รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

4.ร้อยละความสำเร็จของการประเมินและจัดระดับความเสี่ยงจากอัคคีภัยในพื้นที่รับผิดชอบของสถานีดับเพลิง : 1900-0754

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 80

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 0

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
20.00
100
100 / 100
2
50.00
100
100 / 100
3
65.00
0
0 / 0
4
100.00
0
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

กิจกรรมการประเมินและจัดระดับความเสี่ยงจากอัคคีภัยชุมชนชุมชนแออัดเป้าหมายในพื้นที่รับผิดชอบของสถานีดับเพลิงและกู้ภัย ขณะนี้สถานีดับเพลิงและกู้ภัยเริ่มสำรวจชุมชนแออัด โดยใช้แบบการประเมินความเสี่ยง ส่งข้อมูลให้ สยภ.ภายใน 13 มี.ค.63 ผลการดำเนินการคิดเป็นร้อยละ 20

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

อยู่ระหว่างกองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัยส่งข้อมูลรายชื่อชุมชนแออัดเป้าหมายที่จะดำเนินการมาแล้ว ได้แก่ กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย1 ,กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย2, กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย3, กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย5,ผลการดำเนินการคิดเป็นร้อยละ 50

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

- กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย 1- 6 ส่งข้อมูลมาที่สำนักงานยุทธศาสตร์การป้องกันสาธารณภัยเรียบร้อยแล้ว และอยู่ขั้นตอน การประเมินและจัดระดับความเสี่ยงจากอัคคีภัย ผลการดำเนินการคิดเป็นร้อยละ 65

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

-สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยเจ้าหน้าที่สถานีดับเพลิงเก็บข้อมูลของชุมชนแออัดเป้าหมายตามแบบประเมินผลการดำเนินการสำรวจชุมชนในเบื้องต้น จำนวน 200 ชุมชน กปก.1-6 ดำเนินการสำรวจได้ 228 ชุมชน ผลการดำเนินการคิดเป็นร้อยละ 100

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

นิยาม การประเมินและจัดระดับความเสี่ยง หมายถึง กระบวนการประมาณระดับความเสี่ยงของภัยหรืออันตราย เพื่อจัดลำดับความเสี่ยงและตัดสินใจในการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อลดความเสี่ยง อัคคีภัย หมายถึง ภัยที่เกิดจากไฟ ไฟไหม้ ในที่นี้ไม่รวมถึง ไฟไหม้จากการวางเพลิง ไฟป่า หรือไฟไหม้จากการเผาหญ้า

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

วิธีคำนวณ จำนวนชุมชนแออัดที่ได้รับการประเมินและจัดระดับความเสี่ยงจากอัคคีภัย หารด้วยจำนวนชุมชนแออัดตามเป้าหมายปี 2562 (จำนวน 200 ชุมชน) คูณ 100

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

- ร้อยละความสำเร็จ หมายถึง ร้อยละของจำนวนชุมชนที่ได้รับการประเมินและจัดระดับความเสี่ยงจากอัคคีภัยเทียบกับจำนวนชุมชนแออัด ตามเป้าหมายปี 2562 (200 ชุมชน) พื้นที่รับผิดชอบของสถานีดับเพลิง หมายถึง ชุมชนแออัดในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็น 1 ใน 6 ประเภท ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบกรุงเทพมหานคร - เก็บข้อมูลจากการสำรวจชุมชนมาประเมินความเสี่ยง

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๔ - ปลอดภัยพิบัติ
:๑.๔.๑ กรุงเทพมหานครสามารถลดความเสี่ยงและฟื้นคืนจากภัยพิบัติ%
:๑.๔.๑.๑ กรุงเทพมหานครมีความพร้อมในการรับมือกับอุทกภัยทั้งจากน้ำฝนน้ำหนุนและน้ำหลาก เสริมสร้างศักยภาพและความสามารถด้านบุคลากรและเครื่องมือ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง