ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
นางดวงฤทัย จันเขียว โทร.1661
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 3
โปรดระบุ
07060000/07060000
โปรดระบุ
โปรดระบุ
ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย |
๑.๖.๒ โรคติดต่อที่สำคัญในเมืองได้รับการเฝ้าระวังและควบคุมไม่ให้ระบาดไปในวงกว้าง% |
๑.๖.๒.๑ ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ในกลุ่มเป้าหมายที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูง รวมทั้งกลุ่มเยาวชน |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2021-09-21)
21/09/2564 : สำนักการแพทย์ ได้จัดทำแผนดำเนินงานต่อเนื่องสำหรับการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตกรณีโรคอุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ (Business Continuity Plan for Emerging Infection Disease : BCP for EID) โดยได้ดำเนินการฝึกซ้อมแผนเพื่อเป็นการซักซ้อมความเข้าใจและเตรียมความพร้อมในการตอบสนองต่อสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยเป็นการฝึกซ้อมแผนชนิดบนโต๊ะ (Tabletop exercise) เมื่อวันศุกร์ที่ 8 มกราคม 2564 เวลา 09.00 – 14.00 น. ณ ห้องประชุมพิทยรักษ์ ชั้น 4 สำนักการแพทย์ และจัดส่งแผนดำเนินงานต่อเนื่อง สำหรับการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต กรณีโรคอุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ ให้โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ เพื่อให้หน่วยงานสามารถดำเนินกิจการไปได้ในสภาวะวิกฤตหรือฟื้นตัวเมื่อผ่านวิกฤตไป
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2021-08-23)
23/08/2564 : อยู่ระหว่างสรุปผลการซ้อมแผนป้องกันโรคอุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ ปัญหาและอุปสรรคให้ผู้บริหารทราบ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 75.00 (2021-07-23)
23/07/2564 : สำนักการแพทย์ ขอรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานที่สำคัญของโรงพยาบาลในสังกัดดังนี้ โรงพยาบาลตากสิน ดำเนินการส่งแผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องสำหรับการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตจากโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ Business Continuity Plan (BCP) สำหรับใช้รองรับสถานการณ์ กรณีเกิดสภาวะวิกฤตหรือเหตุการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่สำนักงานของหน่วยงาน หรือภายในหน่วยงาน จากเหตุการณ์โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ ให้สำนักงานพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ สำนักการแพทย์ เรียบร้อยแล้ว ตามหนังสือที่ กท 0606/6932 ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2564 เรื่อง ขอส่งแผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องสำหรับการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตจากโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ (Business Continuity Plan) โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ดำเนินการเรียบร้อยแล้วในไตรมาสที่ 2 ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร อยู่ระหว่างปรับแก้ไขแผนบูรณาการเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์การระบาดของโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ และผู้บริหารสำนักการแพทย์
** ปัญหาของโครงการ :สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนา2019 (COVID-19) ที่มีการแพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้นในประเทศ ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนแผนฯให้มีความเหมาะสม และสามารถรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ ได้อย่างครอบคลุม
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2021-06-25)
25/06/2564 : สำนักการแพทย์ขอรายงานความก้าวหน้าดังนี้ อยู่ระหว่างการแก้ไขข้อมูลตามคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2021-05-24)
24/05/2564 : สำนักการแพทย์ ขอรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานที่สำคัญของโรงพยาบาลในสังกัดดังนี้ โรงพยาบาลตากสิน อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำแผนดำเนินธุรกิจต่อเนื่องในสภาวะวิกฤตจากโรคอุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ (ฺBCP) และอยู่ระหว่างนำเสนอผู้บริหารเพื่อตรวจสอบ ความถูกต้อง และครบถ้วนของเนื้อหา โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ดำเนินการจัดทำแผน BPC พร้อมทั้งซ้อมรับสถานการณ์ เรียบร้อยแล้วในไตรมาสที่ 2 โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาด Covid-19 โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานครส่งบุคลากรเพื่อเปิดโรงพยาบาลสนามที่โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน ดำเนินการประชุมเพื่อวางแผนจัดเตรียมอุปกรณ์ PPE, เตรียมสถานที่เพื่อรองรับผู้รับบริการ เตรียมสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ประชุมเพื่อวางแผนกับการปรับเปลี่ยนสถานการณ์ตลอดเวลา ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร อยู่ระหว่างผู้เชี่ยวชาญตรวจรายละเอียดแผนฯ เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของสำนักการแพทย์
** ปัญหาของโครงการ :การปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินการตามสถานการณ์
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 55.00 (2021-04-26)
26/04/2564 : สำนักการแพทย์ ขอรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานที่สำคัญของโรงพยาบาลในสังกัดดังนี้ โรงพยาบาลกลาง จัดทำแนวทางการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) โดยอัปเดตแนวทางล่าสุดเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2564 โดยเวียนแจ้งแนวทางในแต่ละกลุ่มงาน โรงพยาบาลตากสิน อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำแผนดำเนินธุรกิจต่อเนื่องในสภาวะวิกฤตจากโรคอุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ (BCP) และอยู่ระหว่างจัดทำร่างแผน ปรับปรุงแก้ไขเนื้อหา และรวบรวมข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินงานจริง โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ จัดทำคู่มือ BCP ของ รพจ. 1. เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารความต่อเนื่องในการดำเนินภารกิจหลักของโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ต่อสภาวะวิกฤตด้านการระบาดของโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ และโรคติดเชื้อ Covid-19 อุบัติซ้ำ 2. เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมล่วงหน้าของโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ในการรับมือกับสภาวะวิกฤตด้านการระบาดของโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ และโรคติดเชื้อ Covid-19 อุบัติซ้ำ 3. เพื่อลดผลกระทบจากการลดระดับการดำเนินงานของโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ โดยคงมาตรฐานการดูแลรักษาไว้ 4. เพื่อบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้เสียของโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ โดยมีการกำหนดระดับที่ยอมรับได้ 5. เพื่อให้ผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้เสียมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ แม้ว่าโรงพยาบาลต้องเผชิญกับสภาวะวิกฤต และส่งผลกระทบจนทำให้การดำเนินงานหลักต้องลดระดับลง เรียบร้อยแล้ว โดยมีการดำเนินการ ดังนี้ 1. ผู้อำนวยการ รพจ. และหัวหน้าฝ่ายวิชาการและแผนงาน เข้าร่วมสังเกตการณ์ซ้อมแผน BCP กับสถาบันเด็กฯ ในวันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม 2563 2. รพจ. อยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูล เพื่อนำมาจัดทำแผน BCP ของ รพจ. 3.บุคลากร รพจ. เข้าร่วมประชุมการจัดทำแผน BCP ระดับ สนพ. ในวันที่ 8 มกราคม 2564 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมพิทยรักษ์ ชั้น 4 สำนักการแพทย์ 4. รพจ. ดำเนินการถอดบทเรียน กรณีผู้ป่วยชาย อายุ 41 ปี ในวันที่ 15 มกราคม 2564 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมอุดมสังวรญาณ ชั้น 23 อาคาร 72 พรรษา มหาราชินี ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำแผน BCP ของ รพจ. 5. หน่วยงานต่างๆ จัดทำแผน BCP ของหน่วยงาน เพื่อดำเนินการจัดทำเป็นแผน BCP ของ รพจ. 6. คกก. IC ร่วมกับ องค์กรแพทย์ จัดสอนวิธีการใส่/ถอด ชุด PPE/PAPR ให้กับกลุ่มงานทางการแพทย์ เช่น กลุ่มงานศัลยกรรม ดำเนินการในวันที่ 26 ม.ค. 64 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมองค์กรแพทย์ ชั้น 11 อาคาร 72 พรรษา มหาราชินี 7. รพจ. ดำเนินการซ้อมแผน BCP ของ รพจ. โดยมีการทบทวนแผนการบริหารความต่อเนื่อง (BCP) กรณี COVID-19 จากการทบทวนโครงสร้างระบบบัญชาการ การจัดกลุ่มภารกิจและบทบาทหน้าที่ตามโครงสร้างระบบบัญชาการเหตุการณ์ แนวทางการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ระบบบัญชาการเหตุการณ์ และศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณะสุข กรมควบคุมโรค (กรมควบคุมโรค 2558) ซึ่งเป็นการฝึกซ้อมแผนชนิดบนโต๊ะ (Tabletop Exercise) ตามแผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (BCP) กรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 เกิดขึ้นกับผู้ป่วยชาย อายุ 48 ปี admit วันที่ 17 มกราคม 64 ด้วยเอง ที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกชาย ในวันที่นอน รพ. เป็นวันที่ 4 ผู้ป่วยเกิดอาการปาดท้องมากและเฉียบพลัน ศัลยแพทย์เจ้าของคนไข้ ซักประวัติและตรวจร่างกายสงสัย PUI แจ้งพยาบาล ศกช. สอบถามประวัติผู้ป่วยเพิ่มเติม ผู้ป่วยแจ้งว่าญาติซึ่งอยู่บ้านเดียวกันทำงานสถานบันเทิงในพื้นที่เสี่ยง ผู้ป่วยเริ่มมีน้ำมูลไหลและจมูกได้กลิ่นลดลงประมาณ 2 วัน แต่ไม่ได้แจ้งแพทย์หรือพยาบาล เพราะเข้าใจ ว่าอาจจะเกิดจากสภาพอากาศที่เย็นลงในช่วงนี้ จึงทำการตรวจ SWAB พบ PUI แดงโผล่กลาง ward ผลตรวจยืนยันว่าเป็นโควิด ต้องไปรับการผ่าตัดด่วน ในวันที่ 21 มกราคม 2564 เวลา 09.00-17.00 น. ณ ห้องประชุมองค์กรแพทย์ ชั้น 11 หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกชาย ห้องผ่าตัด หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม อาคาร 72 พรรษา มหาราชินี โดยผลจากการซ้อมแผนฯ มีการปรับเปลี่ยนประเด็นการสื่อสารภายในด้านการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย และได้มอบหมายให้กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม ร่วมดูแลสุขภาพและติดตามเฝ้าระวังโรคของบุคลากร ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร อยู่ระหว่างสำนักงานพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ปรับปรุงแผนแผนบูรณาการเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์การระบาดโรคอุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ ของแต่ละส่วนราชการให้สอดคล้องกับบริบทของกรุงเทพมหานคร และข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ
** ปัญหาของโครงการ :เกิดภาวะการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ในวงกว้าง ทำให้อยากต่อการควบคุม และการดำเนินงานภายในโรงพยาบาล
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2021-03-24)
24/03/2564 : สำนักการแพทย์ ขอรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานที่สำคัญของโรงพยาบาลในสังกัดดังนี้ โรงพยาบาลกลาง จัดทำแนวทางการดำเนินการและซ้อมการดูแลการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย โรงพยาบาลตากสิน 1. อยู่ระหว่างการทบทวน ปรับปรุง เนื้อหา และรวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำรูปเล่มแผนบูรณาการเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์การระบาดของ โรคอุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ โดยมีการกำหนดแนวทางในการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ดังกล่าว 2. อยู่ระหว่างการจัดทำรูปเล่มของแผน Business Continuity Plan (BCP) สำหรับใช้รองรับสถานการณ์ กรณีเกิดสภาวะวิกฤตหรือเหตุการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่สำนักงานของหน่วยงาน หรือภายในหน่วยงานจากเหตุการณ์โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ 3. การซ้อมแผนบนโต๊ะ Table Top Exercise กรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคนา 2019 เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมสุนทรนนท์ ชั้น 6 อาคารสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ 1. ผู้อำนวยการ รพจ. และหัวหน้าฝ่ายวิชาการและแผนงาน เข้าร่วมสังเกตการณ์ซ้อมแผน BCP กับสถาบันเด็กฯ ในวันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม 2563 2. รพจ. อยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูล เพื่อนำมาจัดทำแผน BCP ของ รพจ. 3. บุคลากร รพจ. เข้าร่วมประชุมการจัดทำแผน BCP ระดับ สนพ. ในวันที่ 8 มกราคม 2564 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมพิทยรักษ์ ชั้น 4 สำนักการแพทย์ 4. รพจ. ดำเนินการถอดบทเรียน กรณีผู้ป่วยชาย อายุ 41 ปี ในวันที่ 15 มกราคม 2564 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมอุดมสังวรญาณ ชั้น 23 อาคาร 72 พรรษา มหาราชินี ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำแผน BCP ของ รพจ. 5. หน่วยงานต่างๆ จัดทำแผน BCP ของหน่วยงาน เพื่อดำเนินการจัดทำเป็นแผน BCP ของ รพจ. 6. คกก. IC ร่วมกับ องค์กรแพทย์ จัดสอนวิธีการใส่/ถอด ชุด PPE/PAPR ให้กับกลุ่มงานทางการแพทย์ เช่น กลุ่มงานศัลยกรรม ดำเนินการในวันที่ 26 ม.ค. 64 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมองค์กรแพทย์ ชั้น 11 อาคาร 72 พรรษา มหาราชินี 7. รพจ. ดำเนินการซ้อมแผน BCP ของ รพจ. โดยมีการทบทวนแผนการบริหารความต่อเนื่อง (BCP) กรณี COVID-19 จากการทบทวนโครงสร้างระบบบัญชาการ การจัดกลุ่มภารกิจและบทบาทหน้าที่ตามโครงสร้างระบบบัญชาการเหตุการณ์ แนวทางการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ระบบบัญชาการเหตุการณ์ และศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณะสุข กรมควบคุมโรค (กรมควบคุมโรค 2558) ซึ่งเป็นการฝึกซ้อมแผนชนิดบนโต๊ะ (Tabletop Exercise) ตามแผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (BCP) กรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เกิดขึ้นกับผู้ป่วยชาย อายุ 48 ปี admit วันที่ 17 มกราคม 64 ด้วยเอง ที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกชาย ในวันที่นอน รพ. เป็นวันที่ 4 ผู้ป่วยเกิดอาการปาดท้องมากและเฉียบพลัน ศัลยแพทย์เจ้าของคนไข้ ซักประวัติและตรวจร่างกายสงสัย PUI แจ้งพยาบาล ศกช. สอบถามประวัติผู้ป่วยเพิ่มเติม ผู้ป่วยแจ้งว่าญาติซึ่งอยู่บ้านเดียวกันทำงานสถานบันเทิงในพื้นที่เสี่ยง ผู้ป่วยเริ่มมีน้ำมูลไหลและจมูกได้กลิ่นลดลงประมาณ 2 วัน แต่ไม่ได้แจ้งแพทย์หรือพยาบาล เพราะเข้าใจว่าอาจจะเกิดจากสภาพอากาศที่เย็นลงในช่วงนี้ จึงทำการตรวจ SWAB พบ PUI แดงโผล่กลาง ward ผลตรวจยืนยันว่าเป็นโควิด ต้องไปรับการผ่าตัดด่วน ในวันที่ 21 มกราคม 2564 เวลา 09.00-17.00 น. ณ ห้องประชุมองค์กรแพทย์ ชั้น 11 หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกชาย ห้องผ่าตัด หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม อาคาร 72 พรรษา มหาราชินี โดยผลจากการซ้อมแผนฯ มีการปรับเปลี่ยนประเด็นการสื่อสารภายในด้านการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย และได้มอบหมายให้กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม ร่วมดูแลสุขภาพและติดตามเฝ้าระวังโรคของบุคคลากร อย่างต่อเนื่อง ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) จัดทำแผนการรับ-ส่งต่อผู้ป่วยโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งสำนักงานพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์เรียบร้อยแล้ว
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 35.00 (2021-02-23)
23/02/2564 : สำนักการแพทย์ขอรายงานความก้าวหน้ากิจกรมการจัดทำแผนบูรณาการเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์การระบาดโรคอุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ ของโรงพยาบาลในสังกัดฯ และศูนย์เอราวัณฯ ดังนี้ 1. โรงพยาบาลกลางอยู่ระหว่างการเตรียมหน่วยงานที่ต้องรองรับผู้ป่วย 2. โรงพยาบาลตากสิน อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำแผนดำเนินธุรกิจต่อเนื่องในสภาวะวิกฤตจากโรคอุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ (ฺBCP) และอยู่ระหว่างทบทวนและปรับปรุงเนื้อหาของฉบับร่าง และนำเสนอผู้บริหารพิจารณาต่อไป 3. โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ดำเนินการซ้อมแผนฯ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2564 (ทบทวน การถอดบทเรียน Case ผู้ป่วย Covid-19 ชายไทย อายุ 44 ปี มีภาวะอ้วน ตรวจร่างกายที่ ARI Clinic ในวันที่ 30 ธ.ค. 63) เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 23 อาคาร 72 พรรษา มหาราชินี และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2564 (ซ้อมแผนบริหารสถานการณ์ Covid-19 กรณีผู้ป่วย Admit หอศัลยกรรมกระดูกชาย เกิดอาการปวดท้องเฉียบพลัน ต้อง Set OR Emergency พยาบาลซักประวัติเพิ่มเติมปรากฎว่ามีญาติทำงานอยู่สถานบันเทิง ผู้ป่วยมีน้ำมุก ได้กลิ่นลดลง 2 วัน ไม่ได้แจ้งแพทย์เจ้าของไข้ แพทย์เจ้าของไข้แจ้งแพทย์ Med-Covid ดำเนินการ Swab ผ่าตัด และ Admit ที่ MICU หลังผ่าตัดเสร็จ) เวลา 09.00-17.00 น. ณ ห้องประชุมองค์กรแพทย์ ชั้น 11 และหน้างานจริงที่ หอศัลยกรรมกระดูกชาย OR MICU อาคาร 72 พรรษา มหาราชินี พร้อมทั้งจัดทำแผนการดำเนินธุรกิจต่อเนื่อง (BCP) ของโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ 4. โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร อยู่ระหว่าง ทบทวนแผนฯฉบับร่าง แก้ไข ปรับปรุง 5. ศูนย์เอราวัณฯ ดำเนินการจัดทำข้อมูลแผนการรับ-ส่งต่อผู้ป่วยโรคติดต่ออุบัติใหม่ อุบัติซ้ำส่งให้สำนักงานพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์เรียบร้อยแล้ว
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2021-01-25)
25/01/2564 : สำนักการแพทย์ ขอรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานการจัดทำแผนเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์การระบาดของ โรคอุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ ประจำเดือนมกราคม 2564 สำนักการแพทย์ ได้มีการจัดการประชุมซ้อมแผนรับมือโควิดชนิดบนโต๊ะ (Tabletop Exercise) เมือวันศุกร์ที่ 8 ม.ค. 64 เวลา 09.00 – 14.00 น. ณ ห้องประชุมพิทยรักษ์ ชั้น 4 อาคารสำนักการแพทย์ เพื่อเป็นการทดสอบแนวทางการปฏิบัติ ให้ประสานสอดคล้องกันอย่างมีระบบ และมีประสิทธิภาพ และทำให้ทราบถึงจุดบกพร่อง และช่องว่างในการปฏิบัติงานให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยที่การปฏิบัติงานจริงนั้นบุคลากรต้องดำเนินการตามมาตรฐานความปลอดภัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อ เนื่องจากบุคลากรทางการแพทย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องนั้น ถือว่าเป็นกำลังสำคัญของกรุงเทพมหานครในการทำหน้าที่ตอบโต้กับการระบาด การรักษาพยาบาล การสอบสวนโรค โดยแบ่งการซ้อมออกเป็น การฝึกซ้อมด้านการสั่งการ การอำนวยการ การฝึกตามสถานการณ์หลัก สถานการณ์เสริม การประเมินผล การสอบสวนโรค ลงพื้นที่ ระบบส่งต่อ การบริหารจัดการภายในโรงพยาบาล การประชาสัมพันธ์ ธุรการ ระบบไอที ขั้นตอนการอำนวยความสะดวกของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งกำหนดข้อการฝึกไว้ที่การตอบสนองต่อสถานการณ์ตามแผนของหน่วยงาน/จังหวัด การจัดสรรทรัพยากรในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค การแบ่งมอบหน้าที่ตามความรับผิดชอบ และการร้องขอการสนับสนุนทรัพยากรเพิ่มเติม ซึ่งแต่ละโรงพยาบาลในสังกัดฯ ก็จะซ้อมภาพรวมด้วยกันและไปซ้อมในระดับโรงพยาบาลต่อ หลังจากนั้นจึงจะกำหนดจัดทำแผนเตรียมพร้อมรับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และการบริหารความต่อเนื่องของสถานพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ต่อไป และในส่วนของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ มีการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้ โรงพยาบาลกลาง อยู่ระหว่างขั้นตอน 1. จัดทำแนวทางการรับมือโรคอุบัตใหม่อุบัติซ้ำของ รพ. 2. 9 พ.ย.2563 ประชุมคณะทำงานของ ICN+ID เพื่อจัดทำแผนการรับมือโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำของ สนพ. 2. รพก. จัดประชุม Covid-19 ทุกวันพฤหัสบดี ของทุกสัปดาห์ ในกรณีมีเหตุการณ์ด่วนสามารถดำเนินการจัดประชุมได้ทันที 3. เปิดคลินิกทางเดินหายใจ ARI ทุกวัน บริเวณ โถงด้านนอกชั้น 2 อาคารอนุสรณ์ 100 ปี 4. ซ้อมแผนเพื่อรองรับสถานการณื Covid-19 ภายในโรงพยาบาลกลาง โดยกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อให้แต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมซักซ้อมการดำเนินการ และรวบรวมข้อคิดเห็น ออกเป็นขั้นตอนการดำเนินการภายในให้เกิดความเข้าใจลำดับขั้นตอนปฏิบัติ และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน (ตามเอกสารแนบ) 5. โรงพยาบาลกลางเข้าร่วมซ้อมแผนรับมือโควิดชนิดบนโต๊ะ (Tabletop Exercise) ผ่านระบบวีดิทัศน์ทางไกล ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หารือเตรียมการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามเพื่อรองรับการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 สำหรับการสังเกตอาการผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการหรืออาการเล็กน้อยในพื้นที่ที่มีการควบคุมโดยเฉพาะพื้นที่ควบคุมสูงสุด ในวันศุกร์ที่ 8 มกราคม 2564 เวลา 09.00 – 14.00 น. ณ ห้องประชุมพิทยรักษ์ ชั้น 4 อาคารสำนักการแพทย์ โรงพยาบาลตากสิน อยู่ระหว่างขั้นตอน 1. ประชุมจัดทำแผนเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์การระบาดของ โรคอุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ ภายในโรงพยาบาล เมื่อวันพุธที่ 6 ม.ค 64 และอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้องเพื่อจัดรวมเล่ม และนำเสนอผู้บริหาร 2. เข้าร่วมซ้อมแผนรับมือโควิดชนิดบนโต๊ะ (Tabletop Exercise) เมือวันศุกร์ที่ 8 ม.ค. 64 เวลา 09.00 – 14.00 น. ณ ห้องประชุมพิทยรักษ์ ชั้น 4 อาคารสำนักการแพทย์ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ อยู่ระหว่างขั้นตอน ดำเนินการถอดบทเรียนจากเคส Covid-19 ที่เข้ารับการรักษาที่รพจ. และถูกนำตัวส่งไปยัง รพ.จุฬาฯ เมื่อวันที่ 15 ม.ค. 64 เวลา 13.00-16.00 น. และจะซ้อมแผนรับผู้ป่วยต้องสงสัย ในวันที่ 21 ม.ค. 64 เวลา 10.00-16.00 น. โรงพยาบาลลาดกระบัง อยู่ระหว่างขั้นตอน ประชุมการจัดทำแผนฯ ร่วมกันทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูล เพื่อจัดทำแผนฯ ฉบับสมบูรณ์ ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำแผนรับ-ส่งต่อผู้ป่วย เพื่อรองรับสถานการณ์การระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ โดยทบทวนบทบาทอำนาจหน้าที่ภารกิจ วิเคราะห์ความเสี่ยง และกำหนดกิจกรรมการจัดการความเสี่ยง พร้อมวางมาตรการแก้ไข ตามที่ได้รับมอบหมายจากการประชุม
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2020-12-25)
สำนักการแพทย์ ขอรายงานความก้าวหน้า ประจำเดือนธันวาคม 2563 ดังนี้ โรงพยาบาลตากสิน อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลจาก ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการจัดทำแผนรับ - ส่งต่อผู้ป่วย เพื่อรองรับสถานการณ์การระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ โดยทบทวนบทบาทอำนาจหน้าที่ภารกิจ วิเคราะห์ความเสี่ยง และกำหนดกิจกรรมการจัดการความเสี่ยง พร้อมวางมาตรการแก้ไข ตามที่ได้รับมอบหมายจากการประชุม เพื่อนำมาจัดรวมเล่ม และนำเสนอต่อผู้บริหารต่อไป
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2020-11-23)
23/11/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...สำนักการแพทย์ได้จัดประชุมหารือแนวทางการดำเนินงานตามตัวชี้วัด ความสำเร็จของการจัดทำแผนบูรณาการเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 เวลา 13.30-16.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 2 ศูนย์เอราวัณ โดยสำนักการแพทย์ได้มอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการจัดทำแผนบูรณาการดังกล่าว ดังนี้ 1. โรงพยาบาลตากสิน จัดทำแผนบูรณาการเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ ในส่วนของในโรงพยาบาล (In-hospital care) 2. ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) จัดทำแผนบูรณาการเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ ในส่วนของการรับ-ส่งต่อผู้ป่วยนอกโรงพยาบาล (Pre-hospital care) 3. สำนักงานพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ รวบรวมข้อมูล และจัดทำแผนบูรณาการเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ ในภาพรวมของสำนักการแพทย์ ในส่วนของการดำเนินงานของศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) อยู่ระหว่าง ทบทวนบทบาทอำนาจหน้าที่ภารกิจของส่วนราชการ วิเคราห์ความเสี่ยงและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับส่วนราชการ และวางแผน แนวทางการดำเนินงานแก้ไขความเสี่ยง เพื่อจัดทำแผนบูรณาการฯ ต่อไป
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(12) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2020-10-27)
27/10/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...นัดประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือและกำหนดแนวทางในการจัดทำแผนบูรณาการเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์การระบาดโรคอุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ โดยจะมีการประชุมในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2563
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จของการจัดทำแผนบูรณาการเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์การระบาดของ โรคอุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ
ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5
ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 5
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **