รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการให้บริการ ที่ดีที่สุด (Best Service) : 0700-0807

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 0

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00
100
100 / 100
2
0.00
100
100 / 100
3
100.00
0
0 / 0
4
100.00
0
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

ดำเนินงานโครงการ โดยศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด ชั้น 7 อาคาร 72 พรรษา มหาราชินี โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

-. โครงการหัวใจคุณให้เราดูแล วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคหัวใจที่มารับบริการที่โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ได้รับการบริการที่มีคุณภาพและต่อเนื่อง ครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม 2. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคหัวใจที่มารับบริการที่โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ เกิดความประทับใจ และเกิดความพึงพอใจ 3. สามารถให้การรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีความซับซ้อนได้มากขึ้น 4. ลดการส่งต่อผู้ป่วยโรคหัวใจไปรักษาที่โรงพยาบาลอื่น 5. สามารถรับ-ส่งต่อผู้ป่วยโรคหัวใจ จากโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ได้เพิ่มขึ้น 6. สามารถให้การดูแลบุคลากรในสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่มีปัญหาโรคหัวใจได้เพิ่มมากขึ้น เป้าหมาย การพัฒนาระบบการให้บริการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ ที่มารับบริการในโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ได้ครอบคลุมมากขึ้น สามารถให้การรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีความซับซ้อนได้ โดยมีแพทย์เฉพาะทาง ส่งมากับทีมสหสาขาวิชาชีพ นอกจากนี้ยังสามารถรับ-ส่งต่อการรักษาโรคหัวใจจากโรงพยาบาลในสังกัด สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และโรงพยาบาลใกล้เคียง รวมไปถึงบุคลากรในสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อให้เข้าถึงบริการการรักษาโรคหัวใจได้อย่างรวดเร็ว ผลการดำเนินโครงการ 1. อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจ คิดเป็นร้อยละ 5.51 ( ผู้ป่วยโรคหัวใจทั้งสิ้น เท่ากับ 4,153 ราย ผู้ป่วยโรคหัวใจที่เสียชีวิต เท่ากับ 229 ราย (เป้าหมาย น้อยกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 15) 2. จำนวนผุ้ป่วยโรคหัวใจที่ได้รับการรักษา โดยการทำหัตถาการมีระยะเวลารอคอยไม่เกิน 2 เดือน คิดเป้นร้อยละ 78.88 (จำนวนผู้ป่วยโรคหัวใจที่ได้รับการรักษาโดยการทำหัตถการทั้งสิ้น จำนวน 251 ราย รอคอยไม่เกิน 2 เดือน จำนวน 198 ราย (เป้าหมายมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 90) หมายเหตุ แยกรายหัตถาการ ดังนี้ 1. การตรวจสิเคราะห์ระบบไฟฟ้าหัวใจ เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวร เครื่องกระตุกหัวใจ ฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ ขยายหลอดเลือดบอลลูนและขดลวด มีจำนวนทั้งสิ้น 200 ราย ได้รับการทำหัตถการไม่เกิน 2 เดือน จำนวน 191 ราย คิดเป็นร้อยละ 95.59 2. การผ่าตัดหัวใจจำนวน 51 ราย ได้รับการผ่าตัดไม่เกิน 2 เดือน จำนวน 7 ราย (เนื่องจากมีการจำกัดจำนวนในการผ่าตัด คิดเป็นร้อยละ 13.72 3. ผู้ป่วยโรคหัวใจที่มารับบริการในโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ มีความพึงพอใจต่อการรักษาของห้องปฏิบัติการโรคหัวใจและหลอดเลือด คิดเป็นร้อยละ 100 จำนวนผู้รับบริการที่ทำแบบสอบถามทั้งสิ้น จำนวน 17 ราย จำนวนผู้รับบริการที่มีความพอใจระดับมาก เท่ากับ 17 ราย (เป้าหมาย มากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 90)

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

-โครงการให้บริการที่ดีที่สุดประจำปีงบประมาณ 2563 “โครงการหัวใจคุณ ให้เราดูแล” ประกอบด้วยตัวชี้วัด ดังนี้ 1. อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจ น้อยกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 15 ผลการดำเนินงานผู้ป่วยโรคหัวใจทั้งสิ้น 9,068 ราย ผู้ป่วยโรคหัวใจที่เสียชีวิต 242 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.668 2. จำนวนผู้ป่วยโรคหัวใจที่ได้รับการรักษา โดยการทำหัตถการมีระยะเวลารอคอยไม่เกิน 2 เดือน มากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 90 ผลการดำเนินงานจำนวนผู้ป่วยโรคหัวใจที่ได้รับการรักษาโดยการทำหัตถการทั้งสิ้น 489 รายรอคอยไม่เกิน 2 เดือน 469 ราย คิดเป็นร้อยละ 95.91 3. ผู้ป่วยโรคหัวใจที่มารับการบริการในโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ มีความพึงพอใจต่อการรักษาของห้องปฏิบัติการโรคหัวใจและหลอดเลือด มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 90 ผลการดำเนินงานจำนวนผู้รับบริการที่ทำแบบสอบถามทั้งสิ้น 5,665 รายจำนวนผู้รับบริการที่มีความพึงพอใจระดับมาก 5,665 รายคิดเป็นร้อยละ 100 โครงการให้บริการที่ดีที่สุดคงไว้ประจำปีงบประมาณ 2562 “โครงการโครงการ กทม.ใส่ใจผู้สูงวัย หัวใจแกร่ง” ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด ดังนี้ 1. ร้อยละของผู้สูงอายุที่รับบริการในโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานครมีความพึงพอใจในการรับบริการ คิดเป็นร้อยละ 99.24 2. ผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพิงผู้อื่นปานกลางถึงพึ่งพิงผู้อื่นทั้งหมดที่เข้าเงื่อนไขในการ ส่งต่อได้รับการส่งต่อข้อมูลเพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้านทั้งสิ้น 37 รายและดำเนินการทั้งสิ้น 37 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 3. ร้อยละของผู้สูงอายุที่เข้าเงื่อนไขในการส่งต่อได้รับบริการครบทุกด้าน ตามบริการที่จำเป็นทั้งสิ้น 37 รายและดำเนินการทั้งสิ้น 37 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 การยกระดับโครงการของสานักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 – 2562 ได้แก่ ในปี 2560 โครงการพัฒนาระบบเครือข่ายและการให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคแบบ บูรณาการ “STRONG TB network for STOP TB” “หยุดวัณโรค ณ จุดเดียวเบ็ดเสร็จ” (รพส.) ได้รับรางวัลคุณภาพ การให้บริการของกรุงเทพมหานคร รายกระบวนงาน ระดับดีเด่น

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

-คำชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงาน : 1. โครงการให้บริการที่ดีที่สุด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โครงการหัวใจคุณ ให้เราดูแล วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคหัวใจ ได้รับการรักษาที่ดีที่สุดจากแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจและทีมสหสาขาวิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพ 2. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคหัวใจได้รับการรักษาที่รวดเร็วและปลอดภัย ไม่เกิดภาวะคุกคามต่อชีวิตของผู้ป่วย 3. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคหัวใจ ที่มารับบริการมีความพึงพอใจต่อการบริการ เป้าหมาย การพัฒนาระบบการให้บริการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจที่มารับบริการในโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ได้ครอบคลุมมากขึ้น สามารถให้การรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีความซับซ้อนได้ โดยมีแพทย์เฉพาะทาง ร่วมกับ ทีมสหสาขาวิชาชีพ นอกจากนี้ยังสามารถรับ-ส่งต่อการรักษาโรคหัวใจ จากโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และโรงพยาบาลใกล้เคียง รวมไปถึงบุคลากรในสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อให้เข้าถึงบริการการรักษาโรคหัวใจได้อย่างรวดเร็ว เชิงคุณภาพ : มีขีดความสามารถในการให้บริการรักษาโรคหัวใจที่หลากหลาย โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ได้แก่ การสวนหัวใจขยายหลอดเลือด การจี้ไฟฟ้าหัวใจ และใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ การผ่าตัดหัวใจ และมีคลินิกเฉพาะทางโรคหัวใจด้านต่างๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจได้เพิ่มมากขึ้น เชิงปริมาณ : - สามารถให้การรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจได้เพิ่มมากขึ้นทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ - สามารถให้การรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีความซับซ้อนได้มากขึ้น - สามารถลดการส่งต่อผู้ป่วยโรคหัวใจไปรักษาโรงพยาบาลอื่น - เป็นศูนย์รับ-ส่งต่อการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และโรงพยาบาลใกล้เคียงได้เพิ่มขึ้น ลักษณะของโครงการ เป็นโครงการที่ต้องดำเนินงาน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ซึ่งอยู่ในแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี ระยะที่ 2 พ.ศ. 2561-2565 ด้านที่ 1 มหานครปลอดภัย มิติที่ 1.6 ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย และเป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสำนักการแพทย์ ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2560-2563) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ประชาชนมีความเสมอภาคในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่เป็นเลิศในโรคเฉพาะทาง หรือโรคที่มีความซับซ้อนสูง (Service Excellence) เป้าประสงค์ที่ 1.1 เพิ่มศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ให้มีศักยภาพในการรักษาโรคเฉพาะทางที่สอดคล้องกับความต้องการหรือแนวโน้มการเจ็บป่วยของประชาชนได้อย่างเบ็ดเสร็จ ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (เดือนตุลาคม 2562 – เดือนกันยายน 2563) ณ ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด ชั้น 7 อาคาร 72 พรรษามหาราชินี โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ แผนปฏิบัติการ 1. จัดทำโครงการการพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ โดยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วางแผนในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจอย่างเป็นระบบ และขยายการให้บริการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจไปยังโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ 2. เสนอโครงการต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบการให้บริการที่ดีที่สุด ของกรุงเทพมหานคร พิจารณา 3. นำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติต่อผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ 4. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ หรือคณะทำงาน 5. ประชุมคณะกรรมการ หรือคณะทำงาน 6. ดำเนินกิจกรรมตามแนวทางที่กำหนด - ประชุมพิจารณาแนวทางในการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง - กำหนดแนวทางและขั้นตอนในการดำเนินงาน - รับฟังความคิดเห็นของผู้ป่วย หรือผู้เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงการให้บริการ - ประเมินผลการดำเนินงาน และสรุปผลการดำเนินงานนำเสนอผู้บริหาร 7. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ ผลการดำเนินโครงการ (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 – วันที่ 31 สิงหาคม 2563) 1. อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจ คิดเป็นร้อยละ 3.13 (เป้าหมาย น้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 10) 2. อัตราผู้ป่วยโรคหัวใจที่ได้รับการรักษา โดยการทำหัตถการ มีระยะเวลารอคอยไม่เกิน 2 เดือน คิดเป็นร้อยละ 91.87 (เป้าหมาย มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 90) 3. ผู้ป่วยโรคหัวใจที่มารับการบริการ มีความพึงพอใจต่อการบริการ คิดเป็นร้อยละ 100 (เป้าหมาย มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 90) 2. การรักษาหรือคงไว้ เพื่อพัฒนาโครงการให้บริการที่ดีที่สุด (Best Service) ที่หน่วยงานนำเสนอเพื่อขอรับการประเมินในปีงบประมาณที่ผ่านมา (ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 – 2562) โครงการ กทม. ใส่ใจ ผู้สูงวัย หัวใจแกร่ง วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มารับบริการที่โรงพยาบาลกรุงเทพมหานครได้รับบริการที่มีคุณภาพ และต่อเนื่อง ครอบคลุมด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มารับบริการมีความประทับใจและมีความพึงพอใจ ผลการดำเนินงานโครงการ (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 – วันที่ 31 สิงหาคม 2563) 1. ร้อยละของผู้สูงอายุที่รับบริการในโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร มีความพึงพอใจในการรับบริการ คิดเป็นร้อยละ 97.88 (เป้าหมาย มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 80) 2. ผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพิงผู้อื่นปานกลางถึงพึ่งพิงผู้อื่นทั้งหมด ที่เข้าเงื่อนไขในการส่งต่อได้รับการส่งต่อข้อมูล เพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 100 (เป้าหมาย มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 80) 3. ร้อยละของผู้สูงอายุที่เข้าเงื่อนไขในการส่งต่อ ได้รับบริการครบทุกด้านตามบริการที่จำเป็น คิดเป็นร้อยละ 97.50 (เป้าหมาย มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 70) 3. การยกระดับโครงการให้บริการที่ดีที่สุด การยกระดับ/การพัฒนาโครงการให้บริการที่ดีที่สุดของสำนักการแพทย์ที่เคยดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 – 2562 มีรายละเอียดดังนี้ 1. โครงการให้บริการที่ดีที่สุดที่มีความโดดเด่น 1.1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 โครงการพัฒนาครัวฮาลาลสู่มาตรฐาน GMP เพื่อภาพลักษณ์ที่ดีในการให้บริการสู่มาตรฐานสากล 1.2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 โครงการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและระยะสุดท้าย 1.3 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 โครงการพัฒนาระบบเครือข่ายและการให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคแบบบูรณาการ “STRONG TB network for STOP TB” 1.4 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 โครงการ กทม.ใส่ใจ ผู้สูงวัย หัวใจแกร่ง 1.5 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 โครงการฝากครรภ์ทันใจ ฉับไว BMA NOW 2. รางวัลคุณภาพการให้บริการของกรุงเทพมหานคร 2.1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 โครงการหยุดวัณโรค ณ จุดเดียวเบ็ดเสร็จ 2.2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โครงการ กทม.ใส่ใจ ผู้สูงวัย หัวใจแกร่ง

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

ตามที่ สกก.กำหนด

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

ตามที่ สกก.กำหนด

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

-

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย
:๑.๖.๓ คนกรุงเทพฯทุกคนมีโอกาสได้รับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เท่าเทียม มีคุณภาพ แ%
:๑.๖.๓.๑ พัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลสู่ความเป็นเลิศทางการแพทย์

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง