รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการอำนวยความสะดวกด้านการจราจรของเจ้าหน้าที่เทศกิจตามโครงการเทศกิจอาสาพาน้องข้ามถนน/อาสาจราจร : 1500-1428

ค่าเป้าหมาย คะแนน : 4

ผลงานที่ทำได้ คะแนน : 4.212

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 0

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(คะแนน)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00
100
100 / 100
2
0.00
100
100 / 100
3
4.42
0
0 / 0
4
4.21
0
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

ทอดแบบสอบถามในเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2563

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

อยู่ระหว่างประมวลผลแบบสอบถามความพึงพอใจของประชาชนต่อการอำนวยความสะดวกด้านการจราจร ของเจ้าหน้าที่เทศกิจตามโครงการเทศกิจอาสาพาน้องข้ามถนน/อาสาจราจร

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

คะแนนความพึงพอใจของประชาชนต่อการอำนวยความสะดวกด้านการจราจรของเจ้าหน้าที่เทศกิจตามโครงการเทศกิจอาสาพาน้องข้ามถนน/อาสาจราจร ในช่วงเดือนตุลาคม 2562 ถึงเดือนมีนาคม 2563 = 4.423

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

คะแนนความพึงพอใจของประชาชนต่อการอำนวยความสะดวกด้านการจราจรของเจ้าหน้าที่เทศกิจตามโครงการเทศกิจอาสาพาน้องข้ามถนน/อาสาจราจร ในช่วงเดือนเมษายน 2563 ถึงเดือนกันยายน 2563 = 4.002 เฉลี่ย 2 ครั้ง ได้ 4.212 คะแนน

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

1. การปฏิบัติหน้าที่อำนวยความสะดวกด้านการจราจร หมายถึง สำนักเทศกิจจัดเจ้าหน้าที่เทศกิจปฏิบัติงานดูแลความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกด้านการจราจร ในช่วงเวลาเร่งด่วน 2. พื้นที่ในการปฏิบัติหน้าที่ฯ หมายถึง บริเวณทางเข้า - ออกสำนักเทศกิจ หน้าโรงเรียนใกล้เคียงสำนักเทศกิจ และบริเวณที่แต่ละสำนักงานเขตกำหนด 3. ประชาชน หมายถึง ผู้สัญจรบริเวณพื้นที่ปฏิบัติการของเทศกิจอาสาจราจร 4. ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกเชิงบวกของประชาชนต่อการอำนวยความสะดวกด้านการจราจรของเจ้าหน้าที่เทศกิจในพื้นที่ โดยแบ่งพื้นที่เป็นของสำนักเทศกิจ จำนวน 5 จุด และพื้นที่ของสำนักงานเขต จำนวน 343 จุด รวมทั้งหมด 348 จุด

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

ระดับความพึงพอใจฯ คิดจากการค่าหาเฉลี่ย ดังนี้ ค่าเฉลี่ย =((W1 × X1) + (W2× X2) + (W3 × X3) + (W4 × X4) + (W5 × X5)) ÷ n W1 คือ จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามในระดับมากที่สุด W2 คือ จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามในระดับมาก W3 คือ จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามในระดับปานกลาง W4 คือ จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามในระดับน้อย W5 คือ จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามในระดับน้อยที่สุด X1 คือ ค่าระดับความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเป็น 5 X2 คือ ค่าระดับความพึงพอใจมาก มีค่าเป็น 4 X3 คือ ค่าระดับความพึงพอใจปานกลาง มีค่าเป็น 3 X4 คือ ค่าระดับความพึงพอใจน้อย มีค่าเป็น 2 X5 คือ ค่าระดับความพึงพอใจน้อยที่สุด มีค่าเป็น 1 n คือ จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด โดยกำหนดค่าเฉลี่ยออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.51 – 5.00 หมายถึง ความพึงพอใจระดับมากที่สุด 3.51 – 4.50 หมายถึง ความพึงพอใจระดับมาก 2.51 – 3.50 หมายถึง ความพึงพอใจระดับปานกลาง 1.51 – 2.50 หมายถึง ความพึงพอใจระดับน้อย 1.00 – 1.50 หมายถึง ความพึงพอใจระดับน้อยที่สุด

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

ระดับความพึงพอใจได้จากการทำแบบสอบถามประชาชน โดยดำเนินการ ดังนี้ - เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,000 ชุด โดยใช้แบบ สอบถามความพึงพอใจของประชาชนต่อการอำนวยความสะดวกด้านการจราจรของเจ้าหน้าที่เทศกิจ กำหนดระดับความพึงพอใจในความปลอดภัยฯ แบ่งเป็น 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด - ทำแบบสอบถามผ่านเว็บไซต์หรือผ่านระบบการสแกน QR Code

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๓ - ปลอดอุบัติเหตุ
:๑.๓.๑ ลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุจราจร%
:๑.๓.๑.๑ ปรับปรุงสภาพถนนและจุดเสี่ยงอันตราย

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง