ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
1. สนท. ได้ออกตรวจป้ายฯ ในพื้นที่ กทม. ระหว่าง 1 ต.ค. - 30 ธ.ค. 2563 พบป้าย จำนวน 41 ป้าย 2. สนข. ได้จัดเก็บป้าย ระหว่าง 1 ต.ค. -30 พ.ย. 2563 จำนวน 8,820 ป้าย จับ-ปรับ 727 ราย เป็นเงิน 1,108,800 บาท
สนท.ได้ตรวจป้ายฯ ระหว่างเดือน ม.ค. - มี.ค. 64 จำนวน 26 ป้าย สนข. ได้จัดเก็บป้ายฯ ระหว่างเดือน ม.ค. - มี.ค. 64 จำนวน 11,146 ป้าย จับ-ปรับ 545 รายเป็นเงิน 881,800 บาท
สนท.ได้ตรวจพบป้ายผิดกฎหมาย ระหว่างเดือน มี.ค. - พ.ค. 64 จำนวน 6 ป้าย สนข. ได้จัดเก็บป้ายผิดกฎหมาย ระหว่างเดือน มี.ค. - พ.ค. 64 จำนวน 8,627 ป้าย จับ-ปรับ 372 รายเป็นเงิน 508,100 บาท
ผลการดำเนินงาน ระหว่างเดือน มิ.ย. - ก.ย. 64 1.สำนักเทศกิจ ออกตรวจไม่พบป้ายผิดกฎหมาย 2.สำนักงานเขต ได้จัดเก็บป้ายผิดกฎหมาย จำนวน 9,433 ป้าย จับ-ปรับ 199 รายเป็นเงิน 384,000 บาท 3.สำนักเทศกิจได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรียบร้อยแล้ว และได้นำผลการสำรวจเผยแพร่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารและเว็บไซด์ของสำนักเทศกิจ
1. ป้ายผิดกฎหมาย หมายถึง ป้ายที่ติดตั้งโดยไม่ได้รับอนุญาตให้ติดในที่สาธารณะตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 (ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ป้ายผิดกฎหมายที่กรุงเทพมหานครจะดำเนินการตรวจสอบ กวดขัน มีจำนวน 9 ประเภท ได้แก่ 1) ป้ายเกาะกลางถนน 2) ป้ายบนสะพานลอย 3) ป้ายบดบังทัศนวิสัยการจราจร 4) ป้ายที่อยู่ในเขตทาง 5) ป้ายอวยพร/เทศกาลต่าง ๆ 6) ป้ายเลียนแบบป้าย กทม. 7) ป้ายติดตามผนัง กำแพงรั้ว 8) ป้ายหมู่บ้านจัดสรร/ป้ายคนถือ และ 9) ป้ายต่าง ๆ 2. ถนนปลอดป้ายฯ หมายถึง ถนนที่สำนักงานเขตกำหนด จำนวนเขตละ 2 เส้นทาง เพื่อดำเนินการจัดระเบียบป้ายฯ (ระยะทางของถนนตามที่สำนักงานเขตระบุจุดเริ่มต้น - จุดสิ้นสุด) 3. การจัดระเบียบป้ายฯ หมายถึง การตรวจ กวดขัน และบังคับการตามกฎหมายกับการกระทำผิดเกี่ยวกับป้ายผิดกฎหมายบนถนนปลอดป้ายโฆษณาที่สำนักงานเขตกำหนด จำนวนเขตละ 2 เส้นทาง
พิจารณาจากความสำเร็จของงานตามตัวชี้วัด แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ร้อยละ 20 ความสามารถในการปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่ของสำนักเทศกิจ (การตรวจสอบ กำกับ ดูแล สนับสนุนการปฏิบัติงาน และติดตามประเมินผลการบังคับการตามกฎหมายของฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขต) เพื่อร่วมผลักดันให้สำนักงานเขตบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด จริงจัง อันจะนำไปสู่จำนวนผู้กระทำผิดในพื้นที่เขตลดลง โดยแบ่งการคิดคะแนนเป็น 2 ข้อ ดังนี้ 1. การประชุมคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร คณะผู้บริหารสำนักเทศกิจ และหัวหน้าฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขต (แนวดิ่งฝ่ายเทศกิจ) คิดเป็นคะแนน (ร้อยละ) 10 คะแนน โดยนับจากรายงานการประชุมฯ ที่รับรองแล้ว หากไม่มีการเสนอเรื่องประชุมเพื่อติดตามตรวจสอบจะตัดคะแนนครั้งละ 0.5 คะแนนต่อการประชุม y= (10 × (n - x))/n y = คะแนน (ร้อยละ) ของจำนวนรายงานการประชุมคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร คณะผู้บริหารสำนักเทศกิจ และหัวหน้าฝ่ายเทศกิจ สำนักงานเขต (แนวดิ่งฝ่ายเทศกิจ) ที่รับรองแล้ว x = จำนวนคะแนนที่ถูกตัดคะแนน n = จำนวนครั้งการประชุมทั้งหมด 2. การประชุมฝ่ายเทศกิจจำนวน 6 กลุ่มเขต คิดเป็นคะแนน (ร้อยละ) 10 คะแนน โดยนับจากรายงานการประชุมฯ ที่รับรองแล้ว หากไม่มีการจัดประชุมเพื่อติดตามตรวจสอบจะตัดคะแนนครั้งละ 0.5 คะแนนต่อการประชุม y= (10 × (6 - x))/6 y = คะแนน (ร้อยละ) ของจำนวนรายงานการประชุมฝ่ายเทศกิจกลุ่มเขตที่รับรองแล้ว x = จำนวนคะแนนที่ถูกตัดคะแนน ส่วนที่ 2 ร้อยละ 80 ผลลัพธ์ของการบังคับการตามมาตรการฯอย่างเข้มงวด จริงจังตลอดปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ส่งผลให้ไม่มีการฝ่าฝืน/กระทำความผิดบนถนนปลอดป้ายโฆษณาที่สำนักงานเขตกำหนด จำนวนเขตละ 2 เส้นทางเท่านั้น (ระยะทางของถนนตามที่สำนักงานเขตระบุจุดเริ่มต้น - จุดสิ้นสุด) โดยแบ่งการคิดคะแนนเป็น 2 ข้อดังนี้ 1. การรายงานผลการปฏิบัติงานของชุดสายตรวจเทศกิจที่มีคำสั่งมอบหมาย ปฏิบัติหน้าที่ จำนวนคะแนน (ร้อยละ) 60 คะแนน คิดจาก y= ((x × 60))/n y = คะแนน (ร้อยละ) ของรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนของชุดสายตรวจเทศกิจที่มีคำสั่งมอบหมายปฏิบัติหน้าที่ x = จำนวนรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนของชุดสายตรวจเทศกิจที่มีคำสั่งมอบหมายปฏิบัติหน้าที่และส่งให้ผู้รับผิดชอบโครงการทราบ n = จำนวนรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือนของชุดสายตรวจเทศกิจที่มีคำสั่งมอบหมายปฏิบัติหน้าที่และส่งให้ผู้รับผิดชอบโครงการทราบทั้งหมด 2. การรายงานผลการดำเนินงานประจำเดือนให้ผู้บริหาร กทม. ทราบ จำนวนคะแนน (ร้อยละ) 20 คะแนน คิดจาก y= ((x × 20))/12 y = คะแนน (ร้อยละ) ของจำนวนรายงานผลการดำเนินงานประจำเดือนให้ผู้บริหาร กทม. ทราบ x = จำนวนรายงานผลการดำเนินงานประจำเดือนให้ผู้บริหาร กทม. ทราบ
รายงานผลการดำเนินงาน
:ด้านที่ ๒ - มหานครสีเขียว สะดวกสบาย : Bangkok as a Green and Convenient City |
:๒.๑ - ภูมิทัศน์สวยงาม |
:๒.๑.๑ กรุงเทพมหานครจัดระเบียบเมือง ปรับปรุงทัศนียภาพของเมืองให้แลดูสะอาด ไม่มีสายไฟฟ้า% |
:๒.๑.๑.๑ ตลาดหรือแผงค้าขายที่กีดขวางทางเท้า กีดขวางการจราจรและบดบังทัศนียภาพ ได้รับการจัดระเบียบได้ครบทุกกลุ่มเขต |