รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ระดับความสำเร็จของการจัดทำแผนบูรณาการเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์การระบาดของ โรคอุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ : 0700-818

ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5

ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 5

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 0

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ระดับ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00
100
100 / 100
2
3.00
0
0 / 0
3
4.00
0
0 / 0
4
5.00
0
0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

สำนักการแพทย์ได้จัดประชุมหารือแนวทางการดำเนินงานตามตัวชี้วัด ความสำเร็จของการจัดทำแผนบูรณาการเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 เวลา 13.30-16.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 2 ศูนย์เอราวัณ โดยสำนักการแพทย์ได้มอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการจัดทำแผนบูรณาการดังกล่าว ดังนี้ 1. โรงพยาบาลตากสิน จัดทำแผนบูรณาการเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ ในส่วนของในโรงพยาบาล (In-hospital care) 2. ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) จัดทำแผนบูรณาการเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ ในส่วนของการรับ-ส่งต่อผู้ป่วยนอกโรงพยาบาล (Pre-hospital care) 3. สำนักงานพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ รวบรวมข้อมูล และจัดทำแผนบูรณาการเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ ในภาพรวมของสำนักการแพทย์ ในส่วนของการดำเนินงานของศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) อยู่ระหว่าง ทบทวนบทบาทอำนาจหน้าที่ภารกิจของส่วนราชการ วิเคราะห์ความเสี่ยงและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับส่วนราชการ และวางแผน แนวทางการดำเนินงานแก้ไขความเสี่ยง เพื่อจัดทำแผนบูรณาการฯ ต่อไป

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

สำนักการแพทย์ ได้ดำเนินการประชุมซ้อมแผนเพื่อเตรียมความพร้อมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เมื่อวันศุกร์ที่ 8 มกราคม 2564 เวลา 09.00 - 14.00 น.ณ ห้องประชุมพิทยรักษ์ ชั้น 4 สำนักการแพทย์ จำนวน 50 คน และถ่ายทอดผ่านระบบ Conference ไปยังโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ ผู้เข้าร่วมประชุมซ้อมแผนประกอบด้วย ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสำนักการแพทย์ ผู้แทนโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ แพทย์ พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ เภสัชกร นักวิชาการสาธารณสุข เป็นต้น และหน่วยงานยที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย ผู้แทนจากสำนักอนามัย ผู้แทนสำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ผู้แทนสำนักงานเขตคลองสาน สำนักการแพทย์จัดทำเล่มแผนบูรณาการเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์การระบาดของโรคอุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ ฉบับสมบูรณ์ และอยู่ระหว่างส่งให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วน

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

สำนักการแพทย์ ได้ส่งเล่มแผนบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤติ (Business Continuity Plan : BCP) ไปยังสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ตามบันทึกที่ กท 0602/4595 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2564 เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ และประชาสัมพันธืผ่านเวบไซด์สำนักการแพทย์

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

สำนักการแพทย์ได้จัดทำแผนดำเนินงานต่อเนื่องสำหรับการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตกรณีโรคอุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ (Business Continuity Plan for Emerging Infection Disease : BCP for EID) โดยได้ดำเนินการฝึกซ้อมแผนเพื่อเป็นการซักซ้อมความเข้าใจและเตรียมความพร้อมในการตอบสนองต่อสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยเป็นการฝึกซ้อมแผนชนิดบนโต๊ะ (Tabletop exercise) เมื่อวันศุกร์ที่ 8 มกราคม 2564 เวลา 09.00 – 14.00 น. ณ ห้องประชุมพิทยรักษ์ ชั้น 4 สำนักการแพทย์

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

ความสำเร็จของการจัดทำแผนบูรณาการเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์การระบาดโรคอุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ หมายถึง หน่วยงานมีการจัดทำแผนเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์การระบาดโรคอุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ เช่น โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น รวมถึงการซ้อมแผนเพื่อเตรียมความพร้อม โดยมีหน่วยงานในและนอกสังกัดกรุงเทพมหานครเข้าร่วมด้วย เช่น สำนักอนามัย สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ส่วนราชการในสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร เช่น สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักงานการต่างประเทศ โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นต้น

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

เทียบผลการดำเนินการกับเกณฑ์ที่กำหนด

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

- เล่มแผนบูรณาการเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์การระบาด ของโรคอุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ - ภาพถ่ายการซ้อมแผนหรือเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการซ้อมแผน

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย
:๑.๖.๒ โรคติดต่อที่สำคัญในเมืองได้รับการเฝ้าระวังและควบคุมไม่ให้ระบาดไปในวงกว้าง%
:๑.๖.๒.๑ ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ในกลุ่มเป้าหมายที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูง รวมทั้งกลุ่มเยาวชน

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง