ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 36
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 47.53
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
ดำเนินการดังนี้ 1. พัฒนาและจัดทำแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน 1.1 ปรับ CPG:Hypoglycemia เริ่มปรับใหม่ 26 พ.ย. 63 1.2 แบบฟอร์มการลงบันทึกทางการพยาบาลในศูนย์เบาหวาน ปรับใหม่รอลงเลข fm 1.3 แบบฟอร์มการส่งปรึกษา และรับบริการในศูนย์เบาหวาน ส่งให้หน่วยงานและหอผู้ป่วยทดลองใช้ เริ่ม 19 พ.ย. 63 1.4 แนวทางการเข้าถึงการรักษาในคลินิกผู้ป่วยนอกสำหรับผู้เป็นเบาหวาน อยู่ในระหว่างจัดทำ 2. พัฒนาและจัดทำคู่มือการส่งเสริมและป้องกันโรคเบาหวาน อยู่ในขั้นตอนการปรับคู่มือ 3. จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้ความรู้การอยู่กับเบาหวานโดยทีมสหวิชาชีพแก่ผู้มารับบริการที่ศูนย์เบาหวาน ที่ศูนย์เบาหวาน สัปดาห์ละครั้ง สลับวันอังคาร และวันพุธ ในเดือนหน้าจะเพิ่มวันศุกร์ด้วย 4. ประเมินภาวะแทรกซ้อน ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตรวจเท้า Foot exam, Lab ชุด DM ประจำปี ส่งตรวจ DR 5. วันเบาหวานโลก จัดกิจกรรมวันที่ 5 พ.ย. 63 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 155 ราย ความพึงพอใจในกิจจกรมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 90.67 การให้ความรู้ "เรียนรู้ อยู่กับเบาหวาน" โดยให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติ ขณะรอคอยรับการตรวจรักษาในวันอังคาร และวันศุกร์ โดยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมดจำนวน 7,229 ราย และมีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลได้ดีตามเกณฑ์จำนวน 4,109 ราย คิดเป็นร้อยละ 56.84 2. โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ให้บริการผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ณ คลินิกอายุรกรรม (ศูนย์เบาหวาน) ชั้น 2 อาคารอนุสรณ์ 20 ปี ในวันราชการ จันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00-11.00 น. โดยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมดจำนวน 1,810 ราย และมีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลได้ดีตามเกณฑ์จำนวน 917 ราย คิดเป็นร้อยละ 50.66 4.โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ฯ ดำเนินการจัดกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในคลินิกเบาหวานในโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ และดำเนินการให้การดูแลโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ คัดกรองภาวะแทรกซ้อนประจำปี โดยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมดจำนวน 4,701 ราย และมีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลได้ดีตามเกณฑ์จำนวน 2,521 ราย คิดเป็นร้อยละ 53.63 5.โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ อยู่ระหว่างดำเนินการให้บริการแก่ผู้ป่วยเบาหวานตามแนวทางที่วางไว้ 6.โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร มีการประชุมคณะกรรมการ มอบหมายงานผู้รับผิดชอบในการรายงานตามไตรมาส มีการวางแผนในการดำเนินการโครงการให้ความรู้เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของทีสหสาขาวิชาชีพ เพื่อความเหมาะสมในการปฏิบัติงาน วางแผนการจัดทำเอกสารในการบันทึกข้อมูลผู้ป่วยเบาหวาน ณ คลินิกเบาหวานโรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการในวันพุธและศุกร์ เวลา 07.00-12.00น. จัดทำเอกสารให้ความรู้ในการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย การรับประทานยา ให้ทันสมัยและครอบคลุมมากขึ้น วางแผนการตรวจระดับน้ำตาล ตรวจภาวะแทรกซ้อน การให้ความรู้ในผู้ป่วยรายใหม่ การติดตามเยี่ยมบ้านในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง โดยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมดจำนวน 1,400 ราย และมีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลได้ดีตามเกณฑ์จำนวน 606 ราย คิดเป็นร้อยละ 43.29 7.โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ 1. ให้บริการตรวจคัดกรองวันจันทร์-ศุกร์เวลา 8.00 น. - 16.00 น. บริเวณจุดคัดกรอง อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 1 เพื่อคัดกรองภาวะกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน และร่วมมือกับหน่วยงานอื่นในการตรวจคัดกรองเมื่อมีการจัดกิจกรรมต่างๆ ในโรงพยาบาล 2. เมื่อพบผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน รีบให้คำแนะนำและให้ได้รับการดูแลรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก 3. ทบทวนเกณฑ์การรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะความเสี่ยงสูงเพื่อนัดพบแพทย์เฉพาะทางอายุรกรรมโรคเบาหวาน 4. ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาตามมาตรฐาน และได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนตา ไต เท้า อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 5. ประสานงานกับนักกายภาพมาช่วยดูแลการตรวจสุขภาพเท้าและแนะนำการออกกำลังกายบริหารเท้า 6. ประสานในทีมสหสาขาวิชาชีพด้านโภชนาการในการส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมดจำนวน 3,375 ราย และมีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลได้ดีตามเกณฑ์จำนวน 1,320 ราย คิดเป็นร้อยละ 39.11 8.โรงพยาบาลสิรินธร 1. ประชุมคณะกรรมการ เพื่อวางแผน เตรียมงานและมอบหมายงานประชาสัมพันธ์เพื่อเชิญชวนผู้ป่วยและผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมวันเบาหวานโลก จัดกิจกรรม วันที่ 12 พ.ย. 63 2. ดำเนินการดูแลโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ พร้อมจัดทำเอกสารให้ความรู้ด้านอาหาร การออกกำลังกาย 3. จัดนิทรรศการความรู้ให้แก่ผู้ป่วยและประชาชนผู้รับบริการ บริเวณ ชั้น 1 อาคารอำนวยการ 4. ผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมดจำนวน 1,421 ราย และมีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลได้ดีตามเกณฑ์จำนวน 327 ราย คิดเป็นร้อยละ 23.01 โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ มีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมด จำนวน 22,539 ราย และผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 10,955 ราย คิดเป็นร้อยละ 46.60
โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ทั้ง 8 แห่ง ได้ดำเนินกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ทั้งในสถานะผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ที่ได้รับการวินิจฉัยโรคเบาหวาน และเป็นผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนรับการรักษากับโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ทั้ง 8 แห่ง ได้รับการติดตาม ให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ตามเกณฑ์ ดังนี้ (1) ค่าระดับ HbA1c ค่าระดับครั้งสุดท้าย น้อยกว่าร้อยละ 7 หรือ (2) ค่าระดับ Fasting Plasma Glucose (FPG) 2 ครั้งสุดท้ายติดต่อกันอยู่ในระดับ 70 -130 มก./ดล. ซึ่งเป็น ค่าระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับการตรวจติดตาม ในคลินิกเบาหวานตามนัด โดยมีผลการดำเนินงานดังนี้ โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ มีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมด จำนวน 12,049 ราย และผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 23,739 ราย คิดเป็นร้อยละ 50.76
โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ทั้ง 8 แห่ง ได้ดำเนินกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ทั้งในสถานะผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ที่ได้รับการวินิจฉัยโรคเบาหวาน และเป็นผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนรับการรักษากับโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ทั้ง 8 แห่ง ได้รับการติดตาม ให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ตามเกณฑ์ ดังนี้ (1) ค่าระดับ HbA1c ค่าระดับครั้งสุดท้าย น้อยกว่าร้อยละ 7 หรือ (2) ค่าระดับ Fasting Plasma Glucose (FPG) 2 ครั้งสุดท้ายติดต่อกันอยู่ในระดับ 70 -130 มก./ดล. ซึ่งเป็น ค่าระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับการตรวจติดตาม ในคลินิกเบาหวานตามนัด โดยมีผลการดำเนินงานดังนี้ โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ มีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมด จำนวน 9,209ราย และผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 19,584 ราย คิดเป็นร้อยละ 47.02
โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ มีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมด จำนวน 75,343 ราย และผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 35,813 ราย คิดเป็นร้อยละ 47.53
ผู้ป่วยเบาหวาน หมายถึง ผู้ป่วยทั้งในสถานะผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ที่ได้รับการวินิจฉัยโรคเบาหวาน และเป็นผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนรับการรักษากับโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ 8 แห่ง ซึ่งมารับการตรวจติดตามในคลินิก ? 2 ครั้งใน 6 เดือน หรือ ? 3 ครั้งใน 1 ปี โดยเป็นโรคที่มีรหัสโรคตาม ICD - 10 TM,ICD-10,ICD - 9 ดังที่ระบุไว้นี้ (E10, E11, E12, E13, E14) 2.เบาหวานที่สามารถควบคุมได้ หมายถึง ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ ดังนี้ (1) ค่าระดับ HbA1c ค่าระดับครั้งสุดท้าย น้อยกว่าร้อยละ 7 หรือ (2) ค่าระดับ Fasting Plasma Glucose (FPG) 2 ครั้งสุดท้ายติดต่อกัน 70-130 มก./ดล. โดยเป็นค่าระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับการตรวจติดตามในคลินิกเบาหวานตามนัด หมายเหตุ ในการตรวจติดตาม อาจใช้ Fasting Capillary Glucose แทน FPG ได้
จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ในปีงบประมาณ หารด้วยจำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมดในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ 8 แห่ง ในปีงบประมาณเดียวกัน คูณด้วย 100
:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
:๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย |
:๑.๖.๑ คนกรุงเทพฯ มีสุขภาวะทางกายและจิต มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ไม่มีภาวะเจ็บป่วยจาก โร% |
:๑.๖.๑.๑ คัดกรองและลดปัจจัยเสี่ยงเชิงพฤติกรรมที่มีผลกระทบต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง |