ค่าเป้าหมาย ครบขั้นตอน : 5
ผลงานที่ทำได้ ครบขั้นตอน : 5
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
ดำเนินการขั้นตอนที่ 1 สำนักเทศกิจ จัดประชุมเครือข่ายถนนเฉลิมพระเกียรติ เพื่อชี้แจงโครงการ แนวทางการทำงาน เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2563 ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร โดยมีรองปลัดกรุงเทพมหานคร (นายขจิต ชัชวานิชย์) เป็นประธานการประชุม
ปัจจุบันดำเนินการได้ 4 ขั้นตอน กรุงเทพมหานครโดยสำนักเทศกิจ สำนักงานเขต และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการ ตามขั้นตอนความสำเร็จ ดังนี้ - มีการจัดการประชุมเครือข่ายทั้งหน่วยงานใน และนอกสังกัด กทม.เพื่อ ประสานความร่วมมือโดย จัดประชุมเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2563 ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เพื่อหารือแนวทางการดำเนินการสร้างเครือข่ายกับ ภาคส่วนต่างๆให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ - มีการจัดทำหนังสือเชิญภาคี/เครือข่ายร่วมโครงการ เช่น ประชาชน ผู้ขับขี่ รถจักรยานยนต์รับจ้าง เจ้าของอาคาร เป็นต้น - สำนักเทศกิจแจ้งให้สำนักงานเขตจัดตั้งกลุ่มไลน์เพื่อเพิ่มภาคีเครือข่ายในการรักษาสภาพภูมิทัศน์ ถนนเฉลิมพระเกียรติให้สวยงามยั่งยืน - สำนักเทศกิจและสำนักงานเขตจัดเจ้าหน้าที่ ออกตรวจสอบสนับสนุนการปฏิบัติงานในเชิงพื้นที่และรายงานผลการตรวจถนนเฉลิมพระเกียรติเป็นประจำทุกเดือน
ปัจจุบันดำเนินการได้ 4 ขั้นตอน กรุงเทพมหานครโดยสำนักเทศกิจ สำนักงานเขต และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการ ตามขั้นตอนความสำเร็จ ดังนี้ - มีการจัดการประชุมเครือข่ายทั้งหน่วยงานใน และนอกสังกัด กทม.เพื่อ ประสานความร่วมมือโดย จัดประชุมเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2563 ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เพื่อหารือแนวทางการดำเนินการสร้างเครือข่ายกับ ภาคส่วนต่างๆให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ - มีการจัดทำหนังสือเชิญภาคี/เครือข่ายร่วมโครงการ เช่น ประชาชน ผู้ขับขี่ รถจักรยานยนต์รับจ้าง เจ้าของอาคาร เป็นต้น - สำนักเทศกิจแจ้งให้สำนักงานเขตจัดตั้งกลุ่มไลน์เพื่อเพิ่มภาคีเครือข่ายในการรักษาสภาพภูมิทัศน์ ถนนเฉลิมพระเกียรติให้สวยงามยั่งยืน - สำนักเทศกิจและสำนักงานเขตจัดเจ้าหน้าที่ ออกตรวจสอบสนับสนุนการปฏิบัติงานในเชิงพื้นที่และรายงานผลการตรวจถนนเฉลิมพระเกียรติเป็นประจำทุกเดือน - จัดทำรายงานการตรวจของคณะกรรมการอำนวยการ ครั้งที่ 1 ตามโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ พัฒนาถนน 50 เขตเฉลิมพระเกียรติฯ และโครงการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจและสร้างเครือข่ายการจัดระเบียบเมืองของกรุงเทพมหานคร (เฉพาะถนนเฉลิมพระเกียรติ) เสนอปลัดกรุงเทพมหานครทราบ - จัดทำรายงานผลการตรวจถนนเฉลิมพระเกียรติฯ ประจำเดือน เรียนปลัดกรุงเทพมหานครทราบ
สำนักเทศกิจ ดำเนินการครบ 5 ขั้นตอน โดยได้จัดทำรายงานผลการดำเนินงานปรับปรุงภูมิทัศน์/พัฒนาถนนเฉลิมพระเกียรติฯ เพื่อใช้ในการปรับปรุงพัฒนางานต่อไป
1. การสร้างความร่วมมือเพื่อการจัดระเบียบเมือง เป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน หน่วยงาน องค์กร ฯลฯ ในระดับความร่วมมือ (Collaboration) ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่การสนับสนุนให้ประชาชนเข้ามาเป็นหุ้นส่วนกับกรุงเทพมหานครตั้งแต่การระบุปัญหา การพัฒนาทางเลือก และการกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา เพื่อให้เมืองมีภูมิทัศน์ที่สะอาด สวยงาม ทั้งนี้ การดำเนินงานตามตัวชี้วัดนี้เป็นการรักษาสถานภาพของเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการปรับปรุงภูมิทัศน์/พัฒนาถนนเฉลิมพระเกียรติฯ ที่มีอยู่เดิมให้มีความเข้มแข็ง เพื่อช่วยทำหน้าที่บำรุงรักษา คงสภาพความสวยงามของถนนเอาไว้ 2. ถนนเฉลิมพระเกียรติ หมายถึง ถนนและทางเท้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ภายใต้โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์พัฒนาถนน 50 เขต เฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ที่ดำเนินการเรียบร้อย (สมบูรณ์) แล้วในปี พ.ศ. 2563 และยังมีความจำเป็นต้องได้รับการดูแล รักษาสภาพของถนนไว้ให้สวยงาม โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชน 3. เครือข่ายความร่วมมือเพื่อการจัดระเบียบเมือง หมายถึง กลุ่มคน หรือองค์กร มูลนิธิ ชมรม สมาคม กลุ่ม หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคธุรกิจ ที่สำนักเทศกิจได้ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนหรือทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อวางแผน ผลักดัน ดูแล รักษา และพัฒนาให้เมืองมีความเป็นระเบียบ เรียบร้อย สะอาด สวยงาม 4. การจัดระเบียบเมือง หมายถึง กระบวนการที่เครือข่าย/ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีการกระทำร่วมกัน หรือมีส่วนร่วมกันในด้านสังคม เพื่อให้เกิดการประพฤติปฏิบัติตามรูปแบบ แบบแผน หลักเกณฑ์ วิธีการที่กรุงเทพมหานครกำหนดขึ้น เพื่อให้เมืองมีภูมิทัศน์ที่สะอาด สวยงาม
กำหนดเป็นระดับขั้นของความสำเร็จ (Milestone) แบ่งเกณฑ์การให้คะแนนเป็น 5 ระดับ พิจารณาจากความก้าวหน้าของขั้นตอน การดำเนินงานตามเป้าหมายแต่ละระดับดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การรักษาสถานภาพของเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการปรับปรุงภูมิทัศน์/พัฒนาถนนเฉลิมพระเกียรติฯ ที่มีอยู่เดิม มีการจัดกิจกรรมเพื่อรักษาสถานภาพของเครือข่ายความร่วมมือ อาทิ การเพิ่มสมาชิกของเครือข่าย การจัดประชุม การพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การรักษาสัมพันธภาพที่ดี การติดต่อสื่อสาร/ส่งข่าวสารระหว่างสมาชิกเครือข่าย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกในเครือข่าย ขั้นตอนที่ 2 การวางแผน (Planning) - มีการจัดทำแผน /แนวทางการดำเนินงาน โครงการ/กิจกรรมความร่วมมือเพื่อการปรับปรุงภูมิทัศน์/พัฒนาถนนเฉลิมพระเกียรติฯ - มีการจัดทำข้อกำหนดในการตรวจ ดูแล และรักษาสภาพถนนเฉลิมพระเกียรติ ฯ ขั้นตอนที่ 3 การปฏิบัติตามแผน (Implementation) (ขั้นตอนที่ 3 - 4) มีการนำโครงการ/กิจกรรมที่ได้กำหนดไว้ในแผนไปดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด ขั้นตอนที่ 4 มีการจัดเจ้าหน้าที่ออกปฏิบัติการตรวจสอบ สนับสนุนการปฏิบัติงานในเชิงพื้นที่ และจัดทำรายงานผลการตรวจพื้นที่เป้าหมายในเชิงคุณภาพ เป็นประจำทุกเดือน โดยรายงานจะต้องแสดงข้อเท็จจริงที่ตรวจพบ ให้ข้อเสนอแนะ/แนวทางในการปรับปรุงแก้ไขที่เป็นประโยชน์ สอดคล้องกับสถานการณ์/สภาพปัญหาของถนนเฉลิมพระเกียรติในแต่ละเส้นทาง ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผล (Evaluation) มีการเก็บรวบรวมข้อมูล จัดทำข้อมูล และจัดทำรายงานผลการประเมินผลการดำเนินงานปรับปรุงภูมิทัศน์/พัฒนาถนนเฉลิมพระเกียรติ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องในทุกระดับสามารถนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุง/พัฒนางานในระยะต่อไป
เก็บข้อมูลจากแผน/รายงานการดำเนินงานแต่ละขั้นตอน เอกสารหลักฐาน 1. เอกสารข้อตกลงความร่วมมือ รูปภาพ วิดีโอ วิดีทัศน์ หรือสื่อต่าง ๆ ที่แสดงถึงการดำเนินงานร่วมกัน 2. เอกสารรายงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น 3. แหล่งข้อมูลแสดงการเผยแพร่การดำเนินโครงการ
:ด้านที่ ๒ - มหานครสีเขียว สะดวกสบาย : Bangkok as a Green and Convenient City |
:๒.๑ - ภูมิทัศน์สวยงาม |
:๒.๑.๑ กรุงเทพมหานครจัดระเบียบเมือง ปรับปรุงทัศนียภาพของเมืองให้แลดูสะอาด ไม่มีสายไฟฟ้า% |
:๒.๑.๑.๑ ตลาดหรือแผงค้าขายที่กีดขวางทางเท้า กีดขวางการจราจรและบดบังทัศนียภาพ ได้รับการจัดระเบียบได้ครบทุกกลุ่มเขต |