ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 90
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 0
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
1.โรงพยาบาลกลาง อยู่ระหว่างเขียนโครงการเพื่อเสนอผู้บริหารอนุมัติ 2. โรงพยาบาลตากสิน อยู่ระหว่างพัฒนาและปรับปรุงเนื้อหาให้สอดคล้องทันสมัยและติดต่อทีมวิทยากร (จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการอยู่ระหว่างการดำเนินการ) 3.โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูล เพื่อนำมาจัดทำโครงการเสนอผู้บริหาร 4.โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ฯ 5. โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ อยู่ระหว่างประชุมคณะกรรมการฯ เพื่อกำหนดแนวทางในการดูแลประชาชนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน 6.โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร อยู่ระหว่างดำเนินการขอรายชื่อเพื่อจัดทำโครงการ 7. โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ อยู่ระหว่าง 1. ประชุมคณะกรรมการฯ หรือคณะทำงานระดับโรงพยาบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการคัดกรองบุคลากรที่มี BMI และรอบเอวเกิน 2. ดำเนินกิจกรรมตามแนวทางที่กำหนด 8. โรงพยาบาลสิรินธร อยู่ระหว่างการเขียนโครงการ แต่งตั้งคณะกรรมการ และเชิญวิทยากร
โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ได้ดำเนินโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประชาชนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและปัจจัยเสี่ยงจากภาวะน้ำหนักเกินจนสามารถทำให้รอบเอวหรือค่า BMI ลดลงจากเดิม อยู่ระหว่างดำเนินโครงการ
ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลต่อการดำเนินงานของสำนักการแพทย์ ซึ่งสำนักการแพทย์มีภารกิจด้านการบริหารจัดการการแพทย์และสาธารณสุขในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยทำหน้าที่บริหารจัดการเตียงและทรัพยากรทางการแพทย์และสาธารณสุขในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตลอดจนร่วมบริหาร สั่งการ และประสานงานการส่งต่อทั้งผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อ COVID – 19 ผู้ป่วยที่เข้าข่ายสงสัยติดเชื้อ (PUI) รวมไปถึงการดูแลรักษาผู้ป่วยจากโรคดังกล่าว จากสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลต่อการดำเนินงานใน ตัวชี้วัด ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการอ้วนลงพุงมีรอบเอวหรือ BMI ลดลงจากเดิม ซึ่งการดำเนินงานตัวชี้วัดดังกล่าวต้องมีการจัดโครงการหรือกิจกรรมลักษณะของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการสร้างแรงจูงใจ เสริมพลังและ ฝึกทักษะ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีความจำเป็นต้องมีการพบปะระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้เข้าร่วมโครงการฯอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ต้องชะลอโครงการดังกล่าวออกไป
ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID- 19) ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครเกิดการแพร่ระบาดของโรคเป็นวงกว้าง ตลอดจนมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เพิ่มปริมาณสูงขึ้นและมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการไม่สามารถปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ ประกอบกับกรุงเทพมหานครได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กท 0303/ว 115 ลงวันที่ 16 เมษายน 2564 เรื่อง การปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งเพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ของกรุงเทพมหานคร รายละเอียดตามข้อที่ ๒ ให้จัดการประชุมการเรียน การศึกษาอบรมผ่านรูปแบบ Online และขอให้หลีกเลี่ยงการรวมกลุ่มทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงกับประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ ๒๔) รายละเอียดตามข้อที่ 3.5 การจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค เช่น การประชุม การสัมมนา การจัดเลี้ยง การแจกจ่ายอาหารหรือสิ่งของต่าง ๆ ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ให้ดำเนินการโดยจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่เกิน 50 คน กรณีเกิน 50 คน แต่ไม่เกิน 1,000 คน ให้ขออนุญาตโดยยื่นแผนการจัดงานและมาตรการควบคุมโรคต่อสำนักงานเขตพื้นที่ก่อนจัดงาน กรณีเกิน 1,000 คน ให้ขออนุญาตโดยยื่นแผนการจัดงานและมาตรการควบคุมโรคต่อสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ก่อนจัดงาน เว้นแต่เป็นการดำเนินการโดยหน่วยงานรัฐ หรือเป็นกิจกรรมในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นสถานที่กักกันโรค โดยดำเนินการตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค สำนักการแพทย์ พิจารณาแล้วเห็นควรขอยกเลิกตัวชี้วัด ตามหนังสือ กท 0602.3/2691 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2564 เรื่อง ขออนุมัติยกเลิกโครงการตามแผนปฏิบัติราชการสำนักการแทพย์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
- ผู้เข้าร่วมโครงการอ้วน ลงพุง หมายถึง บุคลากรในสังกัดสำนักการแพทย์และหรือประชาชนทั่วไป - รอบเอว หรือ BMI ลดลง หมายถึง ผู้เข้าร่วมโครงการที่วัดรอบเอวหรือ BMI หลังเข้าร่วมโครงการลดลงจากก่อนเข้าร่วมโครงการ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการอ้วนลงพุงที่มีรอบเอวหรือ BMI ลดลง หารด้วยจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการอ้วนลงพุงทั้งหมดคูณด้วย 100
:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
:๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย |
:๑.๖.๑ คนกรุงเทพฯ มีสุขภาวะทางกายและจิต มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ไม่มีภาวะเจ็บป่วยจาก โร% |
:๑.๖.๑.๘ ส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี |