รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ระดับความสำเร็จของการตรวจสอบ กำกับและติดตามการดำเนินงาน กรณี คลองสายหลักที่ได้รับการปรับปรุงภูมิทัศน์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ : 1500-1472

ค่าเป้าหมาย ครบขั้นตอน : 5

ผลงานที่ทำได้ ครบขั้นตอน : 5

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 0

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ครบขั้นตอน)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
1.00
95
95 / 100
2
3.00
0
0 / 0
3
4.00
0
0 / 0
4
5.00
0
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

อยู่ในขั้นตอนที่ 1 การวางแผน โดยอยู่ระหว่างเตรียมจัดประชุมชี้แจงให้กับฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขต ทราบ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

อยู่ในขั้นตอนที่ 3 เจ้าหน้าที่เทศกิจออกปฏิบัติการตรวจสอบ กำกับ และติดตามประเมินผลการดำเนินงานของฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขต โดยจัดทำรายงานผลการตรวจตราคลองสายหลัก 20 แนวคลอง หรือจำนวน 39 คลอง เสนอผู้บริหารกรุงเทพมหานครพิจารณาต่อไป

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

อยู่ในขั้นตอนที่ 4 - มีการจัดทำแผน จัดทำแนวทางการตรวจพื้นที่เป้าหมาย หลักเกณฑ์การตรวจพื้นที่เป้าหมาย จัดประชุมชี้แจงฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขต - กำหนดวิธีและรูปแบบการรายงานผลการตรวจ - จัดเจ้าหน้าที่ของสำนักเทศกิจออกตรวจสอบ กำกับ และติดตามประเมินผลการดำเนินงานของฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขต - จัดทำรายงานผลการตรวจตราคลองสายหลัก 20 แนวคลอง หรือจำนวน 39 คลอง เสนอผู้บริหารกรุงเทพมหานครพิจารณา และผู้บริหารสำนักเทศกิจ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

ดำเนินการครบ 5 ขั้นตอน ผลการสำรวจความพึงพอใจของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับการจัดระเบียบคลองสายหลักได้รับการปรับปรุงภูมิทัศน์ อยู่ที่ระดับ 4 คะแนน

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

1. คลองสายหลัก หมายถึง คลองที่สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร กำหนดให้มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (รายชื่อคลองตามเอกสารแนบ) 2. การปรับปรุงภูมิทัศน์คลองสายหลัก หมายถึง กระบวนการดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักเทศกิจ และฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขต 50 สำนักงานเขต ในการดูแล ตรวจตราความเป็นระเบียบเรียบร้อยของคลองสายหลักที่กรุงเทพมหานครกำหนดให้มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ภายใต้เกณฑ์ในการตรวจ และจัดระเบียบคลองที่สำนักเทศกิจกำหนด (รายละเอียดตามเอกสารแนบ) เพื่อให้คลองมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด และสวยงาม 3. เกณฑ์ในการตรวจ และจัดระเบียบคลองสายหลักในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยเกณฑ์ด้านกายภาพ เกณฑ์การปรับปรุงภูมิทัศน์ และเกณฑ์การดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยของคลอง จำนวน 12 ข้อ (รายละเอียดตามเอกสารแนบ) 4. การจัดระเบียบคลอง หมายถึง กระบวนการดำเนินงานตามรูปแบบ แบบแผน หลักเกณฑ์ วิธีการที่วางไว้เป็นแนวปฏิบัติ เพื่อควบคุม ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยของคลองสายหลักที่ได้รับการปรับปรุงภูมิทัศน์

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

กำหนดเป็นระดับขั้นของความสำเร็จ (Milestone) แบ่งเกณฑ์การให้คะแนนเป็น 5 ระดับ พิจารณาจากความก้าวหน้าของขั้นตอนการดำเนินงานตามเป้าหมายแต่ละระดับดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน (Planning) มีการจัดทำแผน/Roadmap/แนวทางการปฏิบัติการตรวจพื้นที่เป้าหมายในเชิงบูรณาการระหว่างสำนักเทศกิจ และฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขต การกำหนดหลักเกณฑ์การตรวจและเงื่อนไขในการจัดระเบียบคลองสายหลักที่ได้รับการปรับปรุงภูมิทัศน์ รวมทั้งการสร้างความเข้าใจแก่สำนักงานเขต ด้วยวิธีการ เช่น การจัดประชุม การจัดทำประกาศ การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน ฯลฯ ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติตามแผน (Implementation) (ขั้นตอนที่ 2 - 4) มีการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบการทำงานของสำนักงานเขตให้ดำเนินการไปตามแผนปฏิบัติการหรือเป้าหมายที่กำหนด ทั้งในส่วนของแผนปฏิบัติการตรวจพื้นที่เป้าหมายในเชิงบูรณาการระหว่างสำนักเทศกิจ และสำนักงานเขต และแผนปฏิบัติการตรวจสอบเชิงรุกและลับการดำเนินงานของฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขต ทั้งนี้ สำนักเทศกิจต้องดำเนินการดังนี้ กำหนดหลักเกณฑ์รูปแบบและวิธีการรายงานผลการตรวจตามแผนปฏิบัติการเพื่อให้การตรวจสอบ กำกับและติดตามประเมินผลการดำเนินงานมีความชัดเจน ขั้นตอนที่ 3 จัดเจ้าหน้าที่ของสำนักเทศกิจออกปฏิบัติการตรวจสอบ กำกับ และติดตามประเมินผลการดำเนินงานของฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขต ขั้นตอนที่ 4 จัดทำรายงานผลการตรวจพื้นที่เป้าหมายในเชิงคุณภาพ แสดงข้อเท็จจริงที่ตรวจพบ แสดงการประเมินผล ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะ/แนวทางในการปรับปรุงแก้ไขที่เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขต ทุกเดือน รวมทั้งส่งรายงานต่อผู้บริหารสำนักเทศกิจและผู้บริหารกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณา ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผล (Evaluation) มีการสำรวจความพึงพอใจของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับการจัดระเบียบคลองสายหลักได้รับการปรับปรุงภูมิทัศน์

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1. แผน/Roadmap/แนวทางการปฏิบัติในเชิงบูรณาการระหว่างสำนักเทศกิจ และฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขต 2. หลักเกณฑ์การตรวจและเงื่อนไขในการจัดระเบียบคลองสายหลักที่ได้รับการปรับปรุงภูมิทัศน์ 3. รายงานการประชุม 4. รายงานการออกตรวจพื้นที่ 5. เอกสารรายงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๒ - มหานครสีเขียว สะดวกสบาย : Bangkok as a Green and Convenient City
:๒.๑ - ภูมิทัศน์สวยงาม
:๒.๑.๑ กรุงเทพมหานครจัดระเบียบเมือง ปรับปรุงทัศนียภาพของเมืองให้แลดูสะอาด ไม่มีสายไฟฟ้า%
:๒.๑.๑.๑ ตลาดหรือแผงค้าขายที่กีดขวางทางเท้า กีดขวางการจราจรและบดบังทัศนียภาพ ได้รับการจัดระเบียบได้ครบทุกกลุ่มเขต

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง