รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

อัตราความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ : 0700-0797

ค่าเป้าหมาย มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ : 85

ผลงานที่ทำได้ มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ : 87.92

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 0

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
10.00
100
100 / 100
2
88.51
100
100 / 100
3
90.47
0
0 / 0
4
87.92
0
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

ประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาวัณโรคของโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ ทุก ๆ 3 เดือน

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ทุกแห่งได้มีการดำเนินการพัฒนาระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาวัณโรค สรุปอัตราผลสำเร็จในการรักษา (Success Rate) ของโรงพยาบาลในสังกัด ทั้ง 8 แห่ง รักษาหายและรักษาครบ(Cure+Complete) ผู้ป่วยที่นำมาประเมิน ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 235 ราย ผลการรักษา รักษาหายและครบ (Cure+Complete) จำนวน 208 ราย คิดเป็นร้อยละ 88.51

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

-โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ทุกแห่งได้มีการดำเนินการพัฒนาระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาวัณโรค สรุปอัตราผลสำเร็จในการรักษา (Success Rate) ของโรงพยาบาลในสังกัด ทั้ง 8 แห่ง รักษาหายและรักษาครบ(Cure+Complete) ผู้ป่วยที่นำมาประเมิน ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 430 ราย ผลการรักษา รักษาหายและครบ (Cure+Complete) จำนวน 389 ราย คิดเป็นร้อยละ 90.47

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

-โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ทุกแห่งได้มีการดำเนินการพัฒนาระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาวัณโรค โดยมีการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาวัณโรคของโรงพยาบาลในสังกัด สำนักการแพทย์ร่วมกับสำนักอนามัย จำนวน 2 ครั้ง - ครั้งที่ 1 วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน 2562เวลา 13.30 - 16.00 น. ณ ห้องประชุมแพทยพัฒน์ ชั้น 5 สำนักการแพทย์ - ครั้งที่ 2 วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน 2563 เวลา 13.30 - 16.00 น. ณ ห้องประชุมแพทยพัฒน์ ชั้น 5 สำนักการแพทย์ และได้กำหนดแผนการตรวจประเมินคลินิกวัณโรคคุณภาพในโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ 8 แห่ง ดังนี้ โรงพยาบาลกลาง วันพุธที่ 5 สิงหาคม 2563 เวลา 09.30 – 13.00 น. โรงพยาบาลสิรินธร วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม 2563 เวลา 09.30 – 13.00 น. โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม 2563 เวลา 09.30 – 13.00 น. โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม 2563 เวลา 13.00 – 16.00 น. โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ วันพุธที่ 9 กันยายน 2563 เวลา 09.30 – 13.00 น. โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ วันพุธที่ 16 กันยายน 2563 เวลา 09.30 – 13.00 น. โรงพยาบาลตากสิน วันพุธที่ 23 กันยายน 2563 เวลา 09.30 – 13.00 น. โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ วันศุกร์ที่ 25 กันยายน 2563 เวลา 09.30 – 13.00 น. คลินิกวัณโรคโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ 8 แห่ง ผ่านการประเมินตัวชี้วัด 11 ด้าน โดยเกณฑ์ตัวชี้วัดที่ใช้ในการประเมินได้มาจากแนวทางของ International Standards of TB care (ISTC) รวมทั้งข้อเสนอแนะขององค์การอนามัยโลก สรุปผลการดำเนินงานการพัฒนาระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาวัณโรคของโรงพยาบาลในสังกัด สำนักการแพทย์ ทั้ง 8 แห่ง รายละเอียด ดังนี้ 1. โรงพยาบาลกลาง ดำเนินการเปิดให้บริการคลินิกวัณโรค สัปดาห์ละ 2 วัน (วันอังคารและวันศุกร์) บริการให้คำปรึกษาและคำแนะนำแก่ผู้ป่วยและผู้ดูแลทุกราย จัดห้องตรวจแยกจากผู้ป่วยทั่วไป ลดขั้นตอนการติดต่อของผู้ป่วย มีระบบการส่งตรวจเสมหะ และการค้นหาผู้ป่วยที่มีเชื้อดื้อยา มีระบบการตรวจคัดกรองค้นหาผู้ป่วยสงสัยวัณโรค (Fast track screening) มีการติดตามผู้ป่วยให้รับการรักษาเร็วขึ้น มีระบบนัด ระบบการแจ้งเตือนวันนัด และพัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อไปรับยาต่อเนื่อง โดยประสาน Referral Center for TB ของ สนอ. อัตราความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ร้อยละ 86.77 ผู้ป่วยที่นำมาประเมิน ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 189 ราย ผลการรักษา รักษาหายและครบ (Cure+Complete) จำนวน 164 ราย คิดเป็นร้อยละ 86.77 2.โรงพยาบาลตากสิน ดำเนินการเปิดให้บริการคลินิกวัณโรค ให้บริการในวันและเวลาราชการ จัดบริการให้คำปรึกษาและคำแนะนำแก่ผู้ป่วยและผู้ดูแล ให้การรักษาตามแนวทางการรักษาวัณโรค ขึ้นทะเบียนผู้ป่วยวัณโรค และติดตามประเมินผลการรักษาในผู้ป่วยทุกราย อัตราความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ร้อยละ 84.51 ผู้ป่วยที่นำมาประเมิน ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 142 ราย ผลการรักษา รักษาหายและครบ (Cure+Complete) จำนวน 120 ราย คิดเป็นร้อยละ 84.51 3. โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ดำเนินการเปิดให้บริการคลินิกวัณโรค จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับวัณโรคในผู้ป่วยทุกราย จัดทำ Dot. Conner สัปดาห์ละ 1 ครั้ง จัดให้มีระบบ Counselling TB ในผู้ป่วยทุกราย จัดทำระบบ การกินยาแบบ DOT ในผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะบวก ติดตามผู้ป่วยให้รับประทานยาครบถ้วน ถูกต้อง และจัดระบบบริการแบบ One stop service (บริการตาม LAB และรับยาให้ผู้ป่วย) รวมถึงประสานงานระบบส่งต่อผู้ป่วยกับหน่วยงานภายนอก อัตราความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ร้อยละ 87.50 ผู้ป่วยที่นำมาประเมิน ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 128 ราย ผลการรักษา รักษาหายและครบ (Cure+Complete) จำนวน 112 ราย คิดเป็นร้อยละ 87.50 4. โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ ดำเนินการเปิดให้บริการคลินิกวัณโรค ทุกวันพุธ จัดให้ความรู้ในการปฏิบัติตัวและการดูแลตนเองแก่ผู้ป่วยวัณโรคและญาติของผู้ป่วย และมีการประเมินความรู้ในการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย รวมถึง มีการค้นหาผู้สัมผัสร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรคให้ได้รับการตรวจรักษา อัตราความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ร้อยละ 87.50 ผู้ป่วยที่นำมาประเมิน ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 48 ราย ผลการรักษา รักษาหายและครบ (Cure+Complete) จำนวน 42 ราย คิดเป็นร้อยละ 87.50 5. โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ ดำเนินการเปิดให้บริการคลินิกวัณโรค จัดระบบ Fast track ในผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ มีการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติ และมีการประเมินก่อนและหลังให้ความรู้ มีการติดตามผู้ป่วยให้มารักษาตามนัด ระบบให้ยาแบบ Daily package เพื่อความสะดวกในการรับประทานยาของผู้ป่วย มีการติดตามเยี่ยมหลังการรักษา และติดตามเยี่ยมผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรค รวมถึงมีการประสานงานการทำงานระหว่างหน่วยงานในโรงพยาบาลและหน่วยงานภายนอก อัตราความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ร้อยละ 90.91 ผู้ป่วยที่นำมาประเมิน ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 44 ราย ผลการรักษา รักษาหายและครบ (Cure+Complete) จำนวน 40 ราย คิดเป็นร้อยละ 90.91 7. โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร ดำเนินการเปิดให้บริการคลินิกวัณโรคทุกวันศุกร์ เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ คลินิกพิเศษ งานผู้ป่วยนอก ตึกทันตกรรม ชั้น 1 จัดให้บริการแบบ One stop service จุดเดียวเบ็ดเสร็จให้ความรู้ในการปฏิบัติตัวและการดูแลตนเองแก่ผู้ป่วยวัณโรคและญาติของผู้ป่วย รวมถึงการติดตามการรับประทานยา และค้นหาผู้สัมผัสร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรคให้ได้รับการตรวจรักษา อัตราความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยวัณโรค รายใหม่ ร้อยละ 95.12 ผู้ป่วยที่นำมาประเมิน ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 41 ราย ผลการรักษา รักษาหายและครบ(Cure+Complete) จำนวน 39 ราย คิดเป็นร้อยละ 95.12 8. โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ดำเนินการเปิดให้บริการคลินิกวัณโรค จัดให้ความรู้ในการปฏิบัติตัวและการดูแลตนเองแก่ผู้ป่วยวัณโรคและญาติของผู้ป่วย รวมถึงการติดตามการรับประทานยาของผู้ป่วย อัตราความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยวัณโรค รายใหม่ ร้อยละ 89.47 ผู้ป่วยที่นำมาประเมิน ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 114 ราย ผลการรักษา รักษาหายและครบ (Cure+Complete) จำนวน 102 ราย คิดเป็นร้อยละ 89.47 9. โรงพยาบาลสิรินธร ดำเนินการเปิดให้บริการคลินิกวัณโรค ให้บริการแบบ One stop service จุดเดียวเบ็ดเสร็จ จัดให้ความรู้ในการปฏิบัติตัวและการดูแลตนเองแก่ผู้ป่วยวัณโรคและญาติของผู้ป่วย รวมถึงการติดตามการรับประทานยา และค้นหาผู้สัมผัสร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรคให้ได้รับการตรวจรักษา รวมถึงมีการพัฒนาระบบการติดต่อผ่านระบบไลน์ ทาง Smart phone เพื่อให้คำแนะนำปรึกษาหากผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยมีปัญหาในการรับประทานยาหรือผลข้างเคียงจากยาใช้ในการติดตามผู้ป่วย แจ้งวันนัดล่วงหน้า เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยลืมนัดหมายการตรวจ ให้ความรู้เกี่ยวกับวัณโรคและการดูแล ที่ถูกต้องให้กับผู้ป่วย และผู้ป่วยสามารถแจ้งการรับประทานยาให้เจ้าหน้าที่ที่คลินิกได้รับทราบ อัตราความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ร้อยละ 89.23 ผู้ป่วยที่นำมาประเมิน ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 130 ราย ผลการรักษา รักษาหายและครบ (Cure+Complete) จำนวน 116 ราย คิดเป็นร้อยละ 89.23 สรุปอัตราผลสำเร็จในการรักษา (Success Rate) ของโรงพยาบาลในสังกัด ทั้ง 8 แห่งในภาพรวมเท่ากับร้อยละ 87.92 ดังนี้ ผู้ป่วยที่นำมาประเมิน ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 836 ราย ผลการรักษา รักษาหายและครบ (Cure+Complete) จำนวน 735 ราย คิดเป็นร้อยละ 87.92

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

1. ความสำเร็จการรักษา หมายถึง ผู้ป่วย วัณโรคที่มีผลการรักษาหายรวมกับรักษาครบ 1.1 รักษาหาย (Cured) หมายถึง ผู้ป่วย วัณโรคปอดที่มีผลตรวจพบเชื้อวัณโรคทางห้องปฏิบัติการยืนยันเมื่อเริ่มการรักษาและต่อมาตรวจไม่พบเชื้อวัณโรคทางห้องปฏิบัติการ อย่างน้อยหนึ่งครั้งก่อนสิ้นสุดการรักษาและในเดือนสุดท้ายของ การรักษา 1.2 รักษาครบ (Treatment Completed) หมายถึง ผู้ป่วยวัณโรคที่รักษาครบกำหนดโดยไม่มีหลักฐานที่แสดงว่าการรักษาล้มเหลว ซึ่งผู้ป่วยดังกล่าวไม่มีเอกสารที่แสดงผล การตรวจเสมหะในเดือนสุดท้ายของการรักษา ทั้งนี้มีผลตรวจเสมหะอย่างน้อยหนึ่งครั้งก่อน สิ้นสุดการรักษา เป็นลบรวมทั้งผู้ป่วยที่ไม่ได้ตรวจหรือไม่มีผลตรวจ 2. ผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ หมายถึง ผู้ป่วยที่ไม่เคยรักษาวัณโรคมาก่อนและผู้ป่วยที่รักษา วัณโรคน้อยกว่า 1 เดือน และไม่เคยขึ้นทะเบียนในแผนงานวัณโรคแห่งชาติแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 2.1 ผู้ป่วยที่มีผลตรวจยืนยันพบเชื้อ (Bacteriologically confirmed: B+) หมายถึง ผู้ป่วยที่มีผลตรวจเสมหะเป็นบวก อาจจะเป็นการตรวจด้วยวิธี Smear microscopy หรือ culture หรือวิธี Molecular หรือ วิธีการอื่นๆที่องค์การอนามัยโลกรับรอง 2.2 ผู้ป่วยที่วินิจฉัยด้วยลักษณะทางคลินิก (Clinically diagnosed: B - ) หมายถึง ผู้ป่วยที่มีผลตรวจเสมหะเป็นลบ แต่ทำการวินิจฉัยด้วยวิธีการตรวจเอ็กซเรย์รังสีทรวงอก หรือมีลักษณะทางคลินิกเข้าได้กับวัณโรค

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

อัตราผลสำเร็จในการรักษา เท่ากับจำนวนผู้ป่วยที่รักษาหาย (ผู้ป่วยใหม่เสมหะบวก) รวมกับจำนวนผู้ป่วยที่รักษาครบ (ผู้ป่วยใหม่เสมหะบวก) ที่ขึ้นทะเบียนรักษาตั้งแต่รอบที่ 1-4 /2562 ในโรงพยาบาล 8 แห่ง หารด้วย จำนวนผู้ป่วยใหม่เสมหะบวกที่ขึ้นทะเบียนทั้งหมดในโรงพยาบาล 8 แห่ง ในรอบดังกล่าว คูณ 100

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

-

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย
:๑.๖.๒ โรคติดต่อที่สำคัญในเมืองได้รับการเฝ้าระวังและควบคุมไม่ให้ระบาดไปในวงกว้าง%
:๑.๖.๒.๒ ค้นหาและรักษาผู้ป่วยวัณโรคให้หายขาด

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง