ค่าเป้าหมาย ≥ร้อยละ : 88
ผลงานที่ทำได้ ≥ร้อยละ : 88.7
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
อัตราความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ร้อยละ 84.85 ผลการดำเนินงานมีดังนี้ 1. โรงพยาบาลกลาง อยู่ระหว่างเตรียมประชุมคณะกรรมการพัฒนาการรักษาวัณโรคของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ เพื่อปรึกษา หารือ แนวทางการดำเนินงาน โดยโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ดำเนินการในคลินิกวัณโรค ดำเนินการระบบการรักษาวัณโรคของโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง และดำเนินการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล 2. โรงพยาบาลตากสิน คลินิกวัณโรค เปิดบริการวัน จ-ศ เวลา 8.00 – 16.00 น. - ให้การรักษาขึ้นทะเบียนผู้ป่วยวัณโรคทุกประเภท - มีแพทย์เฉพาะทางด้านปอด 2 ท่าน และแพทย์อายุรกรรม 1 ท่าน - ให้บริการแบบ one stop service และ บริการจ่ายยา Dot ตามนัดมากกว่า 2 สัปดาห์ - รับปรึกษาระหว่างแผนกทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในทุกวัน - ประสานส่งต่อผู้ป่วยวัณโรคไปรักษาต่อศูนย์บริการสาธารณสุข และ สถานพยาบาลตามสิทธิ์ 3.โรงพยาบาลเจริญกรุงฯ ดำเนินการระบบการรักษาวัณโรคของ รพ. อย่างต่อเนื่อง ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล 4.โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ฯ 1.คลินิควัณโรค เปิดให้บริการแบบ one stop service ทุกวันพุธ เวลา 13:00-16:00น. โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ 2.ให้ความรู้วิธีการปฏิบัติตัวกับผู้ป่วยวัณโรค ผู้ป่วยที่นำมาประเมิน ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 16 ราย ผลการรักษา รักษาหายและครบ (Cure+Complete) จำนวน 14 ราย คิดเป็นร้อยละ 87.50 5.โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ ดำเนินกา่รประชุมคณะกรรมการวัณโรคเพื่อวางแนวแผนการดำเนินงาน 6.โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร เปิดคลินิกรักษาวัณโรคทุกวันศุกร์เวลา 13.00น.-16.00น. เว้นวันหยุดราชการ ให้การบริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ไตรมาสแรกได้มีการประชุมทีม เพื่อวางแผนการดำเนินงาน การดูแลผู้ป่วยวัณโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยที่นำมาประเมิน ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 7 ราย ผลการรักษา รักษาหายและครบ (Cure+Complete) จำนวน 7 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 7.โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ผู้ป่วยที่นำมาประเมิน ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 11 ราย ผลการรักษา รักษาหายและครบ (Cure+Complete) จำนวน 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 90.91 8.โรงพยาบาลสิรินธร ผู้ป่วยที่นำมาประเมิน ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 32 ราย ผลการรักษา รักษาหายและครบ (Cure+Complete) จำนวน 25 ราย คิดเป็นร้อยละ 78.13
อัตราผลสำเร็จในการรักษา (Success Rate) ของโรงพยาบาลในสังกัด ทั้ง 8 แห่งในภาพรวมเท่ากับร้อยละ 91.86 ดังนี้ ผู้ป่วยที่นำมาประเมิน ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 172 ราย ผลการรักษา รักษาหายและครบ (Cure+Complete) จำนวน 158 ราย คิดเป็นร้อยละ 91.86
อัตราผลสำเร็จในการรักษา (Success Rate) ของโรงพยาบาลในสังกัด ทั้ง 8 แห่งในภาพรวมเท่ากับร้อยละ 81.66 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – มิถุนายน 2564 ดังนี้ ผู้ป่วยที่นำมาประเมิน ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 616 ราย ผลการรักษา รักษาหายและครบ (Cure+Complete) จำนวน 503 ราย คิดเป็นร้อยละ 81.66
อัตราผลสำเร็จในการรักษา (Success Rate) ของโรงพยาบาลในสังกัด ทั้ง 8 แห่ง ในภาพรวมเท่ากับร้อยละ 88.70 ดังนี้ ผู้ป่วยที่นำมาประเมิน ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 903 ราย ผลการรักษา รักษาหายและครบ (Cure+Complete) จำนวน 801 ราย คิดเป็นร้อยละ 88.70
1. ความสำเร็จการรักษา หมายถึง ผู้ป่วย วัณโรคที่มีผลการรักษาหายรวมกับรักษาครบ 1.1 รักษาหาย (Cured) หมายถึง ผู้ป่วย วัณโรคปอดที่มีผลตรวจพบเชื้อวัณโรคทางห้องปฏิบัติการยืนยันเมื่อเริ่มการรักษาและต่อมาตรวจไม่พบเชื้อวัณโรคทางห้องปฏิบัติการ อย่างน้อยหนึ่งครั้งก่อนสิ้นสุดการรักษาและในเดือนสุดท้ายของ การรักษา 1.2 รักษาครบ (Treatment Completed) หมายถึง ผู้ป่วยวัณโรคที่รักษาครบกำหนดโดยไม่มีหลักฐานที่แสดงว่าการรักษาล้มเหลว ซึ่งผู้ป่วยดังกล่าวไม่มีเอกสารที่แสดงผล การตรวจเสมหะในเดือนสุดท้ายของการรักษา ทั้งนี้มีผลตรวจเสมหะอย่างน้อยหนึ่งครั้งก่อน สิ้นสุดการรักษา เป็นลบรวมทั้งผู้ป่วยที่ไม่ได้ตรวจหรือไม่มีผลตรวจ 2. ผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ หมายถึง ผู้ป่วยที่ไม่เคยรักษาวัณโรคมาก่อนและผู้ป่วยที่รักษา วัณโรคน้อยกว่า 1 เดือน และไม่เคยขึ้นทะเบียนในแผนงานวัณโรคแห่งชาติแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 2.1 ผู้ป่วยที่มีผลตรวจยืนยันพบเชื้อ (Bacteriologically confirmed: B+) หมายถึง ผู้ป่วยที่มีผลตรวจเสมหะเป็นบวก อาจจะเป็นการตรวจด้วยวิธี Smear microscopy หรือ culture หรือวิธี Molecular หรือ วิธีการอื่นๆที่องค์การอนามัยโลกรับรอง 2.2 ผู้ป่วยที่วินิจฉัยด้วยลักษณะทางคลินิก (Clinically diagnosed: B - ) หมายถึง ผู้ป่วยที่มีผลตรวจเสมหะเป็นลบ แต่ทำการวินิจฉัยด้วยวิธีการตรวจเอ็กซเรย์รังสีทรวงอก หรือมีลักษณะทางคลินิกเข้าได้กับวัณโรค
อัตราผลสำเร็จในการรักษา เท่ากับจำนวนผู้ป่วยที่รักษาหาย (ผู้ป่วยใหม่เสมหะบวก) รวมกับจำนวนผู้ป่วยที่รักษาครบ (ผู้ป่วยใหม่เสมหะบวก) ที่ขึ้นทะเบียนรักษาตั้งแต่รอบที่ 1-4 /2563 ในโรงพยาบาล 8 แห่ง หารด้วย จำนวนผู้ป่วยใหม่เสมหะบวกที่ขึ้นทะเบียนทั้งหมดในโรงพยาบาล 8 แห่ง ในรอบดังกล่าว คูณด้วย 100
:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
:๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย |
:๑.๖.๒ โรคติดต่อที่สำคัญในเมืองได้รับการเฝ้าระวังและควบคุมไม่ให้ระบาดไปในวงกว้าง% |
:๑.๖.๒.๒ ค้นหาและรักษาผู้ป่วยวัณโรคให้หายขาด |