ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 14
นางสาวทัศนีย์ เศษบุปผา โทร 0 2203 2888
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 3
การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นงานสาธารณสุขที่มีความสำคัญมากซึ่งมีผลต่อสุขภาพที่ดีของประชาชนโรคติดต่อหลายโรคลดลงอย่างมีนัยสำคัญจากการให้บริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคอย่างครอบคลุมทั่วถึงและต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามผลจากการที่มีการเคลื่อนย้ายของแรงงานข้ามชาติ ทำให้พบการกลับมาระบาดของโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มาตรการด้านการฉีดวัคซีนจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการป้องกันโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องทางด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และสามารถนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ
08080000/08080000
1. ตระหนักและเห็นความสำคัญในบทบาทผู้ให้บริการงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค 2. เกิดความรู้ความเข้าใจในหลักการและแนวคิดพื้นฐานที่สำคัญเกี่ยวกับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค 3. เกิดการพัฒนาทักษะในการให้บริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค 4. สามารถบริหารจัดการให้บริการงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคแก่ประชาชนได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐาน
กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 92 คน ดังนี้ บุคลากรผู้ปฏิบัติงานให้บริการงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค สังกัดสำนักอนามัย ได้แก่ พยาบาลเทคนิค ระดับปฏิบัติงานถึงชำนาญงาน พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการสาธารณสุข เภสัชกร ระดับปฏิบัติการถึงชำนาญการพิเศษ ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน ดังนี้ 1)เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 9 คน 2)วิทยากร จำนวน 6 คน โดยในปีงบประมาณ 2562 กำหนดจัดอบรม จำนวน 2 รุ่นๆ ละ 61 คน (ประกอบด้วยผู้เข้าอบรม 46 คน วิทยากร 6 คน เจ้าหน้าที่ดำเนินการ 9 คน) รวมจำนวนทั้งสิ้น 122 คน ซึ่งดำเนินการอบรมเป็นแบบไป-กลับ ณ สถานที่เอกชนในกรุงเทพมหานคร ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562
ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย |
๑.๖.๒ โรคติดต่อที่สำคัญในเมืองได้รับการเฝ้าระวังและควบคุมไม่ให้ระบาดไปในวงกว้าง% |
๑.๖.๒.๓ พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายในการควบคุมพาหะนำโรคไข้เลือดออก |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 14.00 (2021-05-27)
27/05/2564 : ได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการสำนักอนามัยยกเลิกโครงการฯ ตามหนังสือ ที่ กท 0708/452 ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2564 เรื่อง ขออนุมัติยกเลิกโครงการฟื้นฟูศักยภาพผู้ปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโดโรนา 2019 ในกรุงเทพมหานคร เพื่อควบคุมโรคไม่ให้ระบาดเป็นวงกว้าง กองควบคุมโรคติดต่อ จึงระดมสรรพกำลังข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการควบคุมโรคและป้องกันโรคโควิด-19 ด้วยเงื่อนไขและเงื่อนเวลาจึงทำให้ไม่สามารถดำเนินการโครงการได้ทันกำหนดในผีงบประมาณ พ.ศ.2564 จึงเห็นสมควรขออนุมัติยกเลิกโครงการฯ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 14.00 (2021-04-29)
29/04/2564 : อยู่ระหว่างทำหนังสือเสนอผู้อำนวยการสำนักอนามัยเพื่อขออนุมัติยกเลิกโครงการฯ ดังกล่าว
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ด้วยสถานการณ์ระบาดของโควิด19 ที่รวดเร็วและระบาดเป็นก้อนตั้งแต่ตลาดบางแคต่อเนื่องถึงทองหล่อทำให้กคร.ต้องระดมสรรพกำลังบุคลากรเพื่อควบคุมโรค และเจ้าหน้าของสำนักอนามัยทุกส่วนยังต้องปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันและควบคุมโรคดังกล่าว ด้วยเงื่อนไขและเงื่อนเวลาจึงทำให้ไม่สามารถดำเนินโครงการดังกล่าวให้เป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 14.00 (2021-03-24)
17/02/2564...อยู่ระหว่างขออนุมัติยกเลิกโครงการ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด19 ระลอกใหม่ยังพบผู้ป่วยสูงขึ้นเรื่อยๆ และตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม2564 พบการระบาดเป็นกลุ้มก้อนในพื้นที่เขตบางแค บางขุนเทียน เจ้าหน้าของกองควบคุมโรคติดต่อ รวมถึงพยาบาล นักวิชาการสาธารณสุขของศูนย์บริการสาธารณสุขซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของโครงการ ต้องระดมสรรพกำลังในการควบคุมโรคโควิดไม่ให้ระบาดในวงกว่้าง ประกอบกับต้องระดมกำลังให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิดให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครให้ทันเวลาตามนโยบายของรัฐบาล ด้วยเงื่อนไขและเงื่อนเวลาดังกล่าว กองควบคุมโรคติดต่อพิจารณาว่า กลุ่มเป้าหมายไม่สามารถที่จะเข้าร่วมประชุมตามแผนปฏิบัติงานที่โครงการกำหนดจึงได้ทำหนังสือเรียนผู้อำนวยการสำนักอนามัย เพื่อขออนุมัติยกเลิกโครงการ หมายเหตุ โครงการนี้ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณประจำปี
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 12.00 (2021-02-17)
17/02/2564 : ขออนุมัติโครงการและงบประมาณ
** ปัญหาของโครงการ :ปัญหาการระบาดโรค covid-19
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 12.00 (2021-01-26)
26/01/2564 : ขออนุมัติโครงการและงบประมาณ
** ปัญหาของโครงการ :ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ระลอกใหม่(ตั้งแต่15ธันวาคม 2563 จนถึงปัจจุบัน) เพื่อเป็นการควบคุมโรคไม่ให้ระบาดในวงกว้างและต้องทำงานแข่งกับเวลากองควบคุมโรคติดต่อต้องระดมสรรพกำลังเจ้าหน้าที่ทั้งหมดเพื่อมาปฏิบัติงานในศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019กรุงเทพมหานคร ซึ่งภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขดังกล่าวนี้อาจมีผลกระทบต่อโครงการตามแผนยุทธศาสตร์และงานประจำในปี2564
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2020-12-28)
28/12/2563 : -วางแผนการดำเนินโครงการ -เตรียมขออนุมัติโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ติดปัญหาการระบาดของโรค covid-19
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2020-11-23)
23/11/2563 : ศึกษาข้อมูลโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2020-10-27)
27/10/2563 : ขออนุมัติโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรมเสริมสร้างความรู้เรื่องโรคติดต่อที่สำคัญตามฤดูกาล (ผลผลิต)
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 80
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 94.12
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **