รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ระดับความสำเร็จของการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยและให้บริการนักท่องเที่ยวของเจ้าหน้าที่เทศกิจ สำนักเทศกิจ : 1500-1477

ค่าเป้าหมาย ครบขั้นตอน : 5

ผลงานที่ทำได้ ครบขั้นตอน : 5

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 0

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ครบขั้นตอน)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
2.00
100
100 / 100
2
4.00
0
0 / 0
3
4.00
0
0 / 0
4
5.00
0
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

อยู่ในขั้นตอนที่ 2 จัดเจ้าหน้าที่เทศกิจออกปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลรักษาความปลอดภัยให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยวจากการที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือเหตุเดือดร้อนต่าง ๆ เดือนพฤศจิกายน 2563 ออกปฏิบัติหน้าที่ จำนวน 20 ครั้ง เดือนธันวาคม 2563 ออกปฏิบัติหน้าที่ จำนวน 40 ครั้ง

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

อยู่ในขั้นตอนที่ 4 จัดเจ้าหน้าที่เทศกิจออกปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลรักษาความปลอดภัยให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยวจากการที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือเหตุเดือดร้อนต่าง ๆ จำนวน 5 พื้นที่ ดังนี้ เดือนมกราคม 2564 ดำเนินการออกปฏิบัติหน้าที่ ตรวจตรา ดูแลรักษาความปลอดภัย ให้กับนักท่องเที่ยว จำนวน 20 ครั้ง ประกอบด้วย พระบรมมหาราชวัง สนามหลวง จำนวน 4 ครั้ง ให้บริการนักท่องเที่ยว 100 คน วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม จำนวน 4 ครั้ง ให้บริการนักท่องเที่ยว 80 คน ถนนข้าวสาร จำนวน 4 ครั้ง ให้บริการนักท่องเที่ยว 100 คน ถนนเยาวราช จำนวน 4 ครั้ง ให้บริการนักท่องเที่ยว 100 คน ตลาดนัดจตุจักร จำนวน 4 ครั้ง ให้บริการนักท่องเที่ยว 100 คน ดำเนินการสำรวจความพึงพอใจนักท่องเที่ยวรวม 140 ชุด เดือนกุมภาพันธ์ 2564 ดำเนินการออกปฏิบัติหน้าที่ ตรวจตรา ดูแลรักษาความปลอดภัย ให้กับนักท่องเที่ยว จำนวน 20 ครั้ง ประกอบด้วยพระบรมมหาราชวัง สนามหลวง จำนวน 4 ครั้ง ให้บริการนักท่องเที่ยว 150 คน วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม จำนวน 4 ครั้ง ให้บริการนักท่องเที่ยว 100 คน ถนนข้าวสาร จำนวน 4 ครั้ง ให้บริการนักท่องเที่ยว 100 คน ถนนเยาวราช จำนวน 4 ครั้ง ให้บริการนักท่องเที่ยว 200 คน ตลาดนัดจตุจักร จำนวน 4 ครั้ง ให้บริการนักท่องเที่ยว 100 คน ดำเนินการสำรวจความพึงพอใจนักท่องเที่ยวรวม 170 ชุด นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจในระดับ 4.35 หรือร้อยละ 87.26 เดือนมีนาคม 2564 ดำเนินการออกปฏิบัติหน้าที่ ตรวจตรา ดูแลรักษาความปลอดภัย ให้กับนักท่องเที่ยว จำนวน 20 ครั้ง ประกอบด้วยพระบรมมหาราชวัง สนามหลวง จำนวน 4 ครั้ง ให้บริการนักท่องเที่ยว 200 คน วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม จำนวน 4 ครั้ง ให้บริการนักท่องเที่ยว 150 คน ถนนข้าวสาร จำนวน 4 ครั้ง ให้บริการนักท่องเที่ยว 200 คน ถนนเยาวราช จำนวน 4 ครั้ง ให้บริการนักท่องเที่ยว 300 คน ตลาดนัดจตุจักร จำนวน 4 ครั้ง ให้บริการนักท่องเที่ยว 200 คน ดำเนินการสำรวจความพึงพอใจนักท่องเที่ยวรวม 190 ชุด นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจในระดับ 4.21 หรือร้อยละ 84.21

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

อยู่ในขั้นตอนที่ 4 เดือนเมษายน 2564 จัดเจ้าหน้าที่เทศกิจรออกปฏิบัติหน้าที่ ตรวจตรา ดูแลรักษาความปลอดภัย ให้กับนักท่องเที่ยว จำนวน 20 ครั้ง ประกอบด้วยพระบรมมหาราชวัง สนามหลวง จำนวน 4 ครั้ง ให้บริการนักท่องเที่ยว 100 คน วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม จำนวน 4 ครั้ง ให้บริการนักท่องเที่ยว 50 คน ถนนข้าวสาร จำนวน 4 ครั้ง ให้บริการนักท่องเที่ยว 80 คน ถนนเยาวราช จำนวน 4 ครั้ง ให้บริการนักท่องเที่ยว 200 คน ตลาดนัดจตุจักร จำนวน 4 ครั้ง ให้บริการนักท่องเที่ยว 100 คน เดือนพฤษภาคม 2564 จัดเจ้าหน้าที่เทศกิจออกปฏิบัติหน้าที่ ตรวจตรา ดูแลรักษาความปลอดภัย ให้กับนักท่องเที่ยว จำนวน 20 ครั้ง ประกอบด้วยพระบรมมหาราชวัง สนามหลวง จำนวน 4 ครั้ง ให้บริการนักท่องเที่ยว 80 คน วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม จำนวน 4 ครั้ง ให้บริการนักท่องเที่ยว จำนวน 50 คน ถนนข้าวสาร จำนวน 4 ครั้ง ให้บริการนักท่องเที่ยว 60 คน ถนนเยาวราช จำนวน 4 ครั้ง ให้บริการนักท่องเที่ยว 100 คน ตลาดนัดจตุจักร จำนวน 4 ครั้ง ให้บริการนักท่องเที่ยว 60 คน เดือนมิถุนายน 2564 จัดเจ้าหน้าที่เทศกิจออกปฏิบัติหน้าที่ ตรวจตรา ดูแลรักษาความปลอดภัย ให้กับนักท่องเที่ยว จำนวน 20 ครั้ง ประกอบด้วยพระบรมมหาราชวัง สนามหลวง จำนวน 4 ครั้ง ให้บริการนักท่องเที่ยว 60 คน วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม จำนวน 4 ครั้ง ให้บริการนักท่องเที่ยว จำนวน 40 คน ถนนข้าวสาร จำนวน 4 ครั้ง ให้บริการนักท่องเที่ยว 40 คน ถนนเยาวราช จำนวน 4 ครั้ง ให้บริการนักท่องเที่ยว 80 คน ตลาดนัดจตุจักร จำนวน 4 ครั้ง ให้บริการนักท่องเที่ยว 40 คน โดยแยกเป็นชาวไทย 250 คน เป็นชาวต่างชาติ 30 คน

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

สรุปดำเนินการตามกำหนด ครบ 5 ขั้นตอน คือ 1. ได้จัดทำคู่มือปฏิบัติงานด้านการดูแลความปลอดภัยนักท่องเที่ยว และเวียนแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรียบร้อย 2. จัดเจ้าหน้าที่เทศกิจ จำนวน 5 นาย (เจ้าหน้าที่สายตรวจ Segway) ออกปฏิบัติหน้าที่ในการดูแล รักษาความปลอดภัย ให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยวจากการที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือเหตุเดือดร้อนต่าง ๆ ให้ความช่วยเหลือเมื่อประสบเหตุเจ็บป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุ รวมทั้งการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจกรณีมีเหตุจำเป็น ประสบเหตุการณ์ฉุกเฉินเร่งด่วน เพื่อการแก้ไขสถานการณ์ได้รวดเร็ว นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเดินทาง และแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พื้นที่เป้าหมายดำเนินการจำนวน 5 พื้นที่ ดังนี้ 1) พระบรมมหาราชวังสนามหลวง 2) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม 3) ถนนข้าวสาร 4) ถนนเยาวราช 5) ตลาดนัดจตุจักร รวม จำนวน 220 ครั้ง ให้บริการนักท่องเที่ยว จำนวน 4,520 คน 3. สำรวจความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาในบริเวณพื้นที่เป้าหมายที่กำหนด ครั้งที่ 1 ระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม 2564 ครั้งที่ 2 ระหว่างเดือนกรกฎาคม – กันยายน 2564 นักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 700 คน นักท่องเทียวต่างชาติ จำนวน 300 คน รวม 1,000 คน 4.จำนวนความพึงพอใจในระดับมาก-มากที่สุดอยู่ที่ร้อยละ 85 5.สำนักเทศกิจมีการนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจความพึงพอใจมาจัดทำข้อเสนอ/แผนการปรับปรุง/พัฒนาคุณภาพการให้บริการ เพื่อยกระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในปีต่อไป

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

1. การปฏิบัติงานด้านการดูแลความปลอดภัย และการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับนักท่องเที่ยวหมายถึง การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เทศกิจ สำนักเทศกิจ (เจ้าหน้าที่สายตรวจ Segway) ในการดูแลรักษาความปลอดภัยให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยวจากการที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือเหตุเดือดร้อนต่าง ๆ การให้ความช่วยเหลือเมื่อประสบเหตุเจ็บป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุ การประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจกรณีมีเหตุจำเป็น ประสบเหตุการณ์ฉุกเฉินเร่งด่วน เพื่อการแก้ไขสถานการณ์ได้รวดเร็ว รวมถึงการให้คำแนะนำเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่กรุงเทพมหานคร การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเดินทาง การประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้นักท่องเที่ยวทราบ และระมัดระวังตัวจากมิจฉาชีพรูปแบบต่าง ๆ ผ่านการจัดทำแผ่นพับ คู่มือ และ/หรือประชาสัมพันธ์ผ่านทางเว็บไซต์/แอปพลิเคชัน 2. นักท่องเที่ยว หมายถึง ผู้ที่เดินทางเข้ามาในบริเวณพื้นที่เป้าหมายทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการท่องเที่ยว หรือเพื่อความเพลิดเพลิน 3. พื้นที่เป้าหมาย หมายถึง พื้นที่ที่สำนักเทศกิจจัดส่งเจ้าหน้าที่เทศกิจออกปฏิบัติหน้าที่ดูแลความปลอดภัย และการให้บริการนักท่องเที่ยวตามแผนปฏิบัติการที่กำหนด) โดยปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สำนักเทศกิจกำหนดพื้นที่เป้าหมายดำเนินการ จำนวน 5 พื้นที่ ดังนี้ 1) พระบรมมหาราชวัง สนามหลวง 2) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม 3) ถนนข้าวสาร 4) ถนนเยาวราช 5) ตลาดนัดจตุจักร

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

กำหนดคะแนนเป็น 5 ระดับ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1. ระดับคะแนนที่ 1 – 3 พิจารณาจากมิติกระบวนการ โดยพิจารณาความก้าวหน้าของขั้นตอนการดำเนินงาน 2. ระดับคะแนนที่ 4 – 5 พิจารณาจากมิติผลลัพธ์ โดยพิจารณาจากผลการสำรวจความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เทศกิจด้านการดูแลความปลอดภัย และการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับนักท่องเที่ยว ขั้นตอนที่ 1 มีการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานด้านการดูแลความปลอดภัย และการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวเผยแพร่แก่เจ้าหน้าที่และหน่วยที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ขั้นตอนที่ 2 มีการจัดเจ้าหน้าที่เทศกิจออกปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลรักษาความปลอดภัยให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยวจากการที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือเหตุเดือดร้อนต่าง ๆ การให้ความช่วยเหลือเมื่อประสบเหตุเจ็บป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุ การประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจกรณีมีเหตุจำเป็น ประสบเหตุการณ์ฉุกเฉินเร่งด่วน เพื่อการแก้ไขสถานการณ์ได้รวดเร็ว รวมถึงการให้คำแนะนำเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่กรุงเทพมหานคร การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเดินทาง การประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้นักท่องเที่ยวทราบ และระมัดระวังตัวจากมิจฉาชีพรูปแบบต่าง ๆ ขั้นตอนที่ 3 ดำเนินการสำรวจความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว ณ พื้นที่เป้าหมายที่กำหนด จำนวน 2 ครั้ง/ปี ครั้งที่ 1 ระหว่างเดือน มกราคม - มีนาคม 2564 และครั้งที่ 2 ระหว่างเดือน กรกฎาคม - กันยายน 2564 รวมทั้งการรวบรวมแบบสำรวจฯ การวิเคราะห์ผล และการจัดทำรายงานผลการสำรวจฯ ขั้นตอนที่ 4 พิจารณาจากผลการสำรวจความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการดูแลความปลอดภัยและการให้บริการนักท่องเที่ยวของเจ้าหน้าที่เทศกิจ สำนักเทศกิจ ในระดับมากถึงมากที่สุด ตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป สูตรการคำนวณ Y=x/n×100 Y = ร้อยละของจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีระดับความพึงพอใจฯ ระดับมาก - มากที่สุด (≥ ร้อยละ 80) X = จำนวนนักท่องเที่ยวที่มีระดับความพึงพอใจฯ ระดับมาก - มากที่สุด n = จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมดที่ตอบแบบสำรวจความพึงพอใจ เกณฑ์การให้คะแนน ความพึงพอใจ เกณฑ์ประเมิน มากที่สุด = 5 มากที่สุด 4.21 - 5.00 มาก = 4 มาก 3.41 - 4.20 ปานกลาง = 3 ปานกลาง 2.61 - 3.40 น้อย = 2 น้อย 1.81 - 2.60 น้อยที่สุด = 1 น้อยที่สุด 1.00 - 1.80 ขั้นตอนที่ 5 มีการนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจความพึงพอใจมาจัดทำข้อเสนอ/แผนการปรับปรุง/พัฒนาคุณภาพการให้บริการ เพื่อยกระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในปีต่อไป

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

เก็บข้อมูลจากเก็บข้อมูลจากแผน/รายงานการดำเนินงานแต่ละขั้นตอน และการสำรวจความพึงพอใจ เอกสารหลักฐาน 1. รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจ 2. เอกสารรายงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น 3. ภาพถ่าย คลิปวิดีโอ หรืออื่น ๆ

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๖ – มหานครแห่งเศรษฐกิจและการเรียนรู้ : Bangkok as an Economic and Learning Centre
:๖.๒ - เมืองแห่งนักท่องเที่ยวระดับโลก
:๖.๒.๑ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่น่าท่องเที่ยวระดับโลก%
:๖.๒.๑.๑ นักท่องเที่ยวมีความมั่นใจด้านความปลอดภัยในการเดินทางท่องเที่ยว

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง