ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 80
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 94.12
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
วางแผนการดำเนินงาน
อยู่ระหว่างขออนุมัติยกเลิกโครงการ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด19 ระลอกใหม่ยังพบผู้ป่วยสูงขึ้นเรื่อยๆ และตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม2564 พบการระบาดเป็นกลุ้มก้อนในพื้นที่เขตบางแค บางขุนเทียน เจ้าหน้าของกองควบคุมโรคติดต่อ รวมถึงพยาบาล นักวิชาการสาธารณสุขของศูนย์บริการสาธารณสุขซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของโครงการ ต้องระดมสรรพกำลังในการควบคุมโรคโควิดไม่ให้ระบาดในวงกว่้าง ประกอบกับต้องระดมกำลังให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิดให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครให้ทันเวลาตามนโยบายของรัฐบาล ด้วยเงื่อนไขและเงื่อนเวลาดังกล่าว กองควบคุมโรคติดต่อพิจารณาว่า กลุ่มเป้าหมายไม่สามารถที่จะเข้าร่วมประชุมตามแผนปฏิบัติงานที่โครงการกำหนดจึงได้ทำหนังสือเรียนผู้อำนวยการสำนักอนามัย เพื่อขออนุมัติยกเลิกโครงการ หมายเหตุ โครงการนี้ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณประจำปี
ยกเลิกโครงการที่สนับสนุนตัวชี้วัด แต่ได้นำกิจกรรมที่เป็นงานประจำคือประชุมเชิงปฏิบัติการการเฝ้าระวังควบคุมโรคติดต่อในสถานศึกษามาทดแทน โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเขต ศูนย์บริการสาธารณสุข หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ประชุมเชิงปฏิบัติการการเฝ้าระวังควบคุมโรคติดต่อในสถานศึกษาในวันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2563 เวลา 13.00 - 16.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 8 อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ดินแดง วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางในการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคระบบทางเดินหายใจในสถานศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน และสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน และเพื่อเตรียมความพร้อมในการป้องกันและลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องจากกลุ่มเขตทั้ง 6 กลุ่ม พยาบาลศูนย์บริการสาธารณสุขจากทั้ง 6 กลุ่มเขต สำนักการศึกษา สำนักงานสิ่งแวดล้อม และเจ้าหน้าที่กองควบคุมโรคติดต่อ กลุ่มเป้าหมายจำนวน 34 คน ผลการดำเนินงาน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้เรื่องโรคติดต่อที่สำคัญตามฤดูกาลตามเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 94.12 (จำนวนกลุ่มเป้าหมาย 34 คน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้เรื่องโรคติดต่อที่สำคัญตามฤดูกาลตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 32 คน =32*100/34=94.12%)
การจัดอบรมถ่ายทอดความรู้หรือกระบวนการเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อที่สำคัญตามฤดูกาล เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ โรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน โรคอุจจาระร่วง โรคมือ เท้า ปาก ซึ่งมักมีการระบาดในสถานศึกษา โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้เรื่องโรคติดต่อที่สำคัญตามฤดูกาลตามเกณฑ์ที่กำหนดไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้เรื่องโรคติดต่อที่สำคัญตามฤดูกาลตามเกณฑ์ที่กำหนด X 100/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด
:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
:๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย |
:๑.๖.๒ โรคติดต่อที่สำคัญในเมืองได้รับการเฝ้าระวังและควบคุมไม่ให้ระบาดไปในวงกว้าง% |
:๑.๖.๒.๓ พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายในการควบคุมพาหะนำโรคไข้เลือดออก |