ค่าเป้าหมาย ครบขั้นตอน : 5
ผลงานที่ทำได้ ครบขั้นตอน : 5
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
1. สนท.ได้ออกตรวจพร้อมทั้งร่วมปฏิบัติหน้าที่กับ สนข.1 ครั้ง /สัปดาห์ 2. สนท.ได้พบผู้กระทำความผิดตั้งแต่ 1 ต.ค. - 30 ธ.ค. 63 จำนวน 113 ราย ว่ากล่าวตั้งเตือน 74 ราย จับ-ปรับ 39 ราย เป็นเงิน 70,500 บาท 3. สนข. ได้พบผู้กระทำความผิดตั้งแต่
ดำเนินการถึงขั้นตอนที่ 4 จากทั้งหมด 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การวางแผน 2. การกำหนดรูปแบบ และวิธีการรายงานผลการตรวจตามแผนปฏิบัติการ 3. จัดเจ้าหน้าที่ของสำนักเทศกิจออกปฏิบัติ 4. จัดทำรายงานผลการตรวจพื้นที่เป้าหมายในเชิงคุณภาพ ตลอดจนข้อเสนอแนะ/แนวทางการปรับปรุงแก้ไขที่เป็นประโยชน์ 5. การประเมินผล มีการเก็บข้อมูล จัดทำข้อมูล และรายงานผู้บริหารกรุงเทพมหานคร 5.1 ข้อมูลการจัดเก็บแบ่งเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย 5.1.1 สำนักเทศกิจดำเนินการร่วมกับ สำนักงานเขต สรุปผลการดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2563 - กุมภาพันธ์ 2564 พบผู้กระทำความผิด 190 ราย ว่ากล่าวตักเตือน 115 ราย จับ-ปรับ 75 ราย เป็นเงิน 134,000 บาท 5.1.2 สำนักงานเขตดำเนินการ สรุปผลการดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2563 - กุมภาพันธ์ 2564 พบผู้กระทำความผิด 2,475 ราย ว่ากล่าวตักเตือน - ราย จับ-ปรับ 2,475 ราย เป็นเงิน 3,384,500 บาท 5.2 มีการรายงานผลให้ผู้บริหารกรุงเทพมหานครทราบ เดือนละ 2 ครั้ง
ดำเนินการถึงขั้นตอนที่ 4 จากทั้งหมด 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การวางแผน 2. การกำหนดรูปแบบ และวิธีการรายงานผลการตรวจตามแผนปฏิบัติการ 3. จัดเจ้าหน้าที่ของสำนักเทศกิจออกปฏิบัติ 4. จัดทำรายงานผลการตรวจพื้นที่เป้าหมายในเชิงคุณภาพ ตลอดจนข้อเสนอแนะ/แนวทางการปรับปรุงแก้ไขที่เป็นประโยชน์ 5. การประเมินผล มีการเก็บข้อมูล จัดทำข้อมูล และรายงานผู้บริหารกรุงเทพมหานคร 5.1 ข้อมูลการจัดเก็บแบ่งเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย 5.1.1 สำนักเทศกิจดำเนินการร่วมกับ สำนักงานเขต สรุปผลการดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2563 - พฤษภาคม 2564 พบผู้กระทำความผิด 318 ราย ว่ากล่าวตักเตือน 167 ราย จับ-ปรับ 151 ราย เป็นเงิน 271,500 บาท 5.1.2 สำนักงานเขตดำเนินการ สรุปผลการดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2563 - พฤษภาคม 2564 พบผู้กระทำความผิด 3,635 ราย ว่ากล่าวตักเตือน - ราย จับ-ปรับ 3,635 ราย เป็นเงิน 4,918,600 บาท 5.2 มีการรายงานผลให้ผู้บริหารกรุงเทพมหานครทราบ เดือนละ 2 ครั้ง
ผลสำเร็จของการดำเนินงานในขั้นตอนที่ 5 สำนักเทศกิจจัดทำรายงานสรุปผลการตรวจพื้นที่ตามโครงการและรายงานผลสำรวจความพึงพอใจ เพื่อใช้ในการปรับปรุงและพัฒนางานต่อไป
1. การตรวจสอบการปฏิบัติงานของฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขต ตามนโยบาย “ปรับจริง จับจริง รถจอด และวิ่งบนทางเท้า” หมายถึง สำนักเทศกิจตรวจพิจารณาเพื่อค้นหาข้อเท็จจริง และกำกับ ดูแล ให้ข้อแนะนำหรือชี้นำเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน รวมทั้งสนับสนุนและช่วยเหลือการดำเนินงานของฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขต เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และหนังสือต่าง ๆ ภายใต้อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดในการจอดหรือขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือล้อเลื่อนบนทางเท้า โดยมุ่งเน้นความเข้มงวด จริงจัง ตรงไปตรงมา และความต่อเนื่องในการดำเนินการเพื่อให้ฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขต ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 2. ทางเท้า หมายถึง พื้นที่ที่ทำไว้สำหรับคนเดินซึ่งอยู่ข้างใดข้างหนึ่งของทาง หรือทั้งสองข้างของทาง หรือส่วนที่อยู่ชิดขอบทางซึ่งใช้เป็นที่สำหรับคนเดิน 3. พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ ได้แก่ พื้นที่ในความรับผิดชอบของสำนักงานเขตที่พบการกระทำผิดมากที่สุด 10 อันดับแรกของปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
กำหนดเป็นระดับขั้นของความสำเร็จ (Milestone) แบ่งเกณฑ์การให้คะแนนเป็น 5 ระดับ พิจารณาจากความก้าวหน้าของขั้นตอนการดำเนินงานตามเป้าหมายแต่ละระดับดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน (Planning) มีการจัดทำแผน/Roadmap/แนวทางการปฏิบัติในเชิงบูรณาการระหว่างสำนักเทศกิจ และฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขต การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดในการจอดหรือขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือล้อเลื่อนบนทางเท้า รวมทั้งการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่สำนักงานเขต ด้วยวิธีการต่าง ๆ อาทิ การจัดประชุม การจัดทำประกาศ การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน ฯลฯ ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติตามแผน (Implementation) (ขั้นตอนที่ 2 - 4) มีการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบการทำงานของสำนักงานเขตให้ดำเนินการไปตามแผนปฏิบัติการหรือเป้าหมายที่กำหนด (การปฏิบัติตามแผน : Implementation) ทั้งในส่วนของแผนปฏิบัติการตรวจพื้นที่เป้าหมายในเชิงบูรณาการระหว่างสำนักเทศกิจ และสำนักงานเขต และแผนปฏิบัติการตรวจสอบเชิงรุกและลับการดำเนินงานของฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขต ทั้งนี้ สำนักเทศกิจต้องดำเนินการดังนี้ - กำหนดรูปแบบ และวิธีการรายงานผลการตรวจตามแผนปฏิบัติการเพื่อให้การตรวจสอบ กำกับ ดูแล สนับสนุนการปฏิบัติงาน และติดตามประเมินผลมีความชัดเจน และสอดคล้องกับสถานการณ์/สภาพปัญหาในแต่ละพื้นที่เป้าหมาย ขั้นตอนที่ 3 จัดเจ้าหน้าที่ของสำนักเทศกิจออกปฏิบัติการตรวจสอบ กำกับ ดูแล สนับสนุนการปฏิบัติงานและติดตามประเมินผลการดำเนินงานของฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขต ขั้นตอนที่ 4 จัดทำรายงานผลการตรวจพื้นที่เป้าหมายในเชิงคุณภาพ แสดงข้อเท็จจริงที่ตรวจพบ แสดงการประเมินผล ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะ/แนวทางในการปรับปรุงแก้ไขที่เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขต ทุกเดือน รวมทั้งส่งรายงานต่อผู้บริหารสำนักเทศกิจ และผู้บริหารกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณาอย่างสม่ำเสมอ ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผล (Evaluation) มีการเก็บรวบรวมข้อมูล จัดทำข้อมูล และจัดทำรายงานผลการประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบาย “ปรับจริง จับจริง รถจอด และวิ่งบนทางเท้า” เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องในทุกระดับทั้งสำนักงานเขต สำนักเทศกิจ และผู้บริหารกรุงเทพมหานคร สามารถนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุง/พัฒนางานในระยะต่อไป สิ่งที่ต้องดำเนินการ เช่น - เก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงานผลการตรวจพื้นที่เป้าหมายในเชิงคุณภาพ - เก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด (รายละเอียดจุด/เส้นทาง รายชื่อผู้กระทำความผิด ความถี่ด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ฯลฯ) ปรับข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ - เก็บรวบรวมข้อมูลจากฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขต เพื่อนำมาวิเคราะห์ผล (สถิติการจับกุม ดำเนินคดี เปรียบเทียบปรับ ฯลฯ)
เก็บข้อมูลจากแผน/รายงานการดำเนินงานแต่ละขั้นตอน เอกสารหลักฐาน 1. แผน/Roadmap/แนวทางการปฏิบัติในเชิงบูรณาการระหว่าง สำนักเทศกิจ และฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขต 2. หลักเกณฑ์ วิธีการ/มาตรการดำเนินการ 3. รายงานการประชุม 4. รายงานการออกตรวจพื้นที่ 5. เอกสารรายงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น
:ด้านที่ ๒ - มหานครสีเขียว สะดวกสบาย : Bangkok as a Green and Convenient City |
:๒.๑ - ภูมิทัศน์สวยงาม |
:๒.๑.๑ กรุงเทพมหานครจัดระเบียบเมือง ปรับปรุงทัศนียภาพของเมืองให้แลดูสะอาด ไม่มีสายไฟฟ้า% |
:๒.๑.๑.๑ ตลาดหรือแผงค้าขายที่กีดขวางทางเท้า กีดขวางการจราจรและบดบังทัศนียภาพ ได้รับการจัดระเบียบได้ครบทุกกลุ่มเขต |