รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

4.2.1 ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงาน : 1700-0839

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 0

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
10.00
100
100 / 100
2
50.00
100
100 / 100
3
80.00
0
0 / 0
4
100.00
0
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

ดำเนินการทบทวน วิเคราะห์ความเสี่ยง ประเมินอันตรายจากการทำงาน พร้อมคัดเลือกงานที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อนำมาดำเนินการจัดการความเสี่ยงในการทำงาน จำนวน 2 งาน และงานที่มีความเสี่ยงในปีที่ผ่านมานำมาต่อยอดพัฒนางาน จำนวน 1 งาน และผอ.สจส. ได้อนุมัติโครงการพัฒนาและจัดการปัญหาความเสี่ยงในการทำงานของหน่วยงานเรียบร้อยแล้ว

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

จัดทำข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน จำนวน 2 งาน และงานต่อยอดพัฒนา จำนวน 1 งาน พร้อมเวียนแจ้งข้อปฏิบัติให้ทุกส่วนราชการทราบและถือปฏิบัติ พร้อมติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนด

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

ดำเนินการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการและผลสำเร็จของการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงาน ให้ทั้งส่วนราชการภายในและหน่วยงานภายนอกได้รับทราบ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

ดำเนินการตามแผนงานแล้วเสร็จ พร้อมจัดส่งเอกสารหลักฐานให้สำนักอนามัย

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

การเสริมสร้างมาตรฐานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยการให้ความสำคัญต่อบุคลากรในฐานะที่เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าสูงสุด ด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี มีความปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดโรคภัยหรืออุบัติเหตุจากการทำงานที่จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตส่วนตัวของบุคลากร ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ ๒๐ ปี ระยะที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๕๗-๒๕๖๐) ด้านที่ ๑ มหานครปลอดภัย แผนยุทธศาสตร์ที่ ๔ การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงาน (Quality of Work Life) กลยุทธ์ที่ ๔.๑ พัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และเพื่อให้กรุงเทพมหานครมีการดำเนินการตามมาตรา ๓ วรรค ๒ แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๕๔

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

- มีการทบทวน วิเคราะห์ความเสี่ยงประเมินอันตรายจากการทำงาน - จัดทำโครงการพัฒนาและจัดการความเสี่ยงในการทำงานของหน่วยงาน - จัดทำและนำข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือ มาตรฐานการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของหน่วยงานไปใช้งาน - ดำเนินการเป็นต้นแบบที่ดีให้หน่วยงานอื่นใช้เป็นแบบอย่างในการดำเนินการ - ประเมินผลความสำเร็จของการดำเนินโครงการฯ

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

-

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
:๗.๓ - การบริหารทรัพยากรบุคคล
:๗.๓.๑ บุคลากรกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติงานแบบมืออาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นที่เชื่%
:๗.๓.๑.๑ การพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ มีความเป็นมืออาชีพ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง