รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละความสำเร็จในการส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ ศูนย์บริการสาธารณสุขและโรงพยาบาลนอกสังกัดกรุงเทพมหานคร : 0700-830

ค่าเป้าหมาย ≥ร้อยละ : 95

ผลงานที่ทำได้ ≥ร้อยละ : 99.96

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 0

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(≥ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
95.27
100
100 / 100
2
97.54
0
0 / 0
3
99.45
0
0 / 0
4
99.96
0
0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ทั้ง 8 แห่ง ได้ส่งเสริมการเข้าถึงระบบบริการในการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนในกรุงเทพมหานคร โดยมีการพัฒนาระบบส่งต่อระหว่างศูนย์บริการสาธารณสุขกับโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงระบบบริการเป็นการสร้างมาตรฐานบริการสาธารณสุขในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีการประชุมปรึกษาหารือแนวทางในการส่งต่อผู้ป่วย ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน และร่วมกันพัฒนาแนวทางในการส่งต่อเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้ 1.โรงพยาบาลกลาง - ศูนย์บริการสาธารณสุขส่งต่อผู้ป่วยมายังโรงพยาบาล จำนวน 5,586 ราย - โรงพยาบาลสามารถรับผู้ป่วยรับผู้ป่วยจากศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 5,586 ราย - คิดเป็นร้อยละของความสำเร็จ เท่ากับร้อยละ 100 2.โรงพยาบาลตากสิน - ศูนย์บริการสาธารณสุขส่งต่อผู้ป่วยมายังโรงพยาบาล จำนวน 46,356 ราย - โรงพยาบาลสามารถรับผู้ป่วยรับผู้ป่วยจากศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 46,356 ราย - คิดเป็นร้อยละของความสำเร็จ เท่ากับร้อยละ 100 3.โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ - ศูนย์บริการสาธารณสุขส่งต่อผู้ป่วยมายังโรงพยาบาล จำนวน 41,858 ราย - โรงพยาบาลสามารถรับผู้ป่วยรับผู้ป่วยจากศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 41,858 ราย - คิดเป็นร้อยละของความสำเร็จ เท่ากับร้อยละ 100 4.โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ - ศูนย์บริการสาธารณสุขส่งต่อผู้ป่วยมายังโรงพยาบาล จำนวน 550 ราย - โรงพยาบาลสามารถรับผู้ป่วยรับผู้ป่วยจากศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 550 ราย - คิดเป็นร้อยละของความสำเร็จ เท่ากับร้อยละ 100 5.โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ อยู่ระหว่างดำเนินการ 6.โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร - ศูนย์บริการสาธารณสุขส่งต่อผู้ป่วยมายังโรงพยาบาล จำนวน 252 ราย - โรงพยาบาลสามารถรับผู้ป่วยรับผู้ป่วยจากศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 252 ราย - คิดเป็นร้อยละของความสำเร็จ เท่ากับร้อยละ 100 7.โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ - ศูนย์บริการสาธารณสุขส่งต่อผู้ป่วยมายังโรงพยาบาล จำนวน 346 ราย - โรงพยาบาลสามารถรับผู้ป่วยรับผู้ป่วยจากศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 346 ราย - คิดเป็นร้อยละของความสำเร็จ เท่ากับ ร้อยละ 100 8.โรงพยาบาลสิรินธร - ศูนย์บริการสาธารณสุขส่งต่อผู้ป่วยมายังโรงพยาบาล จำนวน 7,502 ราย - โรงพยาบาลสามารถรับผู้ป่วยรับผู้ป่วยจากศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 7,502 ราย - คิดเป็นร้อยละของความสำเร็จ เท่ากับร้อยละ 100 10. โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียนอยู่ระหว่างดำเนินการ 11. โรงพยาบาลคลองสามวา อยู่ระหว่างประชุมคณะทำงานพัฒนาเครือข่ายระบบบริการทางการแพทย์และระบบส่ง - สรุปในภาพรวมศูนย์บริการสาธารณสุขส่งต่อผู้ป่วยมายังโรงพยาบาล จำนวน 102,444 ราย และโรงพยาบาลสามารถรับผู้ป่วยจากศูนย์บริการสาธารณสุขได้ จำนวน 102,444 ราย สรุปคิดเป็นความสำเร็จของการส่งต่อผู้ป่วยร้อยละ 100 โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์เล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นของระบบส่งต่อผู้ป่วย ได้อย่างทันท่วงที เนื่องจากจะสามารถลดการสูญเสีย สร้างความปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย และผู้ป่วยได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพ แต่หากการส่งต่อมีความล่าช้าอาจก่อให้เกิดปัญหาหรือเกิดการสูญเสียถึงแก่ชีวิตได้ จากข้อมูลสถิติการรายงานผู้ป่วยระบบส่งต่อของสำนักการแพทย์ พบว่า กลุ่มโรคที่เป็นปัญหาสำคัญในการส่งต่อผู้ป่วยสูงสุด ได้แก่ อุบัติเหตุ ศัลยกรรมประสาทและสมอง หลอดเลือดหัวใจ ทารกคลอดก่อนกำหนด และออร์โธปิดิกส์ โดยมีผลการดำเนินงานส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ ดังนี้ ด้านการส่งต่อผู้ป่วยอุบัติเหตุ จำนวน 27 ราย ส่งต่อสำเร็จ 24 ราย ส่งต่อไม่สำเร็จ 3 ราย คิดเป็นร้อยละของความสำเร็จในการส่งต่อผู้ป่วย เท่ากับ 88.89 ด้านการส่งต่อผู้ป่วยศัลยกรรมประสาทและสมอง จำนวน 123 ราย ส่งต่อสำเร็จ 119 ราย ส่งต่อไม่สำเร็จ 4 ราย คิดเป็นร้อยละของความสำเร็จในการส่งต่อผู้ป่วย เท่ากับ 96.75 ด้านการส่งต่อทารกคลอดก่อนกำหนด จำนวน 6 ราย ส่งต่อสำเร็จ 6 ราย ส่งต่อไม่สำเร็จ 0 ราย คิดเป็นร้อยละของความสำเร็จในการส่งต่อผู้ป่วย เท่ากับ 100 ด้านการส่งต่อออร์โธปิดิกส์ จำนวน 13 ราย ส่งต่อสำเร็จ 12 ราย ส่งต่อไม่สำเร็จ 1 ราย คิดเป็นร้อยละของความสำเร็จในการส่งต่อผู้ป่วย เท่ากับ 92.31 สรุปส่งต่อทั้งหมด 169 ราย สำเร็จ 161 ราย ส่งต่อไม่สำเร็จ จำนวน 8 ราย คิดเป็นความสำเร็จของการส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ คิดเป็นร้อยละ 95.27 สรุปในภาพรวมความสำเร็จในการส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ ศูนย์บริการสาธารณสุขและโรงพยาบาลนอกสังกัดสำนักการแพทย์ คิดเป็นร้อยละ 99.99 ดังนี้ ศูนย์บริการสาธารณสุขส่งต่อผู้ป่วยมายังโรงพยาบาล จำนวน 102,444 ราย และโรงพยาบาลสามารถรับผู้ป่วยจากศูนย์บริการสาธารณสุขได้ จำนวน 102,444 รายคิดเป็น ร้อยละ 100 และผู้ป่วยส่งต่อ 4 โรคสำคัญที่ต้องการส่งต่อทั้งหมดจำนวน 169 ราย ส่งต่อสำเร็จจำนวน 161 ราย ส่งต่อไม่สำเร็จ จำนวน 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 95.27

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

- ศูนย์บริการสาธารณสุขส่งต่อผู้ป่วยมายังโรงพยาบาล จำนวน 102,101 ราย และโรงพยาบาลสามารถรับผู้ป่วยจากศูนย์บริการสาธารณสุขได้ จำนวน 99,590 รายคิดเป็น ร้อยละ 97.54 - ผู้ป่วยส่งต่อ 4 โรคสำคัญที่ต้องการส่งต่อทั้งหมดจำนวน 320 ราย ส่งต่อสำเร็จจำนวน 312 ราย ส่งต่อไม่สำเร็จ จำนวน 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 97.50 - สรุปในภาพรวมความสำเร็จในการส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ ศูนย์บริการสาธารณสุขและโรงพยาบาลนอกสังกัดสำนักการแพทย์ คิดเป็นร้อยละ 97.54

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

- ศูนย์บริการสาธารณสุขส่งต่อผู้ป่วยมายังโรงพยาบาล จำนวน 67,720 ราย และโรงพยาบาลสามารถรับผู้ป่วยจากศูนย์บริการสาธารณสุขได้ จำนวน 67,346 รายคิดเป็น ร้อยละ 99.45 - ผู้ป่วยส่งต่อ 4 โรคสำคัญที่ต้องการส่งต่อทั้งหมดจำนวน 168 ราย ส่งต่อสำเร็จจำนวน 167 ราย ส่งต่อไม่สำเร็จ จำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 99.40 - สรุปในภาพรวมความสำเร็จในการส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ ศูนย์บริการสาธารณสุขและโรงพยาบาลนอกสังกัดสำนักการแพทย์ คิดเป็นร้อยละ 99.45

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

งต่อระหว่างโรงพยาบาลในและนอกสังกัดสำนักการแพทย์ทั้งหมด 883 ราย สำเร็จ 842 ราย คิดเป็นร้อยละ 95.36 สรุปความสำเร็จในการส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ ศูนย์บริการสาธารณสุข และโรงพยาบาลนอกสังกัด มีการส่งต่อผู้ป่วยทั้งสิ้น 449,684 ราย สำเร็จ 449,491 ราย คิดเป็นร้อยละ 99.96

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

ความสำเร็จในการส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์และศูนย์บริการสาธารณสุข หมายถึง ศูนย์บริการสาธารณสุขสามารถ ส่งตัวผู้ป่วยมารับบริการรักษาต่อที่โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ได้แล้วเสร็จ ความสำเร็จของการส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์และโรงพยาบาลนอกสังกัดกรุงเทพมหานคร หมายถึง การประสานงานส่งต่อผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาลทั้งในและนอกสังกัดสำนักการแพทย์ ประกอบด้วยโรคสำคัญ 4 โรค ได้แก่ อุบัติเหตุ ศัลยกรรมประสาทและสมอง ทารกเกิดก่อนกำหนดและ ออร์โธปิดิกส์

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

A = จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อสำเร็จจากศูนย์บริการสาธารณสุขมารับบริการรักษาใน รพ.สังกัดสำนักการแพทย์ หารด้วย จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อทั้งหมดจากศูนย์บริการสาธารณสุขทั้งหมด คูณด้วย 100 B = จำนวนผู้ป่วยโรคสำคัญ 4 โรค ได้แก่ อุบัติเหตุ ศัลยกรรมประสาทและสมอง ทารกเกิดก่อนกำหนด และออร์โธปิดิกส์ที่ ส่งต่อสำเร็จทั้งในและนอกโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์หารด้วย จำนวนผู้ป่วย 4 โรคสำคัญที่ต้องการส่งต่อทั้งหมด คูณ 100 A บวก B หารด้วยจำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อทั้งหมดจากศูนย์บริการสาธารณสุขทั้งหมดบวกจำนวนผู้ป่วย 4 โรคสำคัญที่ต้องการส่งต่อทั้งหมด คูณด้วย 100

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย
:๑.๖.๓ คนกรุงเทพฯทุกคนมีโอกาสได้รับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เท่าเทียม มีคุณภาพ แ%
:๑.๖.๓.๑ พัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลสู่ความเป็นเลิศทางการแพทย์

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง