก ให้ความรู้ แผ่นพับ โปสเตอร์ สื่อการสอน เรื่องโรคเบาหวาน และจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยตามหลัก 3 อ. 2 ส. โดยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมดจำนวน 14,829 ราย ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลได้ดีตามเกณฑ์จำนวน 5,860 ราย คิดเป็นร้อยละ 39.52 8. โรงพยาบาลสิรินธร ดำเนินการดูแลผู้ป่วยเบาหวานโดยประยุกต์ใช้แนวคิดรูปแบบการบริหารโรคเรื้อรัง (chronic care model : CCM) โดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบด้วยกระบวนการดูแลและการประชุม เพื่อจัดทำคู่มือการดูแลตนเอง กำหนดรูปแบบการให้สุขศึกษา โดยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมดจำนวน 13,223 ราย และมีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลได้ดีตามเกณฑ์จำนวน 6,561 ราย คิดเป็นร้อยละ 49.62 โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ มีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมด จำนวน 72,378 ราย และผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 36,958 ราย คิดเป็นร้อยละ 51.06

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

ผู้ป่วยเบาหวาน หมายถึง ผู้ป่วยทั้งในสถานะผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ที่ได้รับการวินิจฉัยโรคเบาหวาน และเป็นผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนรับการรักษากับโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ 8 แห่ง ซึ่งมารับการตรวจติดตามในคลินิก ≥ 2 ครั้งใน 6 เดือน หรือ ≥ 3 ครั้งใน 1 ปี โดยเป็นโรคที่มีรหัสโรคตาม ICD - 10 TM,ICD-10,ICD - 9 ดังที่ระบุไว้นี้ (E10, E11, E12, E13, E14) 2.เบาหวานที่สามารถควบคุมได้ หมายถึง ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ ดังนี้ (1) ค่าระดับ HbA1c ค่าระดับครั้งสุดท้าย น้อยกว่าร้อยละ 7 หรือ (2) ค่าระดับ Fasting Plasma Glucose (FPG) 2 ครั้งสุดท้ายติดต่อกัน 70-130 มก./ดล. โดยเป็นค่าระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับการตรวจติดตามในคลินิกเบาหวานตามนัด หมายเหตุ ในการตรวจติดตาม อาจใช้ Fasting Capillary Glucose แทน FPG ได้

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ในปีงบประมาณ หารด้วยจำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมดในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ 8 แห่ง ในปีงบประมาณเดียวกัน คูณด้วย 100

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

-

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย
:๑.๖.๑ คนกรุงเทพฯ มีสุขภาวะทางกายและจิต มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ไม่มีภาวะเจ็บป่วยจาก โร%
:๑.๖.๑.๘ ส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง