ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 70
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 70.11
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
วิเคราะห์ข้อมูลการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียน /จัดทำแผนการดำเนินงานกิจกรรมป้องกันโรคอ้วนและภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียน
รวบรวมข้อมูลจากศูนย์บริการสาธารณสุข เด็กและเยาวชนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครและนอกสังกัดได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ จำนวน 252,328 คน มีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน 161,074 คน คิดเป็นร้อยละ 63.84
รวบรวมข้อมูลการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงของนักเรียน เพื่อเฝ้าระวังภาวะโภชนาการโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครและนอกสังกัด จากศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง ภาคเรียนที่ 1/2563 พบว่าเด็กและเยาวชนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครและนอกสังกัด ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ คิดเป็นร้อยละ 100 เด็กนักเรียน จำนวน 395,859 คน มีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน จำนวน 277,076 คน คิดเป็นร้อยละ 69.99 เเละอยู่ระหว่างขั้นตอนรวบรวมข้อมูลภาวะโภชนาการโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครและนอกสังกัด จากศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง ภาคเรียนที่ 2/2563 รวมถึงการตรวจสอบข้อมูลรายงานผลการดำเนินงานมาตรการป้องกันโรคอ้วน เเละภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียน
จัดทำหนังสือขอความร่วมมือไปยังศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง ให้ดำเนินการจัดส่งแบบรายงานเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ และแบบรายงานมาตรการป้องกันโรคอ้วนและภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียน ภาคเรียนที่ 2/2563 รวบรวม ตรวจสอบ วิเคราะห์ และสรุปผลข้อมูลการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงของเด็กนักเรียน การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครและนอกสังกัด จากศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง ภาคเรียนที่ 2/2563 พบว่าเด็กและเยาวชนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครและนอกสังกัด จำนวนทั้งสิ้น 661 แห่ง ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ และเข้าร่วมดำเนินมาตรการป้องกันโรคอ้วนและภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียน จำนวน 413,705 คน คิดเป็นร้อยละ 100 เด็กและเยาวชนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครและนอกสังกัด จำนวน 413,705 คน มีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน จำนวน 290,031 คน คิดเป็นร้อยละ 70.11
- โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ หมายถึง โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 437 แห่ง และโรงเรียนนอกสังกัดกรุงเทพมหานคร (สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสังกัดคณะกรรมการศึกษาเอกชน ที่เข้าร่วมกิจกรรมป้องกันโรคอ้วนและภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียน - โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ หมายถึง เด็กนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครและนอกสังกัดได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ - เด็กนักเรียนที่ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ หมายถึง เด็กนักเรียนในโรงเรียนได้รับการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และประเมินภาวะโภชนาการโดยเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานตามเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2543 - เด็กที่ผ่านเกณฑ์ หมายถึง เด็กนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน - เด็กนักเรียนสูงดีสมส่วน หมายถึง เด็กนักเรียนที่มีส่วนสูงอยู่ในระดับสูงตามเกณฑ์ขึ้นไป และมีน้ำหนักอยู่ในระดับสมส่วน (ในคนเดียวกัน) ค่าเป้าหมาย ผลผลิต : โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ (เด็กนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกทม. และนอกสังกัดได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ร้อยละ 100) ผลลัพธ์ : เด็กที่ผ่านเกณฑ์ (เด็กนักเรียนสูงดีสมส่วน ร้อยละ 70)
ผลผลิต : โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ (เด็กนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกทม. และนอกสังกัดได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ) (ร้อยละ 100) วิธีการคำนวณ จำนวนนักเรียนในโรงเรียนสังกัด กทม. และนอกสังกัดที่เข้าร่วมดำเนินมาตรการป้องกันโรคอ้วนและภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียนที่ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ X 100 / จำนวนนักเรียนทั้งหมดในโรงเรียนสังกัด กทม. และนอกสังกัดที่เข้าร่วมดำเนินมาตรการป้องกันโรคอ้วนและภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียน ผลลัพธ์ : เด็กที่ผ่านเกณฑ์ (เด็กนักเรียนสูงดีสมส่วน) (ร้อยละ 70) วิธีการคำนวณ จำนวนนักเรียนในโรงเรียนสังกัด กทม. และนอกสังกัด ที่มีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน X 100 / จำนวนนักเรียนทั้งหมดในโรงเรียนสังกัด กทม. และนอกสังกัดที่เข้าร่วมดำเนินมาตรการป้องกันโรคอ้วนและภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียนที่ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ
:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
:๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย |
:๑.๖.๑ คนกรุงเทพฯ มีสุขภาวะทางกายและจิต มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ไม่มีภาวะเจ็บป่วยจาก โร% |
:๑.๖.๑.๑ คัดกรองและลดปัจจัยเสี่ยงเชิงพฤติกรรมที่มีผลกระทบต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง |