ค่าเป้าหมาย คะแนน : 5
ผลงานที่ทำได้ คะแนน : 5
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
1. เวียนแจ้งแนวทางการดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่ 4.2 ระดับความสำเร็จของการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้ส่วนราชการทราบ 2. ส่งข้อมูลผู้รับผิดชอบการดำเนินงานในภาพของสำนักการแพทย์ให้สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย 3. ประชุมเพื่อรับทราบนโยบายและวางแผนการดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่ 4.2 ระดับความสำเร็จของการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานสำนักการแพทย์ ในวันที่ 2 ธันวาคม 2562 ทบทวน และเลือกความเสี่ยงที่จะนำมาดำเนินการในปี 2563 โดยเลือกดำเนินการ ดังนี้ งานใหม่ 2 งาน 1. ด้านกายศาสตร์ (การยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วย) โดยโรงพยาบาลสิรินธร 2. ด้านชีวภาพ (การคัดกรองโรค) โดยโรงพยาบาลตากสิน งานต่อยอดพัฒนา 1 งาน 3. ด้านการยศาสตร์ (งานการใช้คอมพิวเตอร์) โดยสำนักงานพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ การปฏิบัติตามแนวทาง หรือ มาตรฐานกลางการใช้รถราชราชการของสำนักอนามัย 4. การนำข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือมาตรฐานกลางการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน(การใช้รถยนต์) โดยสำนักงานเลขานุการ 4. ทำโครงการจัดการความเสี่ยงประกอบด้วยงานใหม่ 2 งาน และงานต่อยอดพัฒนา 1 งาน พร้อมทั้งแผนการปฏิบัติงาน 5. รายงานการใช้ข้อปฏิบัติการใช้งานรถยนต์ราชการ สังกัดกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 1 ของสำนักการแพทย์
- ขั้นตอนที่ 2 สำนักการแพทย์ได้จัดทำโครงการพัฒนาและจัดการปัญหาความเสี่ยงในการทำงานของหน่วยงาน โดยจัดส่งสำเนาโครงการฯ และหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้สำนักอนามัยภายในเดือนธันวาคม 2562 เรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างสำนักการแพทย์ได้ดำเนินการตามแผนงานและกำกับติดตามผลการดำเนินโครงการฯ พร้อมรายงานผลการปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือมาตรฐานกลางการปฏิบัติรางานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน ครั้งที่ 2ให้กับสำนักอนามัยในเดือนเมษายน 2563
-ขั้นตอนที่ 3 มีการประเมินความสำเร็จของการดำเนินโครงการ ฯ ดังนี้ - บรรลุเป้าหมาย งานต่อยอดพัฒนา - บรรลุเป้าหมาย งานจัดการความเสี่ยง และอยู่ระหว่างจัดทำข้อปฏิบัติในภาพรวมสำนักในขั้นตอนที่ 4
-คำชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงาน : สำนักการแพทย์ดำเนินการตามขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 1.1 ทบทวน วิเคราะห์ความเสี่ยง ประเมินอันตรายจากการทำงานของหน่วยงาน โดยคัดเลือกงานที่มีความเสี่ยงสูง นำมาจัดการความเสี่ยงในการทำงาน อย่างน้อย 2 งาน (แบบ OCC1(63)) 1.2 มีการพิจารณาคัดเลือกงานที่ได้จัดการความเสี่ยงในปีที่ผ่านมานำมาต่อยอดพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น อย่างน้อย 1 งาน โดยมีวัตถุประสงค์ข้อใดข้อหนึ่ง หรือหลายข้อ ดังนี้ - ลดความเสี่ยงในการทำงาน - เพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน - ส่งเสริมสุขภาพในการทำงาน 1.3 มีการนำข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือมาตรฐานกลางการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน (การใช้รถยนต์) เวียนแจ้งและถือปฏิบัติโดยทั่วกัน (รายงานภายในเดือนธันวาคม 2562) (แบบ R1(63)) 1.4 มีการรายงานผลการดำเนินงานพร้อมจัดส่งหลักฐานที่แสดงให้ถึงการดำเนินงานในข้อ 1.1 - 1.3 ที่ครบถ้วนถูกต้องให้สำนักอนามัย ภายในเดือนธันวาคม 2562 ซึ่งจากมติที่ประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสำนักการแพทย์ ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2562 เห็นชอบให้ดำเนินการจัดการความเสี่ยง ปี 2563 และมอบหมายส่วนราชการ ดังนี้ 1. ความเสี่ยงสูง 2 งาน ประกอบด้วย - งานด้านชีวภาพ : การคัดกรองโรค งานตรวจรักษาพยาบาล และงานบริการผู้ป่วย โดยโรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน และโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ - งานด้านการยศาสตร์ : การยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วย โดยโรงพยาบาลสิรินธร โรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลคลองสามวา โรงพยาบาลบางนากรุงเทพมหานคร และโรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ 2. งานต่อยอดพัฒนา - งานด้านการยศาสตร์ : การทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยสำนักงานพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ สำนักงานเลขานุการ และศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร(ศูนย์เอราวัณ) 3. การดำเนินการเกี่ยวกับรถยนต์ราชการ โดยสำนักงานเลขานุการ และทุกส่วนราชการ ซึ่งสำนักงานเลขานุการ ได้เวียนแจ้งข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือมาตรฐานกลางการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน (การใช้รถยนต์) ให้ทุกส่วนราชการทราบและถือปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 2 2.1 มีการจัดทำโครงการเพื่อพัฒนาและการจัดการปัญหาความเสี่ยงในการทำงานของหน่วยงาน พร้อมจัดส่งสำเนาโครงการฯ และหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้สำนักอนามัย ภายในเดือนธันวาคม 2562 (แบบ OCC2(63)) 2.2 มีการดำเนินโครงการตามแผนงาน การกำกับ ติดตามผลการดำเนินโครงการ โดยจัดส่งผลการดำเนินงานให้สำนักอนามัย ภายในเดือนเมษายน 2563 (แบบ OCC3(63)) 2.3 มีการรายงานผลการปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือมาตรฐานกลางการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน (การใช้รถยนต์) ครั้งที่ 2 ให้สำนักอนามัย ภายในเดือนเมษายน 2563 (แบบ R2(63)) สำนักการแพทย์ ได้จัดทำโครงการการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พร้อมแผนปฏิบัติงานโครงการ ตามความเสี่ยงที่เลือกดำเนินการ และมีการกำกับติดตามผลการดำเนินโครงการ และการปฏิบัติตามมาตรฐานการใช้รถยนต์ โดยส่งรายงานการดำเนินงานให้สำนักอนามัยเดือนธันวาคม 2563 ตามหนังสือด่วนที่สุดที่ กท 0601/13677 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2563 และรายงานเดือนเมษายน 2563 ตามหนังสือที่ กท 0601/5116 ลงวันที่ 29 เมษายน 2563 ขั้นตอนที่ 3 มีการประเมินความสำเร็จของการดำเนินโครงการฯ (แบบ OCC4(63)) ขั้นตอนที่ 4 4.1 มีการจัดทำและนำข้อปฏิบัติแนวทาง หรือ มาตรฐานการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของหน่วยงาน ไปใช้งานภายในหน่วยงาน อย่างน้อย 2 งาน (ข้อปฏิบัติฯ ที่ดำเนินการในปี 2563) (แบบ OCC5(63)) 4.2 มีการติดตามและประเมินผลการใช้ข้อปฏิบัติฯ (แบบ OCC6(63)) ขั้นตอนที่ 5 5.1 มีการดำเนินการเพื่อการเป็นต้นแบบที่ดีให้หน่วยงานอื่น ใช้เป็นแบบอย่างในการดำเนินงาน หรือใช้ประโยชน์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1) มีกิจกรรมการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการและผลสำเร็จของการดำเนินงาน 2) มีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถ่ายทอดประสบการณ์ การถอดบทเรียน การจัดการความรู้ (KM) ระหว่างหน่วยงาน (เป็นหน่วยงานที่มีจัดการความเสี่ยงในงานที่มีลักษณะเช่นเดียวกัน หรือคล้ายคลึงกัน) 3) มีหน่วยงานนอกสังกัด เข้ามาศึกษาดูงาน โดยจัดให้มีการบรรยายให้ความรู้ เยี่ยมชมการดำเนินโครงการและผลสำเร็จของงานเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง หรือ ต่อยอดพัฒนางาน ทั้งนี้ สำนักอนามัย มีหนังสือที่ กท 0704/5325 ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 แจ้งปรับแนวทางการประเมินผลตัวชี้วัดที่ 4.2 ในขั้นตอนที่ 5 จาก (1) (2) และ (3) ปรับมาเป็น กำหนดให้อย่างน้อยหน่วยงานดำเนินการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลสำเร็จของการดำเนินงาน ผ่านช่องทางออนไลน์ที่เหมาะสม เพื่อตอบสนองนโยบาย Social Distancing ลดโอกาสหรือลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จากการรวมกลุ่มของบุคคล 5.2 มีการสรุปผลการดำเนินงานภาพรวมให้หัวหน้าหน่วยงานทราบ 5.3 มีการรายงานผลการปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ แนวทางหรือมาตรฐานกลางการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน (การใช้รถยนต์) ครั้งที่ 3 ให้สำนักอนามัย ภายในวันที่ 17 สิงหาคม 2563 (แบบ R3(63)) 5.4 มีการจัดทำส่งผลการดำเนินงานและหลักฐานที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนดให้สำนักอนามัย ภายในวันที่ 17 สิงหาคม 2563 สำนักการแพทย์ ได้จัดทำข้อปฏิบัติ แนวทางการทำงานว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสำนักการแพทย์ ประกอบด้วย - ด้านการยศาสตร์ (การยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วย และการทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์) - ด้านชีวภาพ (การคัดกรองโรค งานตรวจรักษาพยาบาล และงานบริการผู้ป่วย) พร้อมทั้งเวียนแจ้งให้ส่วนราชการในสังกัดทราบและถือปฏิบัติ รวมถึงการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานต่าง ๆ ตามสื่อประชาสัมพันธ์ของส่วนราชการ และส่งรายงานผลการดำเนินงานตามขั้นตอนที่ 3 – 5 ให้สำนักอนามัยเรียบร้อยแล้วตามหนังสือที่ กท 0601/8794 ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2563
ตามที่ สนอ. กำหนด
ตามที่ สนอ. กำหนด
-
:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
:๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย |
:๑.๖.๑ คนกรุงเทพฯ มีสุขภาวะทางกายและจิต มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ไม่มีภาวะเจ็บป่วยจาก โร% |
:๑.๖.๑.๕ สถานประกอบการที่มีความเสี่ยงสูงได้มาตรฐานด้านอาชีวอนามัย |