ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 60
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 78.87
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
ชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน และติดตามผลการดำเนินงานของพื้นที่
ติดตามการดำเนินงานโครงการฯของศูนย์บริการสาธารณสุข
ติดตามการดำเนินงานโครงการฯ และรวบรวมผลการทดสอบสมรรถภาพร่างกายของผู้เข้าร่วมโครงการฯของศูนย์บริการสาธารณสุข
การดำเนินงานในชุมชนของศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 69 แห่ง (69 ชุมชน) มีจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการฯ ทั้งสิ้นจำนวน 2,391 คน โดยกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมีความสามารถในการทรงตัวดีขึ้น จำนวน 1,886 คน คิดเป็นร้อยละ 78.87
- กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ หมายถึง ประชาชนในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย 2 กลุ่ม ได้แก่ ประชาชนก่อนวัยสูงอายุ (ช่วงอายุ 40-59 ปี) จำนวน 10 คน ประชาชนวัยผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) จำนวน 20 คนในชุมชน 68 แห่ง (1 ชุมชน ต่อ 1 ศูนย์บริการสาธารณสุข) อย่างน้อยชุมชนละ ๓๐ คน รวมจำนวนไม่น้อยกว่า 2,040 คน - ชุมชนเป้าหมาย เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ มีสถานที่ใช้จัดกิจกรรม - ความสามารถในการทรงตัวดีขึ้น หมายถึง การทดสอบการยืนขาเดียวสลับกันทั้ง 2 ข้าง (ซ้าย-ขวา) แล้วจับเวลาหน่วยวัดเป็นวินาที และนำผลการทดสอบมาเปรียบเทียบก่อนเข้าร่วมโครงการฯ และหลังเข้าร่วมโครงการฯ ดำเนินการในระยะเวลา 6 เดือน หากผลการทดสอบ พบว่าหลังการเข้าร่วมโครงการฯ กลุ่มเป้าหมาย สามารถยืนได้นานขึ้นกว่าเดิมแสดงว่า “ความสามารถในการทรงตัวดีขึ้น” เกณฑ์การคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการ 1. มีคะแนน ADL ตั้งแต่ 12 คะแนนขึ้นไป 2. ไม่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวด้านร่างกาย เช่น ภายหลังการผ่าตัดตา ผ่าตัดหลัง ผ่าตัดข้อเข่ามีข้อเข่าเสื่อมรุนแรง 3. สามารถสื่อสารภาษาไทยได้เข้าใจ 4. เป็นผู้ที่สามารถเข้าร่วมฝึกกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง 5. ไม่มีความเสี่ยงต่อการหกล้มโดยประเมินคัดกรองจากความสามารถในการทรงตัว (ถ้าผู้สูงอายุยืนขาเดียวแล้วยืนได้ไม่เกิน 5 วินาที ) แสดงว่ามีความเสี่ยงต่อการหกล้ม วิธีการทดสอบด้วยการยืนขาเดียว 1. ผู้รับการทดสอบยืนตรงบนพื้นเรียบ ยกมือทั้ง 2 ข้างเท้าสะเอวและยกขาข้างหนึ่งสูงห่างจากพื้นประมาณ 5 เซนติเมตร 2. ผู้ทดสอบให้สัญญาณเพื่อเริ่มการทดสอบและเริ่มจับเวลาเมื่อยกขาข้างหนึ่งขึ้น และหยุดจับเวลาเมื่อเท้าข้างที่ยกแตะพื้นหน่วยวัดเป็นวินาที 3. ผู้รับการทดสอบทำการทดสอบขาทั้ง 2 ข้าง สลับซ้ายข้างขวาจำนวน 2 รอบ
วิธีการประเมินผลการทดสอบ - บันทึกเวลาที่ดีที่สุดของขาแต่ละข้างที่ผู้รับการทดสอบสามารถทำได้ - วัดผลจำนวนประชาชนที่เข้าร่วมโครงการจนสิ้นสุดโครงการ วิธีคำนวณ (A/B) X 100 A = จำนวนประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีความสามารถในการทรงตัวดีขึ้น B = จำนวนประชาชนที่เข้าร่วมโครงการจนสิ้นสุดโครงการ
แบบรายงานการประเมินการประเมินสมรรถภาพร่างกาย ก่อน-หลัง
:ด้านที่ ๓ - มหานครสำหรับทุกคน : Bangkok as a City for All |
:๓.๑ - ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส ได้รับการดูแลอย่างครบวงจร |
:๓.๑.๓ ผู้สูงอายุได้รับการดูแลสุขภาพอย่างครบวงจรเพื่อคุณภาพชีวิตที่ด% |
:๓.๑.๓.๒ พัฒนาระบบบริการช่องทางด่วนให้กับผู้สูงอายุ (Fast Track) |