ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 4
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 4
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
1. จัดส่งรายชื่อผู้ประสานงาน 2. ทบทวน วิเคราะห์ ความเสี่ยง ประเมินอันตรายจากจากการทำงานที่มีคะแนนประเมินอยู่ในระดับสูง 2 งาน 3. พิจารณาคัดเลือกงานที่มีความเสี่ยงในการทำงาน สำหรับงานต่อยอดพัฒนา 2 งาน 4. เวียนแจ้งข้อปฏิบัติฯ กลาง (การใช้รถยนต์) ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบและถือปฏิบัติโดยทั่วกัน พร้อมรายงานข้อปฏิบัติ ครั้งที่ 1 ตามแบบ R1 (63) 5. นำเสนอผู้บริหารรับทราบและให้ความเห็นชอบดำเนินการ 6. จัดทำโครงการและแผนปฏิบัติงานโครงการ ตามแบบ OCC2 (63) 7. ส่งหลักฐานให้สำนักอนามัย ช่วงที่ 2 ภายในเดือนธันวาคม 2562 เรียบร้ยอแล้ว
-จัดทำโครงการและแผนปฏิบัติงานโครงการ ตามแบบ OCC2 (63) นำเสนอให้ ผอ.สนน. พิจารณาสั่งการให้ส่วนราชการดำเนินการตามแผนปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวข้องภายในกำหนด เวียนแจ้งให้ส่วนราชการรายงานผลการปฏิบัติตามข้อปฏิบัติงาน ครั้งที่ 2 ภายในกำหนด
-อยู่ระหว่างดำเนินการประเมินผลความสำเร็จของการดำเนินโครงการ เพื่อจัดทำข้อปฏิบัตินำเสนอหัวหน้าหน่วยงานลงนำเพื่อนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป จัดเตรียมเอกสารการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ให้หน่วยงานภายในสังกัดและหน่วยงานภายนอกได้รับทราบเพื่อเป็นแนวทางนำไปปฏิบัติต่อไป
-ดำเนินการตามแผนงานที่กำหนดและรายงานผลการดำเนินงาน ส่งให้สำนักอนามัย ภายในวันที่ 17 สิงหาคม 2563 แล้ว ได้แก่ 1. รายงานการประเมินความสำเร็จของการดำเนินโครงการฯ แบบ OCC4(63) 2. สำเนาข้อปฏิบัติฯ ของหน่วยงาน แบบ OCC5(63) 3. สำเนาหนังสือเวียนทุกส่วนราชการทราบและถือปฏิบัติโดยทั่วกัน พร้อมหลักฐานการนำข้อปฏิบัติฯ ไปใช้ 4. สำเนาแบบการติดตามและประเมินผลการใช้ข้อปฏิบัติแบบ OCC6(63) 5. สำเนาหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ฯ พร้อมภาพถ่ายการดำเนินกิจกรรม 6. สำเนาแบบรายงานการใช้ข้อปฏิบัติฯ กลาง (การใช้รถยนต์) ครั้งที่ 3 แบบ R3 (63) 7. สำเนาหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงหัวหน้าหน่วยงานรับทราบผลการดำเนินงานภาพรวมของหน่วยงาน
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน หมายถึง การกระทำ หรือสภาพการทำงานซึ่งที่ปลอดภัยจากเหตุอันจะทำให้เกิดการประสบอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัยอันเนื่องจากการทำงานหรือเกี่ยวกับการทำงาน ดังนั้น การบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของ หน่วยงาน จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีในการทำงานให้กับบุคลากรได้ ตามมาตรา 3 วรรค 2 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน พ.ศ. 2554 ซึ่งกำหนดให้ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วน ท้องถิ่น และกิจการอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง ตามวรรคหนึ่ง จัดให้มีมาตรฐานในการบริหาร และจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานในหน่วยงานของ ตนไม่ต่ำกว่ามาตรฐานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำางานตาม พระราชบัญญัตินี้
ตามคู่มือหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินฯ
:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
:๗.๓ - การบริหารทรัพยากรบุคคล |
:๗.๓.๑ บุคลากรกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติงานแบบมืออาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นที่เชื่% |
:๗.๓.๑.๑ การพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ มีความเป็นมืออาชีพ |