รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

16. ร้อยละความสำเร็จในการจัดทำแผนงานการก่อสร้าง/ปรับปรุงถนนตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่งที่ผังเมืองกำหนด หรือถนนที่มีการเชื่อมโยงกับสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (Feeder) (เจรจาตกลง) : 1000-0994

ค่าเป้าหมาย 1 แผนงาน : 100

ผลงานที่ทำได้ 1 แผนงาน : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(1 แผนงาน)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
7.00
100
100 / 100
2
30.00
100
100 / 100
3
40.00
100
100 / 100
4
100.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

อยู่ระหว่างจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

ประชุม คณะทำงานจัดทำแผนงานการก่อสร้างฯ ครั้งที่ 1/2563 วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563 เรียบร้อยแล้ว ประธานมีการมอบหมายหน้าที่ให้แต่ละหน่วยงานไปดำเนินการ และนำข้อมูลมาพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

ประชุมคณะทำงานจัดทำแผนงานการก่อสร้างฯ ครั้งที่ 2 วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน 2563 เรียบร้อยแล้ว มีการกำหนดจุดที่จะเข้าตรวจสอบในเดือนกรกฎาคม 2563 เพื่อนำมาจัดทำแผนงานจำนวน 3 จุด

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

1. ประชุมคณะทำงานจัดทำแผนงานการก่อสร้างฯ จำนวน 3 ครั้ง - ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563 - ครั้งที่ 2 วันที่ 18 มิถุนายน 2563 - ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2563 2. สรุปและกำหนดแผนงานร่วมกัน ระหว่าง สนย./สจส./สวพ. ได้แผนงานจำนวน 1 แผนงาน และได้เลือกโครงการ ที่จะร่วมลงพื้นที่สำรวจโครงการ จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการก่อสร้างปรับปรุงถนนบางแค ช่วงจากถนนเพชรเกษมถึง ถนนเทอดไท 2) โครงการก่อสร้างทางหลวงท้องถิ่น สายเชื่อมระหว่างถนนเพชรเกษม – ถนนหนองใหญ่ – ถนนกัลปพฤกษ์

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

แผนงานเชิงบูรณาการด้านการก่อสร้าง ปรับปรุงถนนตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ที่ผังเมืองกำหนด หมายถึง มีการกำหนดแผนงานร่วมกันของหน่วยงาน คือ สนย./สจส./สวพ.เพื่อพิจารณาและกำหนดแผนงานร่วมกัน สามารถแสดงถึงผลสำเร็จ/ผลลัพธ์ของการดำเนินงานของหน่วยงานร่วมดำเนินการภายใต้แผนงานบูรณาการฯ ให้แสดงถึงผลสำเร็จ/ผลลัพธ์ที่เกิดจากการดำเนินงาน โดยมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานให้ชัดเจนเพื่อไม่ให้เกิดการทำงาน ที่ซ้ำซ้อนและมีการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า การเชื่อมโยงโครงข่ายถนนกับสถานีรถไฟฟ้า การระบุตำแหน่งถนนที่มีการเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้า หรือถนนตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่งที่ผังเมืองกำหนด

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

มีแผนงานการก่อสร้าง/ปรับปรุงถนนตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่งที่ผังเมืองกำหนด หรือถนนที่มีการเชื่อมโยงกับสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (Feeder) จำนวน 1 แผนงาน และผลงานที่ทำได้ในแต่ละขั้นตอนเปรียบเทียบกับผลงานที่กำหนดไว้ เอกสารหลักฐาน : 1. หนังสือเชิญประชุมแต่งตั้งคณะทำงานการจัดทำแผนงาน 2. คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำแผนฯ 3. รายงานการประชุม 4. แผนงานการก่อสร้างถนน/ปรับปรุงถนนเพื่อเชื่อมโยงกับรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน จำนวน 1 แผนงานที่ได้จัดทำแล้วเสร็จ 5. สรุปรายงานผลการจัดทำแผนงาน

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

จัดทำแฟ้มเอกสารรายงานผลการดำเนินงาน

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๒ - มหานครสีเขียว สะดวกสบาย : Bangkok as a Green and Convenient City
:๒.๓ - ระบบขนส่งมวลชนทั่วถึง สะดวกประหยัด การจราจรคล่องตัวและมีทางเลือก
:๒.๓.๒ การจราจรมีความคล่องตัวไม่แออัด%
:๒.๓.๒.๑ เพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายถนนในกรุงเทพมหานคร

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง