ค่าเป้าหมาย ครบขั้นตอน : 5
ผลงานที่ทำได้ ครบขั้นตอน : 5
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
อยู่ระหว่างจัดทำแผน แนวทางปฏิบัติระหว่างสำนักเทศกิจ และฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขต
1.สำนักงานตรวจและบังคับการ สำนักเทศกิจ จัดประชุมซักซ้อมแนวทางปฏิบัติตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดระเบียบหาบเร่-แผงลอย ของสำนักเทศกิจ และแจ้งสำนักงานเขตผ่านที่ประชุมผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสำนักเทศกิจและหัวหน้าฝ่ายเทศกิจ 2.มีการกำหนดรูปแบบและการรายงานผล 3.การจัดเจ้าหน้าที่ของสำนักเทศกิจออกปฏิบัติตรวจ อย่างน้อย 1 ครั้ง/จุด/เดือน
ดำเนินการได้ 4 ขั้นตอน 1.สำนักงานตรวจและบังคับการ สำนักเทศกิจ จัดประชุมซักซ้อมแนวทางปฏิบัติตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดระเบียบหาบเร่-แผงลอย ของสำนักเทศกิจ และแจ้งสำนักงานเขตผ่านที่ประชุมผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสำนักเทศกิจและหัวหน้าฝ่ายเทศกิจ 2.มีการกำหนดรูปแบบและการรายงานผล 3.การจัดเจ้าหน้าที่ของสำนักเทศกิจออกปฏิบัติตรวจ อย่างน้อย 1 ครั้ง/จุด/เดือน 4.รายงานผลการตรวจพื้นที่ทำการค้าต่อผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ และผู้บริหารกรุงเทพมหานครพิจารณา
ผลสำเร็จของการดำเนินงานในขั้นตอนที่ 5 สำนักเทศกิจจัดทำรายงานผลการตรวจพื้นที่เชิงคุณภาพ รายงานผลสำรวจความพึงพอใจ และรายงานผลการจับกุมและดำเนินคดี ผู้กระทำผิดฯ ตามมาตรา 20 เพื่อใช้ในการปรับปรุงและพัฒนางาน ต่อไป
1. “การตรวจสอบ กำกับ ดูแล สนับสนุนการปฏิบัติงาน และติดตามประเมินผลการบังคับการตามกฎหมาย” เป็นการปฏิบัติงานตามภารกิจหลัก และอำนาจหน้าที่ของสำนักเทศกิจ ในการตรวจ และพิจารณาเพื่อค้นหาประเด็นหรือข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งการดูแล ช่วยเหลือ ให้การสนับสนุนการดำเนินงานของฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขต ตลอดจนการให้ข้อแนะนำ หรือชี้นำเกี่ยวกับการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และหนังสือต่าง ๆ ภายใต้อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวข้องกับการค้าและการขายหรือจำหน่ายสินค้าในที่สาธารณะของกรุงเทพมหานคร โดยมุ่งเน้นความเข้มงวด จริงจัง ตรงไปตรงมา และความต่อเนื่องในการดำเนินการเพื่อให้ฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขตปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล และเพื่อให้พื้นที่ที่มีการค้าและการขายหรือจำหน่ายมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด และสวยงาม 2. การค้าและการขายหรือจำหน่ายสินค้า หมายถึง การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าที่ถูกต้องตามกฎหมายและหรือตามที่กรุงเทพมหานครกำหนดไว้ 3. ที่สาธารณะ หมายถึง พื้นที่สำหรับประชาชนทั่วไปที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ผู้ใดจะเข้ายึดถือครอบครองเพื่อประโยชน์แต่เฉพาะตนนั้นไม่ได้เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่ระเบียบและกฎหมายกำหนดไว้ หากฝ่าฝืนจะมีความผิดและได้รับโทษตามประมวลกฎหมายที่ดินหรือกฎหมายอื่นที่กำหนดไว้โดยเฉพาะพนักงานเจ้าหน้าที่จะอนุญาตให้บุคคลได้ใช้ประโยชน์ในที่สาธารณะเพื่อประโยชน์แห่งตนได้ก็เฉพาะกรณีที่มีระเบียบและกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะเท่านั้น
กำหนดเป็นระดับขั้นของความสำเร็จ (Milestone) แบ่งเกณฑ์การให้คะแนนเป็น 5 ระดับ พิจารณาจากความก้าวหน้าของขั้นตอนการดำเนินงานตามเป้าหมายแต่ละระดับดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน (Planning) มีการจัดทำแผน/Roadmap/แนวทางการปฏิบัติในเชิงบูรณาการระหว่างสำนักเทศกิจ และฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขต การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดระเบียบพื้นที่ทำการค้า และการขาย หรือจำหน่ายสินค้า ในที่สาธารณะ รวมทั้งการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่สำนักงานเขต ด้วยวิธีการต่าง ๆ อาทิ การจัดประชุม การจัดทำประกาศ การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน ฯลฯ ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติตามแผน (Implementation) (ขั้นตอนที่ 2 - 4) มีการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบการทำงานของสำนักงานเขตให้ดำเนินการไปตามแผนปฏิบัติการหรือเป้าหมายที่กำหนด ทั้งในส่วนของแผนปฏิบัติการตรวจพื้นที่เป้าหมายในเชิงบูรณาการระหว่างสำนักเทศกิจ และสำนักงานเขต และแผนปฏิบัติการตรวจสอบเชิงรุกและลับการดำเนินงานของฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขต ทั้งนี้ สำนักเทศกิจต้องดำเนินการดังนี้ - กำหนดรูปแบบ และวิธีการรายงานผลการตรวจตามแผนปฏิบัติการเพื่อให้การตรวจสอบ กำกับ ดูแล สนับสนุนการปฏิบัติงาน และติดตามประเมินผลมีความชัดเจน และสอดคล้องกับสถานการณ์/สภาพปัญหาในแต่ละพื้นที่เป้าหมาย ขั้นตอนที่ 3 จัดเจ้าหน้าที่ของสำนักเทศกิจออกปฏิบัติการตรวจสอบ กำกับ ดูแล สนับสนุนการปฏิบัติงานและติดตามประเมินผลการดำเนินงานของฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขต ขั้นตอนที่ 4 จัดทำรายงานผลการตรวจพื้นที่เป้าหมายในเชิงคุณภาพ แสดงข้อเท็จจริงที่ตรวจพบ แสดงการประเมินผล ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะ/แนวทางในการปรับปรุงแก้ไขที่เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขต ทุกเดือน รวมทั้งส่งรายงานต่อผู้บริหารสำนักเทศกิจ และผู้บริหารกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณาอย่างสม่ำเสมอ ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผล (Evaluation) มีการเก็บรวบรวมข้อมูล จัดทำข้อมูล และจัดทำรายงานผลการประเมินผลการดำเนินงานเรื่องการค้าและการขายหรือจำหน่ายสินค้าในที่สาธารณะของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องในทุกระดับทั้งสำนักงานเขต สำนักเทศกิจ และผู้บริหารกรุงเทพมหานคร สามารถนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุง/พัฒนางานในระยะต่อไป สิ่งที่ต้องดำเนินการ เช่น - เก็บรวบรวมข้อมูลจากผลการตรวจพื้นที่ในเชิงคุณภาพ - การสำรวจความพึงพอใจ /ความรู้สึกหรือทัศนคติของผู้ที่เกี่ยวข้อง - เก็บรวบรวมข้อมูลสถิติต่าง ๆ เช่น สถิติการกระทำความผิด สถิติยอดขาย สถิติปริมาณขยะ สถิติปริมาณการใช้ไฟและน้ำ สถิติข้อร้องเรียน สถิติคุณภาพอาหาร สถิติการสึกหรอ ของพื้นผิวทางเท้า สถิติความสะอาดของแผงค้า เป็นต้น และปรับข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ - เก็บรวบรวมข้อมูลอื่น ๆ จากฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขต เช่น สถิติการจับกุม ดำเนินคดี เปรียบเทียบปรับ เป็นต้น
เก็บข้อมูลจากแผน/รายงานการดำเนินงานแต่ละขั้นตอน เอกสารหลักฐาน 1. แผน/Roadmap/แนวทางการปฏิบัติในเชิงบูรณาการระหว่าง สำนักเทศกิจ และฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขต 2. หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดระเบียบพื้นที่ทำการค้า และการขาย หรือจำหน่ายสินค้า ในที่สาธารณะ 3. รายงานการประชุม 4. รายงานการออกตรวจพื้นที่ 5. เอกสารรายงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น
:ด้านที่ ๒ - มหานครสีเขียว สะดวกสบาย : Bangkok as a Green and Convenient City |
:๒.๑ - ภูมิทัศน์สวยงาม |
:๒.๑.๑ กรุงเทพมหานครจัดระเบียบเมือง ปรับปรุงทัศนียภาพของเมืองให้แลดูสะอาด ไม่มีสายไฟฟ้า% |
:๒.๑.๑.๑ ตลาดหรือแผงค้าขายที่กีดขวางทางเท้า กีดขวางการจราจรและบดบังทัศนียภาพ ได้รับการจัดระเบียบได้ครบทุกกลุ่มเขต |