ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
นางวนิดา ว่องทรง โทร.02-220-8000 ต่อ 10270,10210
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 3
วัณโรคถือเป็นปัญหาที่สำคัญของระบบสาธารณสุขของประเทศไทยและในระดับโลก สถานการณ์วัณโรคของโลกในปัจจุบัน จากรายงานขององค์การอนามัยโลกพบว่า ๑ ใน ๓ ของประชากรทั่วโลกติดเชื้อวัณโรค โดยมีความชุกของผู้ป่วยวัณโรคประมาณ ๑๔ – ๑๕ ล้านคนแต่ละปีมีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ ๙.๒ ล้านคน ร้อยละ ๙๕ อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา สำหรับสถานการณ์วัณโรคในประเทศไทยองค์การอนามัยโลกจัดให้อยู่ ๑ ใน ๑๔ ประเทศที่มีปัญหาวัณโรครุนแรงเนื่องจากพบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ปีละ ๑๒๐,๐๐๐ ราย ผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิตมากกว่า ๑๒,๐๐๐ รายต่อปี ผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานมากกว่า ๔๗,๐๐๐ รายต่อปี ซึ่งมากกว่าร้อยละ ๕o ของผู้ป่วยวัณโรคอาศัยอยู่ในเขตเมืองใหญ่ซึ่งมีจำนวนประชากรมากแออัดมีการเคลื่อนย้ายของประชากรสูง ปัญหาวัณโรคในเขตกรุงเทพมหานครมีความคล้ายคลึงกับเมืองขนาดใหญ่ทั่วโลกโดยพบว่าในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีผู้ป่วยวัณโรคประมาณ ๑๒,๐๐๐ รายต่อปีนอกจากนี้ยังพบว่ามีผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มแรงงานข้ามชาติเพิ่มขึ้นซึ่งมีการเคลื่อนย้ายที่อยู่บ่อยเป็นปัจจัยเสี่ยงทางพฤติกรรมที่มีผลต่อการควบคุมวัณโรควัณโรคปอด การติดต่อของโรคมักจะรับเชื้อเข้าไปในปอดโดยตรงจากการหายใจ การไอ การจาม หรือการพูดคุยกับผู้ป่วยวัณโรค ดังนั้นผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี นอกจากจะเป็นผลเสียต่อสุขภาพแล้ว ยังสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ การแพร่กระจายเชื้อมักจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากผู้ป่วยบางส่วนยังไม่ทราบว่าตนเองติดเชื้อวัณโรคและยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการรักษา ปัจจุบันพบการติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่นโรคเอดส์โรคเบาหวานและโรคเรื้อรังอื่นๆ และปัญหาการดื้อยาในผู้ป่วยวัณโรคก็เพิ่มจำนวนสูงขึ้นข้อจำกัดสำคัญของการแก้ไขปัญหาวัณโรคของประเทศไทย คือ ขีดความสามารถในการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในประชากรกลุ่มเสี่ยงต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ป่วยวัณโรคที่เข้าสู่ระบบบริการเพียงร้อยละ 60 เท่านั้น นอกจากนี้ปัญหาด้านภาระค่าใช้จ่ายในผู้ป่วยวัณโรคดื้อยารุนแรงมีมูลค่าสูงถึงประมาณ 1.2 ล้านบาทต่อคน จึงมีความจำเป็นต้องเร่งรัดมาตรการสำคัญเพื่อตัดวงจรการระบาดในประชากรกลุ่มเสี่ยง และยุติปัญหาวัณโรค
07050000/07050000
2.1 เพื่อค้นหาและรักษาผู้ป่วยได้ทันท่วงที 2.2 เพื่อลดอัตราผู้ป่วยวัณโรค
3.1 ค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มเสี่ยงที่อยู่ร่วมบ้านกับผู้ป่วย ผู้ที่มีอาการไอเรื้อรังเกิน 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยเอชไอวี ผู้สูงอายุ 3.2 ผลสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรค ร้อยละ 86
ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย |
๑.๖.๒ โรคติดต่อที่สำคัญในเมืองได้รับการเฝ้าระวังและควบคุมไม่ให้ระบาดไปในวงกว้าง% |
๑.๖.๒.๒ ค้นหาและรักษาผู้ป่วยวัณโรคให้หายขาด |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2021-09-21)
21/09/2564 : - มีคลินิกโรคปอดสัปดาห์ละ 2 วัน ให้การปรึกษาและคำแนะนำแก่ผู้ป่วยและผู้ดูแลทุกราย จัดห้องตรวจแยกจากผู้ป่วยทั่วไป ลดขั้นตอนการติดต่อของผู้ป่วย มีระบบการส่งตรวจเสมหะ และการค้นหาผู้ป่วยที่มีเชื้อดื้อยา ระบบการตรวจคัดกรองค้นหาผู้ป่วยสงสัยวัณโรค (Fast track screening) และมีการติดตามผู้ป่วยให้รับการรักษาเร็วขึ้น มีระบบนัดและระบบการแจ้งเตือนวันนัด - ประสานความร่วมมือกับภาคเอกชน NGO ในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคไร้บ้านให้สามารถรับยาได้ต่อเนื่อง - พัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อไปรับยาต่อเนื่อง โดยใช้บริการ Referral Center for TB ของสำนักอนามัย - ติดตามผู้ป่วยและประสานงานงานผ่านระบบ Referral เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถรับยาได้อย่างต่อเนื่อง ในช่วง สถานการณ์ COVID -19 - โดยสรุปข้อมูลไตรมาส 4 จำนวนผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ที่ขึ้นทะเบียนรักษา โรงพยาบาลกลาง ดำเนินการพัฒนาระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาวัณโรคอย่างต่อเนื่อง โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 อัตราผลสำเร็จในการรักษา เท่ากับจำนวนผู้ป่วยที่รักษาหาย (ผู้ป่วยใหม่เสมหะบวก) รวมกับจำนวนผู้ป่วยที่รักษาครบ (ผู้ป่วยใหม่เสมหะบวก) ที่ขึ้นทะเบียนรักษาตั้งแต่รอบที่ 1-4 /2564 คิดเป็นร้อยละ 90.27 โดยไตรมาสที่ 4 จำนวนผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ที่ขึ้นทะเบียนรักษา 41 ราย ผลความสำเร็จของการรักษา (Cure+Complete) 37 ราย คิดเป็นร้อยละ 90.24
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2021-08-25)
25/08/2564 : อยู่ระหว่างแต่ละโรงพยาบาลติดตามสรุปผลการดำเนินงาน ไตรมาส 4 เพื่อสรุปผลการดำเนินโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :- ช่วงนี้เนื่องจากโควิดระบาด มีผู้ป่วยวัณโรคที่ติดเชื้อโควิดร่วมด้วย จึงไม่สามารถเดินทางมารักษาและรับยาตามนัดได้ แก้ไขเบื้องต้นโดยส่งยาทางไปรษณีย์ - การติดตามผู้ป่วยไม่พบ เนื่องจากย้ายที่อยู่หรือเปลี่ยนหมายเลขโทรศัพท์
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2021-07-29)
29/07/2564 : โรงพยาบาลกลาง - มีคลินิกโรคปอดสัปดาห์ละ 2 วัน ให้การปรึกษาและคำแนะนำแก่ผู้ป่วยและผู้ดูแลทุกราย จัดห้องตรวจแยกจากผู้ป่วยทั่วไป ลดขั้นตอนการติดต่อของผู้ป่วย มีระบบการส่งตรวจเสมหะ และการค้นหาผู้ป่วยที่มีเชื้อดื้อยา ระบบการตรวจคัดกรองค้นหาผู้ป่วยสงสัยวัณโรค (Fast track screening) และมีการติดตามผู้ป่วยให้รับการรักษาเร็วขึ้น มีระบบนัดและระบบการแจ้งเตือนวันนัด - ประสานความร่วมมือกับภาคเอกชน NGO ในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคไร้บ้านให้สามารถรับยาได้ต่อเนื่อง - พัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อไปรับยาต่อเนื่อง โดยใช้บริการ Referral Center for TB ของสำนักอนามัย - ติดตามผู้ป่วยและประสานงานงานผ่านระบบ Referral เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถรับยาได้อย่างต่อเนื่อง ในช่วง สถานการณ์ COVID -19 โรงพยาบาลตากสิน - ดำเนินการรักษาและดูแลผู้ป่วยวัณโรคที่มารับการรักษา ณ คลินิกวัณโรค อย่างต่อเนื่องโดยเปิดบริการวัน จ.-ศ. เวลา 8.00 – 16.00 น. - ให้การรักษาขึ้นทะเบียนผู้ป่วยวัณโรคทุกประเภท - มีแพทย์เฉพาะทางด้านปอด 2 ท่าน และแพทย์อายุรกรรม 1 ท่าน - ให้บริการแบบ one stop service และ บริการจ่ายยา Dot ตามนัดมากกว่า 2 สัปดาห์ - รับปรึกษาระหว่างแผนกทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในทุกวัน - ประสานส่งต่อผู้ป่วยวัณโรคไปรักษาต่อศูนย์บริการสาธารณสุข และ สถานพยาบาลตามสิทธิ์ - อยู่ระหว่างจัดเก็บสถิติ เพื่อรายงานข้อมูลผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 4 โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ - จัดทำ Dot. Conner สัปดาห์ละ ๑ ครั้ง - จัดให้มีระบบ Counselling TB. ในผู้ป่วยทุกราย - จัดทำระบบการกินยาแบบ DOT ในผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะบวก - ติดตามผู้ป่วยให้รับประทานยาครบถ้วน ถูกต้อง - ประสานงานกับองค์กรรัฐมีระบบส่งต่อผู้ป่วย - จัดระบบบริการแบบ One stop service (โดยบริการตาม LAB และรับยาให้ผู้ป่วย) เพื่อให้ผู้ป่วยตระหนักและเห็นความสำคัญของการรักษา การรับยาอย่างต่อเนื่องจนครบตามแผนการรักษา ลดการแพร่กระจายเชื้อ และป้องกันการเกิดวัณโรคดื้อยา และกลับเป็นซ้ำอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ - คลินิกวัณโรค เปิดให้บริการแบบ One Stop Service ทุกวันพุธ เวลา 13.00 - 16.00 น. โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ - ให้ความรู้วิธีการปฏิบัติตัวกับผู้ป่วยวัณโรคและญาติ - ร่วมกันวางแผนกับทีมสหสาขาวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ ดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้ - มี Guide line ในการเข้าคลินิกวัณโรค - มีระบบ Fast track ในคนไข้วัณโรครายใหม่ - มี Flow chart การดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรค - มีการโทรศัพท์ตามคนไข้ในรายที่ไม่มาตามนัด - มีการประสานงานการทำงานระหว่างหน่วยงานในโรงพยาบาล และนอกหน่วยงาน โดยระบบ Refer - มีจนท. เภสัช จัดยาเป็นแบบ Daily packet เพื่อความสะดวกในการรับประทานยา - มีการติดตามเยี่ยมหลังการรักษา และติดตามเยี่ยมผู้สัมผัสใกล้ชิดคนไข้วัณโรค - มีการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติ และมีการประเมินก่อนและหลังให้ความรู้ โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร - เปิดคลินิกรักษาวัณโรคทุกวันศุกร์เวลา 13.00 น.-16.00 น. เว้นวันหยุดราชการ ให้การบริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จโดยดำเนินการวางแผนงานร่วมกันระหว่างทีมสหสาขาวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วย โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ดำเนินการรักษาผู้ป่วยวัณโรคในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมา (เม.ย.-มิ.ย. 2564) มีผู้ป่วยขึ้นทะเบียนทั้งหมด 32 ราย รักษาหาย 9 ราย รักษาครบ 22 ราย คิดเป็นร้อยละ 96.88 โรงพยาบาลสิรินธร - เปิดคลินิกรักษาวัณโรคทุกวันพุธ เวลา 13.00น.-16.00น. เว้นวันหยุดราชการ โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ด้วยการให้บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ - ติดตามผู้ป่วยและประสานงานงานผ่านไลน์กรุ๊ป เพื่อช่วยเตือนการทานยา และวัน เวลาที่นัดพบหมอ/พยาบาล ผลการดำเนินงานของทั้ง 8 โรงพยาบาล ตั้งแต่เดือน เมษายน-มิถุนายน 2564 พบว่า จำนวนผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ที่ขึ้นทะเบียนรักษา 206 ราย ผลความสำเร็จของการรักษา (Cure + Complete) 181 ราย คิดเป็นอัตราความสำเร็จการรักษา (Success Rate) [คำนวณจาก (Cure + Complete) /จำนวนผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ที่ขึ้นทะเบียนรักษา] เท่ากับร้อยละ 87.86
** ปัญหาของโครงการ :จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ผู้ป่วยทำการขอเลื่อนนัดวันที่มารับบริการด้วย ทำให้เป็นอุปสรรคในการให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 55.00 (2021-06-22)
22/06/2564 : อยู่ระหว่างแต่ละโรงพยาบาลติดตามสรุปผลการดำเนินงาน ณ สิ้นไตรมาส 3
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2021-05-24)
24/05/2564 : โรงพยาบาลกลาง - ดำเนินการให้บริการคลินิกวัณโรค (DOTS) ทุกวันอังคารและวันศุกร์ เวลา 8.00-12.00 น. - ประสานการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยผ่าน Referral Center for TB - ติดตามการกินยาของผู้ป่วย เพื่อให้ได้รับยาอย่างต่อเนื่อง ในช่วงสถานการณ์ Covid-19 - ขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาจัดทำรายงานในไตรมาสที่ 3/64 ต่อไป โรงพยาบาลตากสิน - ดำเนินการรักษาและดูแลผู้ป่วยวัณโรคที่มารับการรักษา ณ คลินิกวัณโรค อย่างต่อเนื่อง โดยเปิดบริการวัน จ.-ศ. เวลา 8.00 – 16.00 น. - ให้การรักษาขึ้นทะเบียนผู้ป่วยวัณโรคทุกประเภท - มีแพทย์เฉพาะทางด้านปอด 2 ท่าน และแพทย์อายุรกรรม 1 ท่าน - ให้บริการแบบ one stop service และ บริการจ่ายยา Dot ตามนัดมากกว่า 2 สัปดาห์ - รับปรึกษาระหว่างแผนกทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในทุกวัน - ประสานส่งต่อผู้ป่วยวัณโรคไปรักษาต่อศูนย์บริการสาธารณสุข และ สถานพยาบาลตามสิทธิ์ - อยู่ระหว่างจัดเก็บสถิติ เพื่อรายงานข้อมูลผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 3 โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ จัดทำ Dot. Conner สัปดาห์ละ ๑ ครั้ง จัดให้มีระบบ Counselling TB. ในผู้ป่วยทุกราย จัดทำระบบการกินยาแบบ DOT ในผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะบวก ติดตามผู้ป่วยให้รับประทานยาครบถ้วน ถูกต้อง ประสานงานกับองค์กรรัฐมีระบบส่งต่อผู้ป่วย จัดระบบบริการแบบ One stop service (โดยบริการตาม LAB และรับยาให้ผู้ป่วย) เพื่อให้ผู้ป่วยตระหนักและเห็นความสำคัญของการรักษา การรับยาอย่างต่อเนื่องจนครบตามแผนการรักษา ลดการแพร่กระจายเชื้อ และป้องกันการเกิดวัณโรคดื้อยา และกลับเป็นซ้ำ อย่างต่อเนื่อง ขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาจัดทำรายงานในไตรมาสที่ 3/64 ต่อไป โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ ไตรมาสที่3 เดือน พค.64 1. เปิดให้บริการคลินิควัณโรคทุกวันพุธ เวลา 12:00-16:00น. โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ 2.ให้บริการแบบ one stop service โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ - ดำเนินการให้บริการรักษาผู้ป่วยตามแผนงานที่วางไว้ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ จำนวนผู้ป่วยวัณโรคขึ้นทะเบียนรายใหม่ เดือนพฤษภาคม 7 ราย รักษาครบ 4 ราย รักษาหาย 2 ราย โรงพยาบาลสิรินธร - เปิดคลินิกรักษาวัณโรคทุกวันพุธ เวลา 13.00น.-16.00น. เว้นวันหยุดราชการ โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ด้วยการให้บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ - ติดตามผู้ป่วยและประสานงานงานผ่านไลน์กรุ๊ป เพื่อช่วยเตือนการทานยา และวัน เวลาที่นัดพบหมอ/พยาบาล - ผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนใหม่ในช่วง 16 เม.ย. - 15 พ.ค. 64 มีจำนวน 12 ราย รักษาหายและรักษาครบ จำนวน 11 ราย
** ปัญหาของโครงการ :ช่วงสถานการณ์ Covid-19 ทำให้ผู้ป่วยไม่อยากมาโรงพยาบาล จึงอยากได้การสนับสนุนเรื่องการส่งยาทางไปรษณีย์
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 47.00 (2021-04-22)
โรงพยาบาลกลาง - ให้บริการคลินิกโรคปอดสัปดาห์ละ 2 วัน ให้การปรึกษาและคำแนะนำแก่ผู้ป่วยและผู้ดูแลทุกราย จัดห้องตรวจแยกจากผู้ป่วยทั่วไป ลดขั้นตอนการติดต่อของผู้ป่วย มีระบบการส่งตรวจเสมหะ และการค้นหาผู้ป่วยที่มีเชื้อดื้อยา ระบบการตรวจคัดกรองค้นหาผู้ป่วยสงสัยวัณโรค (Fast track screening) และมีการติดตามผู้ป่วยให้รับการรักษาเร็วขึ้น มีระบบนัดและระบบการแจ้งเตือนวันนัด - ประสานความร่วมมือกับภาคเอกชน NGO ในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคไร้บ้านให้สามารถรับยาได้ต่อเนื่อง - พัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อไปรับยาต่อเนื่อง โดยใช้บริการ Referral Center for TB ของสำนักอนามัย - ติดตามผู้ป่วยและประสานงานงานผ่านระบบ Referral เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถรับยาได้อย่างต่อเนื่อง ในช่วง สถานการณ์ COVID -19 โรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลตากสิน ดำเนินการรักษาและดูแลผู้ป่วยวัณโรคที่มารับการรักษา ณ คลินิกวัณโรคอย่างต่อเนื่อง โดยเปิดบริการวัน จ.-ศ. เวลา 8.00 – 16.00 น. - ให้การรักษาขึ้นทะเบียนผู้ป่วยวัณโรคทุกประเภท - มีแพทย์เฉพาะทางด้านปอด 2 ท่าน และแพทย์อายุรกรรม 1 ท่าน - ให้บริการแบบ one stop service และ บริการจ่ายยา Dot ตามนัดมากกว่า 2 สัปดาห์ - รับปรึกษาระหว่างแผนกทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในทุกวัน - ประสานส่งต่อผู้ป่วยวัณโรคไปรักษาต่อศูนย์บริการสาธารณสุข และ สถานพยาบาลตามสิทธิ์ - อยู่ระหว่างจัดเก็บสถิติ เพื่อรายงานข้อมูลผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 3 โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ จัดทำ Dot. Conner สัปดาห์ละ ๑ ครั้ง จัดให้มีระบบ Counselling TB. ในผู้ป่วยทุกราย จัดทำระบบการกินยาแบบ DOT ในผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะบวก ติดตามผู้ป่วยให้รับประทานยาครบถ้วน ถูกต้อง ประสานงานกับองค์กรรัฐมีระบบส่งต่อผู้ป่วย จัดระบบบริการแบบ One stop service (โดยบริการตาม LAB และรับยาให้ผู้ป่วย) เพื่อให้ผู้ป่วยตระหนักและเห็นความสำคัญของการรักษา การรับยาอย่างต่อเนื่องจนครบตามแผนการรักษา ลดการแพร่กระจายเชื้อ และป้องกันการเกิดวัณโรคดื้อยา และกลับเป็นซ้ำอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ ให้บริการคลินิควัณโรคแบบ one stop service ทุกวันพุธ เวลา 13:00-16:00น. โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ ดำเนินการตามแผนและประมวลผลการดำเนินงาน โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ผู้ป่วยรายใหม่ขึ้นทะเบียน รายใหม่ 21 ราย รักษาครบ 17 ราย รักษาหาย 4 ราย โรงพยาบาลสิรินธร เปิดคลินิกรักษาวัณโรคทุกวันพุธ เวลา 13.00น.-16.00น. เว้นวันหยุดราชการ โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ด้วยการให้บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ - ติดตามผู้ป่วยและประสานงานงานผ่านไลน์กรุ๊ป เพื่อช่วยเตือนการทานยา และวัน เวลาที่นัดพบหมอ/พยาบาล - ผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนใหม่ในช่วง 16 มี.ค. - 15 เม.ย. 64 มีจำนวน 21 ราย รักษาหายและรักษาครบ จำนวน 26 ราย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 35.00 (2021-03-24)
24/03/2564 : โรงพยาบาลกลาง : - ดำเนินการให้บริการคลินิกวัณโรค (DOTS) ทุกวันอังคารและวันศุกร์ เวลา 8.00-12.00 น. - ให้บริการคลินิก Presumtive TB ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 8.00-15.30 น. - ติดตาม Con TB ให้มารับยาอย่างต่อเนื่อง มีการประสานการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยผ่าน Referal Center กรณีผู้ป่วยย้ายสิทธิ - ติดตามการกินยา โดยกินยาต่อหน้าพยาบาล และ VOT - โดยอยู่ระหว่างดำเนินการเก็บข้อมูลสรุปผลการดำเนินการรายไตรมาสที่ 2 โรงพยาบาลตากสิน : - คลินิกวัณโรค เปิดบริการวัน จ-ศ เวลา 8.00 – 16.00 น. - ให้การรักษาขึ้นทะเบียนผู้ป่วยวัณโรคทุกประเภท - มีแพทย์เฉพาะทางด้านปอด 2 ท่าน และแพทย์อายุรกรรม 1 ท่าน - ให้บริการแบบ one stop service และ บริการจ่ายยา Dot ตามนัดมากกว่า 2 สัปดาห์ - รับปรึกษาระหว่างแผนกทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในทุกวัน - ประสานส่งต่อผู้ป่วยวัณโรคไปรักษาต่อศูนย์บริการสาธารณสุข และ สถานพยาบาลตามสิทธิ์ - โครงการรณรงค์ให้ประชาชนเกิดความตระหนักและตื่นตัวในการป้องกันวัณโรค โดยมีการรณรงค์และให้ความรู้ผ่านทางเพจ Facebook โรงพยาบาลตากสิน โดยจะมีการจัดโครงการระหว่างวันที่ 22 - 26 มีนาคม 2564 โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ : - ดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาวัณโรคอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาจัดทำสถิติ ในไตรมาสที่ 2 ต่อไป โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ : - จัดบอร์ดนิทรรศการวันวัณโรคสากล 24 มีนาคม 2564 - คลินิกวัณโรค เปิดให้บริการแบบ one stop service ทุกวันพุธ เวลา 13.00-16.00น. โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ - ให้ความรู้วิธีปฏิบัติตัวกับผู้ป่วยวัณโรคและญาติ โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ : ดำเนินการให้บริการตามแผนงานที่วางไว้ โดยดำเนินการดังนี้ - มี Guideline ในการเข้าคลินิกวัณโรค - มีระบบ Fast track ในคนไข้วัณโรครายใหม่ - มี Flow chart การดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรค - มีการโทรศัพท์ตามคนไข้ในรายที่ไม่มาตามนัด - มีการประสานงานการทำงานระหว่างหน่วยงานในโรงพยาบาล และนอกหน่วยงาน โดยระบบ Refer - มีจนท. เภสัช จัดยาเป็นแบบ Daily packet เพื่อความสะดวกในการรับประทานยา - มีการติดตามเยี่ยมหลังการรักษา และติดตามเยี่ยมผู้สัมผัสใกล้ชิดคนไข้วัณโรค - มีการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติ และมีการประเมินก่อนและหลังให้ความรู้ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ : การดำเนินงานในช่วงเดือน มีนาคม 2564 มีดังนี้ ผู้ป่วยวัณโรคขึ้นทะเบียนใหม่ 10 ราย รักษาหาย 4 ราย รักษาครบ 6 ราย โรงพยาบาลสิรินธร : - เปิดคลินิกรักษาวัณโรคทุกวันพุธ เวลา 13.00น.-16.00น. เว้นวันหยุดราชการ โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ด้วยการให้บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ - ติดตามผู้ป่วยและประสานงานงานผ่านไลน์กรุ๊ป เพื่อช่วยเตือนการทานยา และวัน เวลาที่นัดพบหมอ/พยาบาล - ผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนใหม่ในช่วง 16 ก.พ. - 15 มี.ค. 64 มีจำนวน 19 ราย รักษาหายและรักษาครบ จำนวน 18 ราย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2021-02-24)
24/02/2564 : โรงพยาบาลกลาง - เปิดคลินิกวัณโรคทุกวันอังคาร และวันศุกร์ เวลา 9.00-12.00 น. - ให้บริการคลินิก Presumptive ทุกวัน ตั้งแต่ 8.00-15.00 น. เพื่อคัดกรองวัณโรค - ประสานงานผ่าน Referral center เพื่อส่งต่อผู้ป่วย - ติดตามการรักษาให้ผู้ป่วยรับยาอย่างต่อเนื่อง จนสิ้นสุดการรักษา - มีการให้คำปรึกษา ติดตามการรับยาผ่าน Official Account โรงพยาบาลตากสิน "คลินิกวัณโรค เปิดบริการวัน จ-ศ เวลา 8.00 – 16.00 น. - ให้การรักษาขึ้นทะเบียนผู้ป่วยวัณโรคทุกประเภท - มีแพทย์เฉพาะทางด้านปอด 2 ท่าน และแพทย์อายุรกรรม 1 ท่าน - ให้บริการแบบ one stop service และ บริการจ่ายยา Dot ตามนัดมากกว่า 2 สัปดาห์ - รับปรึกษาระหว่างแผนกทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในทุกวัน - ประสานส่งต่อผู้ป่วยวัณโรคไปรักษาต่อศูนย์บริการสาธารณสุข และ สถานพยาบาลตามสิทธิ์ - อยู่ระหว่างจัดทำโครงการและเสนอต่อผู้บริหารเพื่ออนุมัติโครงการ รณรงค์ป้องกันวัณโรค ซึ่งเป็นเป็นโครงการรณรงค์ให้ประชาชนเกิดความตระหนักและตื่นตัวในการป้องกันวัณโรค โดยจะจัดโครงการประมาณช่วงเดือนมีนาคม 2564" โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ - ดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาวัณโรค อย่างต่อเนื่อง ขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาจัดทำสถิติ ในไตรมาสที่ 2 ต่อไป โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ - ให้บริการคลินิกวัณโรคแบบ one stop service ทุกวันพุธ เวลา 13.00-16.00น. โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ - ให้ความรู้และคำแนะนำในการปฏิบัติตัวกับผู้ป่วยและญาติ โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ 1. วางแผนในการดำเนินงาน -มี Guide line ในการเข้าคลินิกวัณโรค -มีระบบ Fast track ในคนไข้วัณโรครายใหม่ -มี Flow chart การดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรค -มีการโทรศัพท์ตามคนไข้ในรายที่ไม่มาตามนัด -มีการประสานงานการทำงานระหว่างหน่วยงานในโรงพยาบาล และนอกหน่วยงาน โดยระบบ Refer -มีจนท. เภสัช จัดยาเป็นแบบ Daily packet เพื่อความสะดวกในการรับประทานยา -มีการติดตามเยี่ยมหลังการรักษา และติดตามเยี่ยมผู้สัมผัสใกล้ชิดคนไข้วัณโรค -มีการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติ และมีการประเมินก่อนและหลังให้ความรู้ โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร อยู่ระหว่างดำเนินการ และเตรียมจัดกิจกรรมวันวัณโรคโลกในเดือน มี.ค.2564 โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ เดือน ก.พ. ผู้ป่วยใหม่ขึ้นทะเบียน 12 ราย รักษาหาย 6 ราย รักษาครบ 5 ราย โรงพยาบาลสิรินธร - เปิดคลินิกรักษาวัณโรคทุกวันพุธ เวลา 13.00น.-16.00น. เว้นวันหยุดราชการ โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ด้วยการให้บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ - ติดตามผู้ป่วยและประสานงานงานผ่านไลน์กรุ๊ป เพื่อช่วยเตือนการทานยา และวัน เวลาที่นัดพบหมอ/พยาบาล - ผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนใหม่ในช่วง 16 ม.ค. - 15 ก.พ. 64 มีจำนวน 16 ราย
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2021-01-25)
25/01/2564 : 1. โรงพยาบาลกลาง มีคลินิกโรคปอดสัปดาห์ละ 2 วัน ให้การปรึกษาและคำแนะนำแก่ผู้ป่วยและผู้ดูแลทุกราย จัดห้องตรวจแยกจากผู้ป่วยทั่วไป ลดขั้นตอนการติดต่อของผู้ป่วย มีระบบการส่งตรวจเสมหะ และการค้นหาผู้ป่วยที่มีเชื้อดื้อยา ระบบการตรวจคัดกรองค้นหาผู้ป่วยสงสัยวัณโรค (Fast track screening) และมีการติดตามผู้ป่วยให้รับการรักษาเร็วขึ้น มีระบบนัดและระบบการแจ้งเตือนวันนัด - ประสานความร่วมมือกับภาคเอกชน NGO ในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคไร้บ้านให้สามารถรับยาได้ต่อเนื่อง - พัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อไปรับยาต่อเนื่อง โดยใช้บริการ Referral Center for TB ของสำนักอนามัย - ติดตามผู้ป่วยและประสานงานงานผ่านระบบ Referral เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถรับยาได้อย่างต่อเนื่อง ในช่วง สถานการณ์ COVID -19 2. โรงพยาบาลตากสิน คลินิกวัณโรค เปิดบริการวัน จ-ศ เวลา 8.00 – 16.00 น. - ให้การรักษาขึ้นทะเบียนผู้ป่วยวัณโรคทุกประเภท - มีแพทย์เฉพาะทางด้านปอด 2 ท่าน และแพทย์อายุรกรรม 1 ท่าน - ให้บริการแบบ one stop service และ บริการจ่ายยา Dot ตามนัดมากกว่า 2 สัปดาห์ - รับปรึกษาระหว่างแผนกทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในทุกวัน - ประสานส่งต่อผู้ป่วยวัณโรคไปรักษาต่อศูนย์บริการสาธารณสุข และ สถานพยาบาลตามสิทธิ์ 3. โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาวัณโรค อย่างต่อเนื่อง ขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาจัดทำสถิติต่อไป 4. โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ - เปิดให้บริการคลินิกวัณโรคทุกวันพุธ เวลา 12:00-16:00 น. - ให้ความรู้และคำแนะนำเรื่องการปฏิบัติตัวในคลินิกวัณโรค 5. โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ วางแผนในการดำเนินงาน • มี Guide line ในการเข้าคลินิกวัณโรค • มีระบบ Fast track ในคนไข้วัณโรครายใหม่ • มี Flow chart การดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรค • มีการโทรศัพท์ตามคนไข้ในรายที่ไม่มาตามนัด • มีการประสานงานการทำงานระหว่างหน่วยงานในโรงพยาบาล และนอกหน่วยงาน โดยระบบ Refer • มีจนท. เภสัช จัดยาเป็นแบบ Daily packet เพื่อความสะดวกในการรับประทานยา • มีการติดตามเยี่ยมหลังการรักษา และติดตามเยี่ยมผู้สัมผัสใกล้ชิดคนไข้วัณโรค • มีการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติ และมีการประเมินก่อนและหลังให้ความรู้ 6. โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร อยู่ระหว่างดำเนินการและคัดกรองกลุ่มเสี่ยง 5 ราย ยังไม่พบรอยโรค 7. โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ เดือน ม.ค 63 โรงพยาบาลดำเนินการ ดังนี้ 1. จำนวนผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ที่ขึ้นทะเบียนรักษา 12 ราย 2. ผลการรักษาหาย (Cure) 5 ราย 3. ผลการรักษาครบ 6 (Complete) 6 ราย 4. ผลความสำเร็จของการรักษา( Cure + Complete ) 11 ราย 8. โรงพยาบาลสิรินธร เปิดคลินิกรักษาวัณโรคทุกวันพุธ เวลา 13.00น.-16.00น. เว้นวันหยุดราชการ โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ด้วยการให้บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ - ติดตามผู้ป่วยและประสานงานงานผ่านไลน์กรุ๊ป เพื่อช่วยเตือนการทานยา และวัน เวลาที่นัดพบหมอ/พยาบาล โดยสรุปในไตรมาสที่ 1 ผลการดำเนินงานความสำเร็จในการรักษาทั้ง 8 โรงพยาบาลอยู่ที่ร้อยละ 92.85
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2020-12-25)
25/12/2563 : อยู่ระหว่างเตรียมประชุมคณะกรรมการพัฒนาการรักษาวัณโรคของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ เพื่อปรึกษา หารือ แนวทางการดำเนินงาน โดยโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ดำเนินการในคลินิกวัณโรค ดำเนินการระบบการรักษาวัณโรคของโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง และดำเนินการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2020-11-25)
25/11/2563 : มีคลินิกโรคปอดให้การปรึกษาและคำแนะนำแก่ผู้ป่วยและผู้ดูแลทุกราย จัดห้องตรวจแยกจากผู้ป่วยทั่วไป ลดขั้นตอนการติดต่อของผู้ป่วย มีระบบการส่งตรวจเสมหะ และการค้นหาผู้ป่วยที่มีเชื้อดื้อยา ระบบการตรวจคัดกรองค้นหาผู้ป่วยสงสัยวัณโรค (Fast track screening) และมีการติดตามผู้ป่วยให้รับการรักษาเร็วขึ้น มีระบบนัดและระบบการแจ้งเตือนวันนัด - ประสานความร่วมมือกับภาคเอกชน NGO ในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคไร้บ้านให้สามารถรับยาได้ต่อเนื่อง - พัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อไปรับยาต่อเนื่อง โดยใช้บริการ Referral Center for TB ของสำนักอนามัย - จัดทำแบบฟอร์มในการคัดกรองความเสี่ยงต่อการขาดการรักษาของผู้ป่วยวัณโรครับยารายใหม่ - จัดระบบบริการแบบ One stop service (โดยบริการตาม LAB และรับยาให้ผู้ป่วย) เพื่อให้ผู้ป่วยตระหนักและเห็นความสำคัญของการรักษา การรับยาอย่างต่อเนื่องจนครบตามแผนการรักษา ลดการแพร่กระจายเชื้อ และป้องกันการเกิดวัณโรคดื้อยา และกลับเป็นซ้ำ
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(12) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2020-10-26)
26/10/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...การศึกษาข้อมูลโครงการ เพื่อจัดทำโครงการ เสนอขออนุมัติ ต่อไป
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : อัตราความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่
ค่าเป้าหมาย ≥ร้อยละ : 88
ผลงานที่ทำได้ ≥ร้อยละ : 88.7
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **