รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจไม่พบการปนเปื้อนสารพิษ (ผลลัพธ์) : 0800-0924

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 0

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
100.00
100
100 / 100
2
100.00
100
100 / 100
3
100.00
0
0 / 0
4
100.00
0
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารในกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ แผงลอย ตลาด ร้านอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต และมินิมาร์ท ตรวจวิเคราะห์โดยชุดทดสอบเบื้องต้น หาสารเคมีปนเปื้อนในอาหาร ได้แก่ ตรวจหา สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน สารฟอกขาว สารกันรา สีสังเคราะห์ กรดแร่อิสระในน้ำส้มสายชู ยาฆ่าแมลง และสารโพลาร์ในน้ำมันทอดอาหาร โดยผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหาร ระหว่างเดือนตุลาคม 2562 – เดือนธันวาคม 2562 มีการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารตรวจวิเคราะห์ทั้งสิ้น จำนวน 6,326 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน จำนวน 6,326 ตัวอย่าง (ร้อยละ 100)-//-

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารในกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ แผงลอย ตลาด ร้านอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต และมินิมาร์ท ตรวจวิเคราะห์โดยชุดทดสอบเบื้องต้นหาสารเคมีปนเปื้อนในอาหาร ได้แก่ ตรวจหา สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน สารฟอกขาว สารกันรา สีสังเคราะห์ กรดแร่อิสระในน้ำส้มสายชู ยาฆ่าแมลง และสารโพลาร์ในน้ำมันทอดอาหาร โดยผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหาร ระหว่างเดือนตุลาคม 2562 – เดือนมีนาคม 2563 มีการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารตรวจวิเคราะห์ทั้งสิ้น จำนวน 37,584 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน จำนวน 37,584 ตัวอย่าง (ร้อยละ 100)-//-

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารในกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ แผงลอย ตลาด ร้านอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต และมินิมาร์ท ตรวจวิเคราะห์โดยชุดทดสอบเบื้องต้น หาสารเคมีปนเปื้อนในอาหาร ได้แก่ ตรวจหาสารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน สารฟอกขาว สารกันรา ยาฆ่าแมลง สีสังเคราะห์ กรดแร่อิสระในน้ำส้มสายชู และสารโพลาร์ในน้ำมันทอดอาหาร โดยผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหาร ระหว่างเดือนตุลาคม 2562 - เดือนมิถุนายน 2563 มีการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารตรวจวิเคราะห์ทั้งสิ้น จำนวน 53,984 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน จำนวน 53,984 ตัวอย่าง (ร้อยละ 100) -//-

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารในกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ แผงลอย ตลาด ร้านอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต และมินิมาร์ท ตรวจวิเคราะห์โดยชุดทดสอบเบื้องต้นหาสารเคมีปนเปื้อนในอาหาร ได้แก่ ตรวจหาสารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน สารฟอกขาว สารกันรา ยาฆ่าแมลง สีสังเคราะห์ กรดแร่อิสระในน้ำส้มสายชู และสารโพลาร์ในน้ำมันทอดอาหาร โดยผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหาร ระหว่างเดือนตุลาคม 2562 - เดือนกันยายน 2563 มีการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารตรวจวิเคราะห์ทั้งสิ้น จำนวน 83,435 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน จำนวน 83,435 ตัวอย่าง (ร้อยละ 100)-//-

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

1. ตัวอย่างอาหาร หมายถึง ตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจจากแผงลอย ตลาด ร้านอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต และมินิมาร์ท ในพื้นที่ 50 เขต 2. สารพิษ หมายถึง สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน สารฟอกขาว สารกันรา สีสังเคราะห์ กรดแร่อิสระในน้ำส้มสายชู ยาฆ่าแมลง และสารโพลาร์ในน้ำมันทอดอาหาร โดยการสุ่มตรวจด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (Test-kit) 3. ไม่พบการปนเปื้อนสารพิษ หมายถึง ผลตรวจตัวอย่างอาหาร ต้องอยู่ในเกณฑ์คุณภาพอาหารที่กำหนด ดังนี้ - ต้องไม่พบการปนเปื้อนของสารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน สารฟอกขาว และสารกันรา - ต้องไม่พบสีสังเคราะห์ในอาหารที่ห้ามการใช้สี - ต้องไม่พบกรดแร่อิสระในน้ำส้มสายชู - ต้องไม่พบยาฆ่าแมลง และสารโพลาร์ในน้ำมันทอดอาหาร เกินเกณฑ์คุณภาพอาหารที่กำหนด กรณีพบการปนเปื้อนสารพิษ ให้เจ้าพนักงานออกคำแนะนำหรือออกคำสั่งให้ผู้ประกอบการอาหารดำเนินการปรับปรุงแก้ไข ผลผลิต : จำนวนตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจวิเคราะห์หาการปนเปื้อนสารพิษ ผลลัพธ์ : ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจไม่พบการปนเปื้อนสารพิษ

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

วิธีการคำนวณ : จำนวนตัวอย่างอาหารที่ตรวจวิเคราะห์ไม่พบการปนเปื้อนสารพิษ คูณด้วย 100 หารด้วยจำนวนตัวอย่างอาหารที่ทำการตรวจวิเคราะห์ สูตรการคำนวณ : (จำนวนตัวอย่างอาหารที่ตรวจวิเคราะห์ไม่พบการปนเปื้อนสารพิษ x 100) / จำนวนตัวอย่างอาหารที่ทำการตรวจวิเคราะห์

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

-

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย
:๑.๖.๕ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีอาหารปลอดภัย ปราศจากเชื้อโรค และสารปนเปื้อน%
:๑.๖.๕.๑ ควบคุม กำกับ ดูแล ให้สถานประกอบการอาหาร เตรียม ประกอบปรุง และจำหน่ายอาหารถูกสุขลักษณะ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง