ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 80
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
กิจกรรมการให้ความรู้ด้านการป้องกันและการเตรียมความพร้อมรับมืออัคคีภัยให้กับชุมชนที่ได้รับการประเมินว่ามีความเสี่ยงสูงพร้อมกับแนวทางการจัดทำแผนเตรียมความพร้อมรับมืออัคคีภัยของชุมชน ขณะนี้ กปก.ให้ดำเนินการจัดทำแผนเตรียมความพร้อมรับมืออัคคีภัย/ฝึกอบรม/ฝึกซ้อมส่งข้อมูลให้ สยภ.ภายใน15 พ.ค. 63 ผลการดำเนินการคิดเป็นร้อยละ30
อยู่ระหว่างสถานีดับเพลิงและกู้ภัย ดำเนินการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามการประเมินความเสี่ยงซึ่งจะส่งข้อมูลให้สยภ.ภายใน 15 พ.ค. 2563 ผลการดำเนินการคิดเป็นร้อยละ 50
- อยู่ระหว่างกองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย 1-6 รวบรวมข้อมูลให้สำนักงานยุทธศาสตร์การป้องกันสาธารณภัย ผลการดำเนินการ คิดเป็นร้อยละ 60
-ดำเนินการฝึกอบรมให้ความรู้ด้านการป้องกันและการเตรียมความพร้อมรับมืออัคคีภัยให้กับชุมชน จำนวน 39 ชุมชน ที่ได้รับการประเมินว่ามีความเสี่ยงสูง แต่ในปีงบประมาณ พ.ศ.2563 เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 จึงปรับลดค่าเป้าหมายจากเดิมร้อยละ 100(39 ชุมชน) เป็นร้อยละ30(12 ชุมชน) ผลการดำเนินการ กปก.1-6 ดำเนินการได้ 31 ชุมชน ซึ่งทั้ง 31 ชุมชน มีแผนเตรียมความพร้อมรับมืออัคคีภัย ผลการดำเนินการคิดเป็น ร้อยละ 100
นิยาม อัคคีภัย หมายถึง ภัยที่เกิดจากไฟ ไฟไหม้ ในที่นี้ไม่รวมถึงไฟไหม้จากการวางเพลิง ไฟป่า หรือไฟไหม้จากการเผาหญ้า - มีแผนเตรียมความพร้อมรับอัคคีภัย หมายถึง แผนการเตรียมความพร้อมรับมืออัคคีภัยของชุมชน เป็นการให้ชุมชนเกิดความตระหนัก (Public Awareness) และมีส่วนร่วม (Participation) ในการแก้ไขปัญหาความเสี่ยงจากอัคคีภัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นระบบและบูรณาการระหว่างสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักงานเขต และชุมชนที่ได้รับการประเมินว่ามีความเสี่ยงสูงจากอัคคีภัย โดยสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ดำเนินการฝึกอบรมให้ความรู้ด้านการป้องกันและการเตรียมความพร้อมรับมืออัคคีภัยให้กับชุมชนที่ได้รับการประเมินว่ามีความเสี่ยงสูง ฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ จัดตั้งอาสาสมัคร เพื่อเฝ้าระวัง และมีแผนเตรียมความพร้อมรับมืออัคคีภัยของตน
วิธีการคำนวณ จำนวนชุมชนเป้าหมายที่มีแผนเตรียมความพร้อมรับมืออัคคีภัย หารด้วยจำนวนชุมชนแออัดที่ผ่านการประเมินว่ามีความเสี่ยงสูงจากอัคคีภัย (จำนวน 39 ชุมชน) คูณ 100
- มีการจัดเก็บข้อมูล ชุมชนเป้าหมาย ซึ่งหมายถึง ชุมชนที่ได้รับการประเมินว่ามีความเสี่ยงสูง ที่จะเกิดอัคคีภัยจากการประเมินและจัดระดับความเสี่ยง จำนวน 22 ชุมชน ที่มีค่าประเมินความเสี่ยงมากกว่า 1 (จากจำนวน 152 ชุมชนที่มีการประเมินและจัดระดับความเสี่ยงในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 มาดำเนินการป้องกันการเกิดอัคคีภัยในปี 2562
:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
:๑.๔ - ปลอดภัยพิบัติ |
:๑.๔.๑ กรุงเทพมหานครสามารถลดความเสี่ยงและฟื้นคืนจากภัยพิบัติ% |
:๑.๔.๑.๑ กรุงเทพมหานครมีความพร้อมในการรับมือกับอุทกภัยทั้งจากน้ำฝนน้ำหนุนและน้ำหลาก เสริมสร้างศักยภาพและความสามารถด้านบุคลากรและเครื่องมือ |