รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

14. จำนวนถนน ทางยกระดับทางลอดใต้ทางแยก ฯลฯ ที่มีการเชื่อมโยงโครงข่ายถนน แก้ไขปัญหาคอขวด จุดตัดทางแยก (ถนนที่เสนอใหม่) (เจรจาตกลง) : 1000-0995

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ 100 : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ 100 : 75

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ 100)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
3.00
100
100 / 100
2
10.00
100
100 / 100
3
20.00
100
100 / 100
4
75.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

อยู่ระหว่างขั้นตอนเสนอโครงการ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

ประชุมคณะทำงานด้านการจัดทำแผนที่โครงการ ครั้งที่ 1 วันที่ 11 มีนาคม 2563 เรียบร้อยแล้ว ประธานคณะทำงานมีมติให้ผู้รับผิดชอบแต่ละหน่วยงานเร่งดำเนินงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินงานภาระกิจของตนเองให้ทันตามแผนการดำเนินงาน

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

ประชุมคณะทำงานด้านการจัดทำแผนที่โครงการ ครั้งที่ 2 วันที่ 18 มิถุนายน 2563 เรียบร้อยแล้ว ได้จัดทำแผนที่โครงการจำนวน 3 โครงการเรียบร้อยแล้ว ส่วนโครงการอยู่ระหว่างหาตัวผู้รับจ้าง เมื่อลงนามสัญญาแล้วจะส่งให้ กคส เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

สรุปผลการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้ 1. ประชุมคณะทำงานและจัดทำแผนที่โครงการ 3 เส้นทาง 2. นายศักดิ์ชัย บุญมา รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เห็นชอบและสั่งจ้างทั้ง 3 โครงการ 3. ทั้ง 3 โครงการ ลงนามสัญญาเรียบร้อยแล้ว 4. กองควบคุมการก่อสร้าง จัดทำแผนการดำเนินงานการก่อสร้าง/ประชุมเตรียมความพร้อมระหว่างเจ้าหน้าที่กองควบคุมการก่อสร้างและผู้รับจ้างโครงการ และลงพื้นที่ตรวจสอบบริเวณสถานที่ก่อสร้างโครงการ ความคืบหน้าคิดเป็นร้อยละ 75 ของค่าเป้าหมายตัวชี้วัด

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

นิยาม : ถนนที่มีการเชื่อมโยงโครงข่ายให้มีประสิทธิภาพ หมายถึงโครงการก่อสร้าง/ปรับปรุง/ขยายช่องจราจร จำนวนถนน ทางยกระดับ ทางลอดใต้ทางแยก (โครงการที่สามารถเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2563) ที่มีการดำเนินการเชื่อมโครงข่ายถนน ปรับปรุงหรือขยายช่องการจราจรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของถนนและมีการรายงานความก้าวหน้าของโครงการจำนวน 3 เส้นทาง แนวทางการดำเนินการ 1. ดำเนินการโครงการในปี พ.ศ.2563 จำนวน 3 เส้นทาง - โครงการก่อสร้างถนนเลียบคลองบางเขน เชื่อมถนนวิภาวดีรังสิต กับถนนพหลโยธิน (เพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายถนนวิภาวดีรังสิต และถนนพหลโยธินแก้ไขปัญหาการจราจรบนถนนงามวงศ์วาน ถนนวิภาวดีรังสิต ถนนพลโยธิน และถนนแจ้งวัฒนะ) นิยามและวิธีการคำนวณ - โครงการก่อสร้างปรับปรุงถนนเทิดราชัน sta 2+935 ถึงถนนเชิดวุฒากาศ (เพื่อเพิ่มโครงข่ายถนนนาวงประชาพัฒนากับถนนเชิดวุฒากาศ แก้ไขปัญหาการจราจรบนถนนสรงประภาให้เกิดความสะดวกและคล่องตัวยิ่งขึ้น และรองรับปริมาณการจราจรและการเติบโตของชุมชนที่เพิ่มขึ้น) - โครงการก่อสร้างปรับปรุงถนนแสมดำช่วงจากถนนพระรามที่ 2 ถึงคลองสนามชัย (เพื่อประสิทธิภาพการจราจรพื้นที่ฝั่งธนบุรีของกรุงเทพมหานคร แก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังบนถนนแสมดำ รองรับการเจริญเติบโตของชุมชนในพื้นที่เขตบางขุนเทียน เพื่อให้ประชาชนที่สัญจรไป-มา มีความสะดวกสบาย ปลอดภัยในการใช้เส้นทาง) 2. จัดทำแผนที่โครงการ โดยระบุความสำคัญ/เหตุผลความจำเป็นในการดำเนินโครงการ และประโยชน์ที่ได้รับจากการก่อสร้าง 3. ดำเนินการ งานตามแผนที่กำหนดไว้

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

ผลการดำเนินงานจำแนกตามช่วงเวลาการประเมิน ผลการดำเนินงานระยะ ครึ่งปีงบประมาณ ผลการดำเนินงานระยะ สิ้นปีงบประมาณ ผลงานที่ได้ : ลงนามสัญญา ผลงานที่ได้ : ผลความก้าวหน้าในการก่อสร้าง ร้อยละ 15

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

เอกสารหลักฐาน : 1. แผนงาน/เวลา การดำเนินงานการก่อสร้าง 2. รายงานความก้าวหน้าการก่อสร้างโครงการ 3. เอกสารการตรวจรับงาน 4. แผนที่โครงการ และสรุปโครงการที่ระบุเหตุผลความสำคัญ/เหตุผลความจำเป็นในการดำเนินโครงการและประโยชน์ที่ได้รับจากการก่อสร้างฯ 5. สัญญาจ้างก่อสร้าง

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๒ - มหานครสีเขียว สะดวกสบาย : Bangkok as a Green and Convenient City
:๒.๓ - ระบบขนส่งมวลชนทั่วถึง สะดวกประหยัด การจราจรคล่องตัวและมีทางเลือก
:๒.๓.๒ การจราจรมีความคล่องตัวไม่แออัด%
:๒.๓.๒.๑ เพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายถนนในกรุงเทพมหานคร

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง