ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

พัฒนาคุณภาพระบบบริการประชาชนที่เป็นโรคเบาหวาน : 07000000-3614

สำนักการแพทย์ : (2564)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

นางสาวสุมิตรา ชูแก้ว ศูนย์เบาหวานฯ โทร 3615

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 3 100

หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ เช่น โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง อ้วนลงพุง ไขมันในเลือดสูง ยังคงเป็นภัยเงียบคุกคามบั่นทอนคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างไม่รู้ตัว มีภาวะโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงและเรื้อรัง รวมทั้งทวีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและมีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งจากสถิติของโรงพยาบาลสิรินธร พบว่าจำนวนทั้งผู้ป่วยเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และภาวะ NCDs เพิ่มมากขึ้นทุกปี และถือเป็นกลุ่มโรคที่ติดอันดับ 1 ใน ๓ โรคแรกตลอดทุกปี สาเหตุสำคัญจากปัญหาด้านพฤติกรรมการดำรงชีวิต ความรู้เกี่ยวกับภาวะสุขภาพที่สาเหตุจาก ภาวะNCDs โรคเบาหวานความดันโลหิตสูง การดูแลสุขภาพตนเองที่ยังไม่ถูกต้อง ปัญหาสภาพสังคม เศรษฐกิจ รวมถึงปัญหาการเข้าถึงบริการ การคัดกรองภาวะสุขภาพของประชาชนเกี่ยวกับโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงที่ยังไม่ทั่วถึง ซึ่งส่งผลต่อการป้องกันการเจ็บป่วย การเข้าถึงบริการรักษาดูแลล่าช้า ทำให้องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนให้ความสำคัญในการส่งเสริมป้องกัน โดยเฉพาะปัญหาโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งถือเป็นโรคที่มีภัยคุกคามอย่างเงียบ และมีภาวะแทรกซ้อนที่ค่อนข้างรุนแรง ซึ่งการพัฒนาระบบบริการ จัดทำแนวทางการดูแล มีระบบการคัดกรองภาวะสุขภาพเกี่ยวกับความดันโลหิตสูง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง และทำให้ประชาชนสามารถถึงระบบบริการการดูแลได้ง่ายและเพิ่มขึ้น จากสถิติผู้รับบริการผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ 9 แห่ง โรคเบาหวาน เป็นโรคที่มีสถิติผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอกอยู่ในลำดับต้นของผู้รับบริการผู้ป่วยนอกทั้งหมดโดยในปี พ.ศ.2559,2560,2561 มีผู้รับบริการจำนวน 133,599 ครั้ง 144,661 ครั้ง และ 148,572 ครั้ง ตามลำดับ สำนักการแพทย์โดยโรงพยาบาลในสังกัด 9 แห่ง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพระบบบริการประชาชนที่เป็นโรคเบาหวานเพื่อขยายการบริการเชิงรุก ในการส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟู และมีความต่อเนื่องถึงชุมชน เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการดูแลรักษาอย่างมีมาตรฐาน ลดภาวะแทรกซ้อนและความพิการจากโรคเบาหวานได้ ไม่เป็นภาระต่อสังคมและครอบครัว สามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

07060000/07060000

วัตถุประสงค์ของโครงการ

2.1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงได้รับการเฝ้าระวังติดตามและได้รับคำแนะนำตามแนวทางปฏิบัติ 2.2 เพื่อให้ประชาชนป่วยโรคเบาหวานได้รับการประเมินภาวะเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง 2.3 เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพตนเองป้องกันภาวะ การเจ็บป่วยและภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

เป้าหมายของโครงการ

เชิงปริมาณ 1. พัฒนาและจัดทำแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ( CLINICAL GUIDLINE) 2. พัฒนาและจัดทำคู่มือการส่งเสริมและป้องกันโรคเบาหวาน 3. จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในคลินิกอายุรกรรม คลินิกโรคเบาหวาน 4. ประเมินภาวะแทรกซ้อน ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน 5. จัดกิจกรรมวันเบาหวาน โรงพยาบาลในเครือสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เชิงคุณภาพ ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ ร้อยละ 36

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย
๑.๖.๑ คนกรุงเทพฯ มีสุขภาวะทางกายและจิต มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ไม่มีภาวะเจ็บป่วยจาก โร%
๑.๖.๑.๑ คัดกรองและลดปัจจัยเสี่ยงเชิงพฤติกรรมที่มีผลกระทบต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2021-09-21)

100.00

21/09/2564 : โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ทั้ง 8 แห่ง ได้ดำเนินกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ทั้งในสถานะผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ที่ได้รับการวินิจฉัยโรคเบาหวาน และเป็นผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนรับการรักษากับโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ทั้ง 8 แห่ง ได้รับการติดตาม ให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ตามเกณฑ์ ดังนี้ (1) ค่าระดับ HbA1c ค่าระดับครั้งสุดท้าย น้อยกว่าร้อยละ 7 หรือ (2) ค่าระดับ Fasting Plasma Glucose (FPG) 2 ครั้งสุดท้ายติดต่อกันอยู่ในระดับ 70 - 130 มก./ดล. ซึ่งเป็นค่าระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับการตรวจติดตาม ในคลินิกเบาหวานตามนัด โดยมีผลการดำเนินงาน มีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมด จำนวน 75,343 ราย และผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 35,813 ราย คิดเป็นร้อยละ 47.53

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2021-08-23)

90.00

23/08/2564 : สำนักการแพทย์ ขอรายงานความก้าวหน้าของกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพระบบบริการประชาชนที่เป็นโรคเบาหวาน ของส่วนราชการในสังกัดสำนักการแพทย์ ในส่วนที่สำคัญ ดังนี้ 1)โรงพยาบาลกลาง ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ระหว่าง วันที่ 16 ก.ค. - 15 ส.ค. 2564 จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีได้ดีตามเกณฑ์ที่กำหนด เท่ากับ 33 ราย จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมดในช่วงดังกล่าว เท่ากับ 84 ราย คิดเป็นร้อยละ 39.29 โดยคิดเป็นยอดสะสมตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 - วันที่ 15 สิงหาคม 2564 จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีได้ดีตามเกณฑ์ที่กำหนด เท่ากับ 2,023 ราย จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมดในช่วงดังกล่าว เท่ากับ 4,246 ราย คิดเป็นร้อยละ 47.64 2)โรงพยาบาลตากสิน มีการคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยกลุ่มงานเวชศาสตร์ชุมชน และศูนย์เบาหวาน อาคารธนบุรีศรีมหาสมุทร ชั้น 6 โดยเปิดให้บริการวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. 3)โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ดำเนินการดูแลผู้ป่วยเบาหวานให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ ได้อย่างต่อเนื่อง ขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาจัดทำรายงานในไตรมาสที่ 4/64 ต่อไป 4)โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ ให้การดูแลและพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างต่อเนื่อง 5)โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร ติดตามผลการรักษาผ่านทางระบบtelemedicine ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สะดวกในการมาโรงพยาบาล อำนวยความสะดวกในการเจาะเลือดmobile labและให้ญาติมารับยาแทนได้ 6) โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ - ให้สุขศึกษา ระหว่างรอตรวจ ในบางราย - จัดโครงการส่งยาไปรษณีย์ ตามสถานการณ์โควิด - ใช้การรักษาโดยการ Telemed ร่วมด้วย - ให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ 7)โรงพยาบาลสิรินธร เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องมีการปรับแผนเพื่อลดและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อแต่ต้องให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและได้รับการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้ 1. ติดตามเยี่ยมทางโทรศัพท์ตามนัดผู้ป่วย ให้บริการทาง Telemecine และส่งยาทางไปรษณีย์ กรณีผู้ป่วยอาการไม่รุนแรงหรือไม่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง 2. สนับสนุนการเข้าถึงความรู้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูสุขภาพตนเอง จากช่องทางอื่น เช่น ทางเครื่องมือสื่อสาร ความรู้ทางเว็บไซต์ต่างๆ พร้อมให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ ผลการดำเนินการ ตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือด HbA1C ตั้งแต่ 1 ต.ค. 63 – 31 ก.ค. 64 จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 17,961 ราย พบว่า HbA1C ≤ 7 จำนวน 7,935 ราย คิดเป็นร้อยละ 44.18

** ปัญหาของโครงการ :จากสถานการณ์โควิดทำให้ผู้รับบริการมาที่โรงพยาบาลน้อยลง ทำให้ได้รับการแนะนำจากทีมสหสาขาวิชาชีพไม่ทั่วถึง

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2021-07-23)

80.00

23/07/2564 : สำนักการแพทย์ ขอรายงานความก้าวหน้าของกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพระบบบริการประชาชนที่เป็นโรคเบาหวาน ของส่วนราชการในสังกัดสำนักการแพทย์ ในส่วนที่สำคัญ ดังนี้ 1)โรงพยาบาลกลาง ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ระหว่าง วันที่ 16 มิ.ย. - 15 ก.ค. 2564 จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีตามเกณฑ์ที่กำหนด เท่ากับ 42 ราย จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมดในช่วงดังกล่าว เท่ากับ 123 ราย คิดเป็นร้อยละ 34.15 โดยคิดเป็นยอดสะสมตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 - วันที่ 15 กรกฎาคม 2564 จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีได้ดีตามเกณฑ์ที่กำหนด เท่ากับ 1,990 ราย จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมดในช่วงดังกล่าว เท่ากับ 4,162 ราย คิดเป็นร้อยละ 47.81 2)โรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลตากสิน เปิดให้บริการตรวจผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการ ณ ศูนย์เบาหวาน ชั้น 6 อาคารธนบุรีศรีมหาสมุทร โรงพยาบาลตากสิน โดยให้การรักษาและดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างต่อเนื่อง และอยู่ระหว่างจัดเก็บสถิติ เพื่อรายงานข้อมูลผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 4 3)โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ดำเนินการดูแลผู้ป่วยเบาหวานให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ ได้อย่างต่อเนื่อง ข้อมูลไตรมาสที่ 3/64 4)โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ ให้การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานตามมาตรฐานวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 5)โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ ดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้ 6)โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร มีการติดตามการรักษาผ่านทางระบบโทรศัพท์และการให้คำแนะนำกับญาติหรือผู้ดูแลในกรณีผู้ป่วยไม่สามารถเดินทางมารับยาได้ด้วยตัวเองเนื่องจากสถานการณ์โควิด ประชาสัมพันธ์แนะนำบริการจองวัคซีนโควิดในโรงพยาบาลและผ่านระบบsocial ต่างๆ 7)โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ให้บริการตรวจตามนัด ผู้ป่วยคลินิกเบาหวาน ที่มีภาวะแทรกซ้อน แบบ Social distencing ร่วมกับการใช้วิธีตรวจรักษา แบบ Telemedicine 8)โรงพยาบาลสิรินธร เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องมีการปรับแผนเพื่อลดและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อแต่ต้องให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและได้รับการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้ 1. ติดตามเยี่ยมทางโทรศัพท์ตามนัดผู้ป่วย ให้บริการทาง Telemecine และส่งยาทางไปรษณีย์ กรณีผู้ป่วยอาการไม่รุนแรงหรือไม่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง 2. สนับสนุนการเข้าถึงความรู้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูสุขภาพตนเอง จากช่องทางอื่น เช่น ทางเครื่องมือสื่อสาร ความรู้ทางเว็บไซต์ต่างๆ พร้อมให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ ผลการดำเนินการ ตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือด HbA1C ตั้งแต่ 1 ต.ค. 63 – 30 มิ.ย. 64 จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 16,014 ราย พบว่า HbA1C ≤ 7 จำนวน 7,052 ราย คิดเป็นร้อยละ 44.04

** ปัญหาของโครงการ :สถานการณ์โควิด-19 ทำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการมารับบริการเพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อ ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาไม่ต่อเนื่อง และผู้ป่วยเบาหวาน บางรายมีปัญหาเรื่องสภาวะเศรษฐกิจไม่ดี ไม่สามารถเลือกรับประทานอาหารตามคำแนะนำได้ ผู้ป่วยเบาหวานบางรายติดตามข่าวสารทางอินเตอร์เน็ตมากเกินไป ทำให้มีความเชื่อในทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น การดื่มยาสมุนไพรเกินขนาด

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2021-06-23)

70.00

23/06/2564 : สำนักการแพทย์ ขอรายงานความก้าวหน้าของกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพระบบบริการประชาชนที่เป็นโรคเบาหวาน ของส่วนราชการในสังกัดสำนักการแพทย์ ในส่วนที่สำคัญ ดังนี้ 1)โรงพยาบาลกลาง 1.ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ไตรมาส 2 16 ธ.ค. 2563 - 15 มี.ค. 2564 จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีได้ดีตามเกณฑ์ที่กำหนด เท่ากับ 564 ราย จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมดในช่วงดังกล่าว เท่ากับ 1,186 ราย คิดเป็นร้อยละ 47.6 โดยคิดเป็นยอดสะสมตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 - วันที่ 15 มีนาคม 2564 จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีได้ดีตามเกณฑ์ที่กำหนด เท่ากับ 1,820 ราย จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมดในช่วงดังกล่าว เท่ากับ 3,636 ราย คิดเป็นร้อยละ 50.1 2)โรงพยาบาลตากสิน มีการคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยกลุ่มงานเวชศาสตร์ชุมชน และศูนย์เบาหวาน อาคารธนบุรีศรีมหาสมุทร ชั้น 6 โดยเปิดให้บริการวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. 3)โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ดำเนินการดูแลผู้ป่วยเบาหวานให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ ได้อย่างต่อเนื่อง ขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาจัดทำรายงานในไตรมาสที่ 3/64 ต่อไป 4)โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ ใก้การดูแลผู้ป่วยเบาหวานตามมาตรฐานวิชาชีพ 5)โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ ดำเนินการให้บริการตามแผนงานที่วางไว้ 6) โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลหลังให้คำแนะนำ พบนักโภชนาการทุกครั้งที่มาตรวจ ตรวจกับแพทย์อายุกรรรม 7)โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ 1. ดำเนินการจัดส่งยาทางไปรษณีย์ให้ผู้ป่วย ในช่วงภาวะไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระบาด เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยให้ได้รับยาต่อเนื่อง 2. จัดพื้นที่ในคลินิก ทำ social distancing ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติและจำเป็นต้องรอตรวจตามนัด 3. ใช้วิธีการตรวจแบบ NEW Normal วิธีโทรศัพท์ telemedicine 4. ใช้วิธีการเบิกยาให้ผู้ป่วยแทน แบบกึ่ง Drive thru ให้ญาติมาติดต่อรับแทน เช่น ยาอินซูลิน 8)โรงพยาบาลสิรินธร 1. จัดช่องทางส่งเสริมสนับสนุนความรู้ให้แก่ผู้ป่วยตามกลุ่มเป้าหมายให้มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ดังนี้ จัดเข้ากลุ่มส่งเสริมความรู้ทุกวันพฤหัสบดี/ทำสื่อประชาสัมพันธ์ในการส่งเสริมความรู้เรื่องโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผ่าน Social Media 2. ประเมินระดับ HbA1C ในผู้ป่วยตามกลุ่มเป้าหมายในทุกไตรมาส 3. จากการตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือด HbA1C ระยะเวลาตั้งแต่ 1 ต.ค. 63 – 31 พ.ค. 64 พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 14,073 ราย พบว่า HbA1C ≤ 7 จำนวน 6,203 ราย คิดเป็นร้อยละ 44.08

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2021-05-24)

60.00

24/05/2564 : สำนักการแพทย์ ขอรายงานความก้าวหน้าของกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพระบบบริการประชาชนที่เป็นโรคเบาหวาน ของส่วนราชการในสังกัดสำนักการแพทย์ ในส่วนที่สำคัญ ดังนี้ 1)โรงพยาบาลกลาง ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ระหว่าง วันที่ 16 มี.ค. - 15 พ.ค. 2564 จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีได้ดีตามเกณฑ์ที่กำหนด เท่ากับ 49 ราย จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมดในช่วงดังกล่าว เท่ากับ 129 ราย คิดเป็นร้อยละ 37.98 โดยคิดเป็นยอดสะสมตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 - วันที่ 15 พฤษภาคม 2564 จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีได้ดีตามเกณฑ์ที่กำหนด เท่ากับ 1,918 ราย จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมดในช่วงดังกล่าว เท่ากับ 3,921 ราย คิดเป็นร้อยละ 48.92 2)โรงพยาบาลตากสิน การให้ความรู้แก่ผู้เป็นเบาหวาน และญาติตอนเช้า โดยทีมสหวิชาชีพ ตามหลัก AADE71 Self-Care Behaviors และการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิท และการได้รับ vac COVID-19 และอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงาน เพื่อรายงานในไตรมาสที่ 3 ต่อไป 3)โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ดำเนินการดูแลผู้ป่วยเบาหวานให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ ได้อย่างต่อเนื่อง ขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาจัดทำรายงานในไตรมาสที่ 3/64 ต่อไป 4)โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ ให้การดูแลผู้ป่วยเบาหวานอย่างต่อเนื่องตามมาตรฐานวิชาชีพโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ 5)โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ ดำเนินการให้บริการผู้ป่วยตามแผนงานที่วางไว้ 6)โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ OPD ใช้วิธีโทรศัพท์สอบถามอาการเบื้องต้น แบ่งผู้ป่วยเบาหวานที่นัดติดตามอาการเป็น 3 ประเภท1.ให้บริการส่งยาทางไปรษณีย์ ในกลุ่มอาการปกติ 2.ให้ญาติมาติดต่อขอรับยาแทนตรงตามวันนัด เช่น ในกลุ่มที่มียาอินซูลิน 3.กรณีญาติมาติดต่อขอรับยาแทนตามวันนัดไม่ได้ จนท.จะเบิกยามาให้ผู้ป่วยเก็บไว้และมารับภายหลัง ในรูปแบบกึ่ง DRIVE THRU 7)โรงพยาบาลสิรินธร 1. จัดช่องทางส่งเสริมสนับสนุนความรู้ให้แก่ผู้ป่วยตามกลุ่มเป้าหมายให้มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ดังนี้ จัดเข้ากลุ่มส่งเสริมความรู้ทุกวันพฤหัสบดี/ทำสื่อประชาสัมพันธ์ในการส่งเสริมความรู้เรื่องโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผ่าน Social Media 2. ประเมินระดับ HbA1C ในผู้ป่วยตามกลุ่มเป้าหมายในทุกไตรมาส 3. จากการตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือด HbA1C ระยะเวลาตั้งแต่ 1 ต.ค. 63 – 30 เม.ย. 64 พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 12,559 ราย พบว่า HbA1C ≤ 7 จำนวน 5,623 ราย คิดเป็นร้อยละ 44.77

** ปัญหาของโครงการ :ผู้ป่วยบางรายไม่มาตามนัดเนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ได้รับการรักษาไม่ต่อเนื่อง

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 55.00 (2021-04-26)

55.00

สำนักการแพทย์ ขอรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงาน โดยสำนักการแพทย์มีจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีได้ดีตามเกณฑ์ที่กำหนด เท่ากับ 9,350 ราย จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมดในช่วงดังกล่าว เท่ากับ 19,067 ราย คิดเป็นร้อยละ 49. 05 และขอรายงานผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลในสังกัดที่สำคัญ ดังนี้ โรงพยาบาลกลาง 1. ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ระหว่าง วันที่ 16 มี.ค. - 15 เม.ย. 2564 จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีได้ดีตามเกณฑ์ที่กำหนด เท่ากับ 29 ราย จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมดในช่วงดังกล่าว เท่ากับ 156 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.59 โดยคิดเป็นยอดสะสมตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 - วันที่ 15 เมษายน 2564 จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีได้ดีตามเกณฑ์ที่กำหนด เท่ากับ 1,849 ราย จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมดในช่วงดังกล่าว เท่ากับ 3,792 ราย คิดเป็นร้อยละ 48.76 โรงพยาบาลตากสิน การคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยกลุ่มงานเวชศาสตร์ชุมชน และศูนย์เบาหวาน อาคารธนบุรีศรีมหาสมุทร ชั้น 6 โดยเปิดให้บริการวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. และมีการให้คำแนะนำการดูแลตนเองแบบกลุ่ม ให้แก่ผู้ที่รอรับการรักษาในศูนย์เบาหวาน ตอนเช้า เรื่อง "เรียนรู้กับเบาหวาน" 1 ครั้ง/สัปดาห์ โดยสลับกันในทีมสหวิชาชีพ และการดูแลป้องกันการติดเชื้อ Covid-19 โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ดำเนินการดูแลผู้ป่วยเบาหวานให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ ได้อย่างต่อเนื่อง (ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 63 - 31 มี.ค. 64 โรงพยาบาลสิรินธร 1. จัดช่องทางส่งเสริมสนับสนุนความรู้ให้แก่ผู้ป่วยตามกลุ่มเป้าหมายให้มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ดังนี้ 1.1 จัดเข้ากลุ่มส่งเสริมความรู้ทุกวันพฤหัสบดี 1.2 ทำสื่อประชาสัมพันธ์ในการส่งเสริมความรู้โรคเบาหวานความดันโลหิตสูง 1.3 ส่งเสริมเข้าถึงช่องทางเข้าถึงความรู้ในการดูแลสุขภาตนแอง โดยผ่านระบบสารสนเทศ 2. ประเมินระดับ HbA1C ในผู้ป่วยตามกลุ่มเป้าหมายในทุกไตรมาส 3. ตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือด HbA1C ระยะเวลาตั้งแต่ 1 ตุลาคม 25634 – 31 มีนาคม 2564 มีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 10,788 ราย พบว่า HbA1C ≤ 7 จำนวน 4,880 ราย คิดเป็นร้อยละ 45.24 โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ให้การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานตามมาตรฐานวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ ดำเนินการให้บริการประชาชนที่เป็นโรคเบาหวานตามแผนงานที่วางไว้ โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร มีการดำเนินการตามงานที่มอบหมายในไตรมาสแรก พยาบาลให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในผู้ป่วยที่ยังคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ กรณีผลเลือดHbA1Cมากกว่า8 ส่งพบนักโภชนากรทุกรายเพื่อประเมินและแนะนำเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร และพบเภสัชกรเพื่อประเมินการรับประทานยา นักกายภาพบำบัดสอนออกกำลังกายระหว่างรอพบแพทย์ และโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ช่วงสถานการณ์ covid -19 ระบาด เนื่องจาก รพ.ราชพิพัฒน์เป็นโรงพยาบาลสนามจึงทำให้ต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการตรวจผู้ป่วยนอก ลดบุคลากร ลดการสัมผัสผู้ป่วย เน้นการตรวจ Telemed และการส่งยาทางไปรษรณีย์แทน ประเมินให้ตรวจเฉพาะกลุ่ม URGENCYที่มีโอกาสเปลี่ยนเป็น EMERGENCY ถ้าไม่ได้รับการตรวจรักษาจากแพทย์โดยตรง

** ปัญหาของโครงการ :เนื่องจากสถานการณ์โควิท ทำให้การจัดกิจกรรมไม่ได้ และลดปริมาณผู้ป่วยมารับการตรวจรักษาใน รพ ผู้ป่วยบางรายแม้จะให้คำแนะนำในการดูแลตนเองในด้านต่างๆแล้วยังไมาสามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้เกณฑ์ปกติได้ จำเป็นต้องพบนะกโภชนากรบ่อยครั้ง บางรายปฏิเสธการพบนักโภชนากรจากคิดว่าตนเองสามารถควบคุมอาหารได้ จำเป็นต้องให้การแนะนำถึงความจำเป็นในการดูแลตนเองอย่างต่อเนื่องและส่งต่อคลินิคเบาหวานเพื่อพบอายุรกรรม อุปสรรคในการส่งยาทางไปรษณีย์ เรื่องสิทธิ์การรักษาที่มีค่าใช้จ่าย ยาน้ำ ยาแช่เย็น

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2021-03-24)

50.00

24/03/2564 : สำนักการแพทย์ ขอรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงาน โดยสำนักการแพทย์มีจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีได้ดีตามเกณฑ์ที่กำหนด เท่ากับ 8,316 ราย จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมดในช่วงดังกล่าว เท่ากับ 15,729 ราย คิดเป็นร้อยละ 52.87 และขอรายงานผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลในสังกัดที่สำคัญ ดังนี้ โรงพยาบาลกลาง 1.ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ไตรมาส 2 16 ธ.ค. 2563 - 15 มี.ค. 2564 จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีได้ดีตามเกณฑ์ที่กำหนด เท่ากับ 564 ราย จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมดในช่วงดังกล่าว เท่ากับ 1,186 ราย คิดเป็นร้อยละ 47.6 โดยคิดเป็นยอดสะสมตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 - วันที่ 15 มีนาคม 2564 จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีได้ดีตามเกณฑ์ที่กำหนด เท่ากับ 1,820 ราย จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมดในช่วงดังกล่าว เท่ากับ 3,636 ราย คิดเป็นร้อยละ 50.1 โรงพยาบาลตากสิน มีการคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยกลุ่มงานเวชศาสตร์ชุมชน และศูนย์เบาหวาน อาคารธนบุรีศรีมหาสมุทร ชั้น 6 โดยเปิดให้บริการวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. และศูนย์เบาหวานมีการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1.การจัดกิจกรรม การเรียนรู้อยู่กับเบาหวาน ในผู้ป่วยที่เข้ารอรับการตรวจรักษา 2. การแจกสมุดเบาหวาน แก่ผู้เป็นเบาหวาน 3. การกำหนดแนวทางส่งศูนย์เบาหวาน 4. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบบูรณาการ ภายในการอบรมได้มีการบรรยายในหัวข้อต่างๆถึงการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานและมีการฝึกทำบททดสอบแบบปฏิบัติการเพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้พัฒนาศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานมากขึ้น การอบรมจัดขึ้น เมื่อวันที่ 8 - 9 มีนาคม พ.ศ. 2564 ณ ห้องประชุมสุขสมปอง ชั้น 20 อาคารธนบุรีศรีมหาสมุทร โดยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 3,878 ราย จากผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารรับบริการทั้งหมด จำนวน 6,607 ราย คิดเป็นร้อยละ 58.70 โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ อยู่ระหว่างดำเนินการให้บริการประชาชนที่เป็นโรคเบาหวานอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาจัดทำสถิติ ในไตรมาสที่ 2 ต่อไป โรงพยาบาลสิรินธร มีการดำเนินการดังนี้ 1. จัดช่องทางส่งเสริมสนับสนุนความรู้ให้แก่ผู้ป่วยตามกลุ่มเป้าหมายให้มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ดังนี้ 1.1 จัดเข้ากลุ่มส่งเสริมความรู้ทุกวันพฤหัสบดี 1.2 ทำสื่อประชาสัมพันธ์ในการส่งเสริมความรู้โรคเบาหวานความดันโลหิตสูง 1.3 ส่งเสริมเข้าถึงช่องทางเข้าถึงความรู้ในการดูแลสุขภาตนแอง โดยผ่านระบบสารสนเทศ 2. ประเมินระดับ HbA1C ในผู้ป่วยตามกลุ่มเป้าหมายในทุกไตรมาส โดยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 607 ราย จากผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารรับบริการทั้งหมด จำนวน 1,743 ราย คิดเป็นร้อยละ 41.21 โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ มีการให้บริการดูแลผู้ป่วยเบาหวานตามมาตรฐานวิชาชีพ โดยทีมสหสาขาวิชาชีพและให้บริการคลินิคเบาหวานความเสี่ยงสูงทุกวันพฤหัสบดี 08.00 - 12.00 น. โดยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 451 ราย จากผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารรับบริการทั้งหมด จำนวน 1,108 ราย คิดเป็นร้อยละ 40.70 โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ มีการดำเนินการพัฒนาคุณภาพระบบบริการประชาชนที่เป็นโรคเบาหวานให้ได้รับการดูแลรักษาแบบครบวงจร โดยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 541 ราย จากผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารรับบริการทั้งหมด จำนวน 986 ราย คิดเป็นร้อยละ 54.87 โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร มีการดำเนินการตามงานที่ได้มอบหมายในไตรมาสแรก พยาบาลให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัว กรณีผลเลือดHbA1C มากกว่า 8 พบนักโภชนากรประเมิรและแนะนำการรับประทานอาหาร พบเภสัชกรเพื่อประเมินการรับประทานยา นักกายภาพบำบัดสอนออกกำลังกายขณะรอตรวจ โดยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 243 ราย จากผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารรับบริการทั้งหมด จำนวน 506 ราย คิดเป็นร้อยละ 48.02 และโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ มีการดำเนินการดูแลให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีปัญหา bed ridden และมีปัญหาเกี่ยวกับ care giver ให้ได้เข้าโครงการ Mobile lab และ Telemedicine โดยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 776 ราย จากผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารรับบริการทั้งหมด จำนวน 1,413 ราย คิดเป็นร้อยละ 54.92

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 35.00 (2021-02-23)

35.00

23/02/2564 : สำนักการแพทย์ ขอรายงานความก้าวหน้าของกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพระบบบริการประชาชนที่เป็นโรคเบาหวาน ของส่วนราชการในสังกัดสำนักการแพทย์ ในส่วนที่สำคัญ ดังนี้ 1) โรงพยาบาลกลาง ดำเนินการบริการประชาชนที่เป็นโรคเบาหวานอย่างต่อเนื่อง 2) โรงพยาบาลตากสิน เปิดให้บริการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างต่อเนื่อง ณ ศูนย์เบาหวาน ชั้น 6 อาคารธนบุรีศรีมหาสมุทร โรงพยาบาลตากสิน โดยมีกิจกรรมสอนผู้ป่วยที่รอรับการตรวจรักษาที่ศูนย์เบาหวาน ทุกวันอังคาร และศุกร์ สัปดาห์ละวัน 3) โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ดำเนินการบริการประชาชนที่เป็นโรคเบาหวานอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาจัดทำสถิติ ในไตรมาสที่ 2 ต่อไป 4) โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ ให้บริการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานตามมาตรฐานวิชาชีพโดยคัดกรองภาวะแทรกซ้อนประจำปี และให้ความรู้โดยทีมสหสาขาวิชาชีพในผู้ป่วยเบาหวานกลุ่ม Poor control นัดเข้าบคลินิคโรคเบาหวาน ซึ่งเปิดให้บริการทุกวันพฤหัสบดี 8.00 - 12.00น. 5) โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร มีการจัดกลุ่มให้ความรู้เรื่องการปฏิบัติตัว การรับประทานอาหารในผู้ป่วยที่มีผลตรวจ HbA1C >8mg% พบนักโภชนาการทุกราย ผู้ป่วยรายใหม่พบพยาบาลดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังทุกราย 6) โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ตา ไต เท้า และนิเทศเรื่องการสอนฉีดยาด้วยปากกาอินซูลินให้พยาบาล OPD เนื่องจากมีผู้ป่วยรายใหม่ที่ย้ายมาจากสถานพยาบาลอื่น มารักษาต่อที่โรงพยาบาล และเริ่มใช้ปากกาอินซูลินครั้งแรกเป็นจำนวนมาก และ 7) มีการดำเนินการให้บริการผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ตามมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2021-01-25)

30.00

25/01/2564 : สำนักการแพทย์ ขอรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ ดังนี้ โรงพยาบาลกลาง อยู่ระหว่างดำเนินการ 1. ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี 1 ต.ค.- 15 ม.ค. 2564 จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีได้ดีตามเกณฑ์ที่กำหนด เท่ากับ 1,569 ราย จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมด เท่ากับ 3110 ราย คิดเป็นร้อยละ 47.42 โรงพยาบาลตากสิน อยู่ระหว่างดำเนินการต่างๆ โดยแบ่งออกเป็น 5 กิจกรรม ดังนี้ 1. พัฒนาและจัดทำแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความก้าวหน้า ร้อยละ 50 1.1 ปรับ CPG:Hypoglycemia เริ่มปรับใหม่ 26 พ.ย. 63 1.2 แบบฟอร์มการลงบันทึกทางการพยาบาลในศูนย์เบาหวาน ปรับใหม่รอลงเลข fm 1.3 แบบฟอร์มการส่งปรึกษา และรับบริการในศูนย์เบาหวาน ส่งให้หน่วยงานและหอผู้ป่วยทดลองใช้ เริ่ม 19 พ.ย. 63 1.4 แนวทางการเข้าถึงการรักษาในคลินิกผู้ป่วยนอกสำหรับผู้เป็นเบาหวาน จัดทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างรอรวบรวมเล่ม 2. พัฒนาและจัดทำคู่มือการส่งเสริมและป้องกันโรคเบาหวาน อยู่ในขั้นตอนการปรับคู่มือ ความก้าวหน้า ร้อยละ 30 3. จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้ความรู้การอยู่กับเบาหวานโดยทีมสหวิชาชีพแก่ผู้มารับบริการที่ศูนย์เบาหวาน ที่ศูนย์เบาหวาน สัปดาห์ละครั้ง สลับวันอังคาร และวันพุธ ในเดือนหน้าจะเพิ่มวันศุกร์ด้วย ความก้าวหน้า ร้อยละ 40 4. ประเมินภาวะแทรกซ้อน ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตรวจเท้า Foot exam, ส่งตรวจ DR Lab ชุด DM ประจำปี ความก้าวหน้า ร้อยละ 40 5. วันเบาหวานโลก จัดกิจกรรมวันที่ 5 พ.ย. 63 เสร็จสิ้นแล้ว โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 155 ราย ความพึงพอใจในกิจกรรมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 90.67 โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ดำเนินการบริการประชาชนที่เป็นโรคเบาหวานอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาจัดทำสถิติ ต่อไป โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ ดำเนินการให้การดูแลคัดกรองภาวะแทรกซ้อนตามมาตรฐาน และให้ความรู้แก่ผป.เป็นรายบุคคลในกรณีมีความเสี่ยงสูง poor control โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ ดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติ เป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร ดำเนินการจัดกลุ่มผู้ป่วยที่HbA1C>8 ส่งพบโภชนากรทุกราย เพื่อแนะนำการรับประทานอาหาร และผู้ป่วยที่HbA1C>10ติดต่อกัน2ครั้ง มีการติดตามเยี่ยมบ้านเพื่อประเมินปัญหาร่วมกันกับทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ มีการดำเนินการตรวจรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน แต่ปัจจุบัน พบปัญหาการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ส่งผลผู้ป่วยบางรายไม่ได้มาตรวจตามนัด คลินิกเปิดช่องทางให้ญาติที่สุขภาพแข็งแรงมารับยาแทนตามนัด และ บางรายแพทย์พิจารณาเลือกกลุ่มผู้ป่วยที่สามารถให้ทาง รพ. ส่งยาให้ทางไปรษณีย์ โรงพยาบาลสิรินธร มีการดำเนินการ ดังนี้ 1. ประชุมคณะกรรมการเรื่องการดำเนินการดูแลผู้ป่วย และเพื่อรายงานยอดในช่วงไตรมาสที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไรบ้าง 2. สอนสุขศึกษาแบบกลุ่มโดย แพทย์,พยาบาล,นักกายภาพที่แผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรม ขณะรอตรวจ 3. ให้การดูแลผู้ป่วยตามมาตรฐานอย่างต่อเนื่องและเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อดำเนินการรายงานผลตามไตรมาส

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2020-12-25)

25.00

25/12/2563 : สำนักการแพทย์ขอรายงานความก้าวหน้าประจำเดือน ธันวาคม 2563 โดยโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ อยู่ระหว่างขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้ 1) โรงพยาบาลกลาง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่มารับบริการในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ ณ OPD อายุรกรรมทั่วไป ชั้น 2 อาคารอนุสรณ์ 100 ปี ให้บริการ จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 - 12.00 น. และเมื่อวันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563 นายแพทย์สมเกียรติ อัศวโรจน์พงษ์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาล ฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลกลาง เป็นประธานเปิดงาน วันเบาหวานโลก “พยาบาลกับเบาหวาน” พร้อมด้วยคณะผู้บริหารโรงพยาบาลกลาง บุคลากร และประชาชนร่วมงาน ในงานมีกิจกรรม คัดกรองเบาหวาน ตรวจวัดระดับน้ำตาล ตรวจวัดระดับไขมันในร่างกาย ให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคเบาหวาน การนับคาร์โบไฮเดรต และรู้ทันฉลากโภชนาการ สาธิตการทำอาหารว่างสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ตอบคำถามชิงรางวัล โดยทีมงานเบาหวาน โรงพยาบาลกลาง และร่วมกันเต้นบริหารร่างกาย โดยกิจกรรมทั้งหมดฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ตั้งแต่เวลา 08.30 - 14.00 น. ณ บริเวณโถงหน้าลิฟต์ ชั้น 1 อาคารอนุสรณ์ 100 ปี โรงพยาบาลกลาง 2) โรงพยาบาลตากสิน เปิดให้บริการให้ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการ ณ ศูนย์เบาหวาน อาคารธนบุรีศรีมหาสมุทร ชั้น 6 และ มีกิจกรรม การให้ความรู้ "เรียนรู้ อยู่กับเบาหวาน" โดยให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติ ขณะรอคอยรับการตรวจรักษาในวันอังคาร และวันศุกร์ 3) โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ให้บริการผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ณ คลินิกอายุรกรรม (ศูนย์เบาหวาน) ชั้น 2 อาคารอนุสรณ์ 20 ปี ในวันราชการ จันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00-11.00 น. 4) โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ ดำเนินการให้บริการแก่ผู้ป่วยเบาหวานตามแนวทางที่วางไว้ 5) โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ มีการดำเนินการดังนี้ 1. ให้บริการตรวจคัดกรองวันจันทร์-ศุกร์เวลา 8.00 น. - 16.00 น. บริเวณจุดคัดกรอง อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 1 เพื่อคัดกรองภาวะกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน และร่วมมือกับหน่วยงานอื่นในการตรวจคัดกรองเมื่อมีการจัดกิจกรรมต่างๆ ในโรงพยาบาล เมื่อวันที่ 21 ต.ค 63 จัดงานวันพยาบาลสากล มีการให้บริการคัดกรองภาวะกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานแก่ประชาชน และเมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2563 จัดกิจกรรมงานเบาหวานโรค เป็นนิทรรศการบอร์ดให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อน กิจกรรมให้ความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยารักษาและการตระหนักในภาวะแทรกซ้อน 2. เมื่อพบผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน รีบให้คำแนะนำและให้ได้รับการดูแลรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก 3. ทบทวนเกณฑ์การรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะความเสี่ยงสูงเพื่อนัดพบแพทย์เฉพาะทางอายุรกรรมโรคเบาหวาน 4. ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาตามมาตรฐาน และได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนตา ไต เท้า อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 5. ประสานงานกับนักกายภาพมาช่วยดูแลการตรวจสุขภาพเท้าและแนะนำการออกกำลังกายบริหารเท้า 6. ประสานในทีมสหสาขาวิชาชีพด้านโภชนาการในการส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 6) โรงพยาบาลสิรินธร อยู่ระหว่าง 1. ประชุมคณะกรรมการ เพื่อวางแผน เตรียมงานและมอบหมายงานประชาสัมพันธ์เพื่อเชิญชวนผู้ป่วยและผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมวันเบาหวานโลก จัดกิจกรรม วันที่ 12 พ.ย. 63 2. ดำเนินการดูแลโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ พร้อมจัดทำเอกสารให้ความรู้ด้านอาหาร การออกกำลังกาย 3. จัดนิทรรศการความรู้ให้แก่ผู้ป่วยและประชาชนผู้รับบริการ บริเวณ ชั้น 1 อาคารอำนวยการ 7) โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ดำเนินการจัดกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในคลินิกเบาหวานในโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ และดำเนินการให้การดูแลโดยทีมสหสาขาวิชาชีพคัดกรองภาวะแทรกซ้อนประจำปี 8) โรงพยาบาลลาดกระบัง คลินิกเบาหวานโรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการในวันพุธและศุกร์ เวลา 07.00-12.00น. โดยมีการจัดทำเอกสารให้ความรู้ในการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย การรับประทานยา ให้ทันสมัยและครอบคลุมมากขึ้น วางแผนการตรวจระดับน้ำตาล ตรวจภาวะแทรกซ้อน การให้ความรู้ในผู้ป่วยรายใหม่ การติดตามเยี่ยมบ้านในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2020-11-26)

10.00

26/11/2563 : สำนักการแพทย์ขอรายงานความก้าวหน้าประจำเดือน พฤศจิกายน 2563 จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด 3207 ราย และ จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมดในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ 8 แห่ง ในปีงบประมาณเดียวกัน 6442 ราย โดยโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ อยู่ระหว่างขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้ 1) โรงพยาบาลกลาง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่มารับบริการในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ ณ OPD อายุรกรรมทั่วไป ชั้น 2 อาคารอนุสรณ์ 100 ปี ให้บริการ จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 - 12.00 น.2) โรงพยาบาลตากสิน เปิดให้บริการให้ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการ ณ ศูนย์เบาหวาน อาคารธนบุรีศรีมหาสมุทร ชั้น 6 1. พัฒนาและจัดทำแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน 1.1 ปรับ CPG:Hypoglycemia เริ่มปรับใหม่ 26 พ.ย. 63 1.2 แบบฟอร์มการลงบันทึกทางการพยาบาลในศูนย์เบาหวาน ปรับใหม่รอลงเลข fm 1.3 แบบฟอร์มการส่งปรึกษา และรับบริการในศูนย์เบาหวาน ส่งให้หน่วยงานและหอผู้ป่วยทดลองใช้ เริ่ม 19 พ.ย. 63 1.4 แนวทางการเข้าถึงการรักษาในคลินิกผู้ป่วยนอกสำหรับผู้เป็นเบาหวาน อยู่ในระหว่างจัดทำ 2. พัฒนาและจัดทำคู่มือการส่งเสริมและป้องกันโรคเบาหวาน อยู่ในขั้นตอนการปรับคู่มือ 3. จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้ความรู้การอยู่กับเบาหวานโดยทีมสหวิชาชีพแก่ผู้มารับบริการที่ศูนย์เบาหวาน ที่ศูนย์ เบาหวาน สัปดาห์ละครั้ง สลับวันอังคาร และวันพุธ ในเดือนหน้าจะเพิ่มวันศุกร์ด้วย 4. ประเมินภาวะแทรกซ้อน ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตรวจเท้า Foot exam, Lab ชุด DM ประจำปี ส่งตรวจ DR 5. วันเบาหวานโลก จัดกิจกรรมวันที่ 5 พ.ย. 63 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 155 ราย ความพึงพอใจในกิจจกรมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 90.67 3) โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ให้บริการผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ณ คลินิกอายุรกรรม (ศูนย์เบาหวาน) ชั้น 2 อาคารอนุสรณ์ 20 ปี ในวันราชการ จันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00-11.00 น. 4) โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ อยู่ระหว่างขั้นตอน จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อผู้บริหาร 5) โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ อยู่ระหว่างการเตรียมจัดประชุมแบ่งตัวชี้วัดแผนปฏิบัติราชการ 2564 6) โรงพยาบาลสิรินธร อยู่ระหว่างการประชุมเพื่อจัดผู้รับผิดชอบให้เหมาะสมกับตัวชี้วัด และการจัดทำโครงการ/กิจกรรมที่เหมาะสมต่อตัวชี้วัด 7) โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ดำเนินการจัดกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในคลินิกเบาหวานในโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ 8) โรงพยาบาลลาดกระบัง มีการประชุมคณะกรรมการ มอบหมายงานผู้รับผิดชอบในการรายงานตามไตรมาส มีการวางแผนในการดำเนินการโครงการให้ความรู้เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของทีสหสาขาวิชาชีพ เพื่อความเหมาะสมในการปฏิบัติงาน วางแผนการจัดทำเอกสารในการบันทึกข้อมูลผู้ป่วยเบาหวาน ณ คลินิกเบาหวานโรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการในวันพุธและศุกร์ เวลา 07.00-12.00น.

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(12) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2020-10-30)

5.00

30/10/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน1.พัฒนาและจัดทำแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ( CLINICAL GUIDLINE) 1.1 ปรับ CPG: Hypoglycemia โดยจะเริ่มปรับใหม่ วันที่ 26 พ.ย. 63 มีความก้าวหน้าคิดเป็น ร้อยละ 20 2.พัฒนาและจัดทำคู่มือการส่งเสริมและป้องกันโรคเบาหวาน โดยอยู่ในขั้นตอนการปรับคู่มือ มีความก้าวหน้าคิดเป็น ร้อยละ 20 3.จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในคลินิกอายุรกรรม คลินิกโรคเบาหวาน ในศูนย์เบาหวาน สัปดาห์ละครั้ง สลับวันอังคาร และพุธในเดือนหน้าจะเพิ่มวันศุกร์ มีความก้าวหน้าคิดเป็น ร้อยละ 25 4.ประเมินภาวะแทรกซ้อน ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยการ ตรวจเท้า Foot exam, Lab ชุด DM ประจำปี ส่งตรวจ DR มีความก้าวหน้าคิดเป็น ร้อยละ 20 5.โครงการวันเบาหวานโลก โดยอยู่ในระหว่างประชุมคณะกรรมการแล้วโครงได้รับการอนุมัติแล้ว รอจัดกิจกรรมวันที่ 5 พฤศจิกายน 2563 มีความก้าวหน้าคิดเป็น ร้อยละ 60

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:จัดทำกิจกรรมและขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อขออนุมัติจากผู้บริหาร
:10.00%
เริ่มต้น :2020-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:ประชุมคณะทำงานเพื่อหาแนวทางการดำเนินงาน และมอบหมายหน้าที่ผู้รับผิดชอบ
:10.00%
เริ่มต้น :2020-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:ดำเนินการจัดกิจกรรมตามแผนงานที่กำหนดไว้
:50.00%
เริ่มต้น :2020-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:สรุป ประเมินผล และติดตามตัวชี้วัดของการดำเนินงาน ปัญหา และอุปสรรคเป็นระยะ ๆ และประชุมร่วมกันเพื่อหาแนวทางแก้ไข ตลอดจนประเมินผลในภาพรวม และสรุปผลการดำเนินงาน ทุกรายไตรมาส
:15.00%
เริ่มต้น :2020-12-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-12-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:สรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมนำเรียนผู้บริหาร
:15.00%
เริ่มต้น :2021-09-01 00:00:00
สิ้นสุด :2021-09-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 07000000-3614

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 07000000-3614

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 0700-824

ตัวชี้วัด : ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 36

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 47.53

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
46.60

100 / 100
2
50.76

0 / 0
3
47.02

0 / 0
4
47.53

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **