รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

11.ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมการฝึกซ้อมมีความรู้ ความเข้าใจในการฝึกซ้อมแผนป้องกันและบรรเทาภัยแผ่นดินไหวและอาคารถล่มเพิ่มขึ้น : 1900-0760

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 80

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 30

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 0

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
30.00
100
100 / 100
2
45.00
100
100 / 100
3
0.00
0
0 / 0
4
0.00
0
100 / 50

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

-โครงการฝึกซ้อมแผนป้องกันและบรรเทาภัยแผ่นดินไหวและอาคารถล่ม ขณะนี้ คณะกรรมการ TOR อยู่ระหว่างพิจารณารูปแบบ กำหนดซักซ้อม 10 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 30

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

- อยู่ระหว่างขั้นตอนการหาตัวผู้รับจ้าง ได้ยกเลิกประกาศฯ เนื่องจากคณะกรรมการพิจารณาฯ ได้รายงานว่ามีผู้เสนอราคาเพียงรายเดียว และกำลังจะดำเนินการใหม่ ซึ่งต้องชะลอไว้ก่อนเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผลการดำเนินการคิดเป็นร้อยละ 45

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

- ยกเลิกโครงการฝึกซ้อมแผนป้องกันและบรรเทาภัยแผ่นดินไหวและอาคารถล่ม เนื่องจากจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และโอนงบประมาณคืนงบกลางแล้ว

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

ยกเลิกโครงการ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

นิยาม การฝึกซ้อมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หมายถึง การจำลองสถานการณ์เพื่อฝึกฝน ทักษะหรือซักซ้อมกระบวนการการดำเนินงานที่ได้วางแผน ไว้เป็นแบบฝึกหัดเพื่อให้ผู้ที่มีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบในการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน ได้ฝึกซ้อมขั้นตอนการปฏิบัติที่จำเป็น ทำให้มีทักษะและความรู้ในด้านต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งช่วยให้พร้อมปฏิบัติงานได้จริงหากเกิดสาธารณภัย - ภัยจากแผ่นดินไหวและอาคารถล่ม หมายถึง ภัยที่เกิดจากอาคารและสิ่งปลูกสร้าง ได้แก่ ตึก บ้าน โรงเรือน ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงานที่ได้รับความเสียหายจากการโยกไหวตัวรุนแรงของแผ่นดิน ซึ่งเป็นผลมาจากแผ่นดินไหวและก่อให้เกิดความเสียหายหรือพังทลายลงมาได้ - การฝึกซ้อมแผนป้องกันและบรรเทาภัยแผ่นดินไหวและอาคารถล่ม หมายถึง การจำลองสถานการณ์การเกิดเหตุแผ่นดินไหวและอาคารถล่ม เพื่อฝึกฝน ทักษะและซักซ้อมกระบวนการการดำเนินงานที่ได้วางแผนไว้ เป็นการเตรียมพร้อม ให้แก่ผู้ที่มีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ ในการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งจะช่วยให้พร้อมปฏิบัติงานหากเกิดเหตุการณ์ จริงขึ้น

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

วิธีการคำนวณ ผู้เข้ารับการฝึกซ้อมแผนป้องกันและบรรเทาภัยแผ่นดินไหวและอาคารถล่ม ที่มีผลการประเมินภาคทฤษฎีหลังเข้ารับการฝึกซ้อมแผนฯ มีความรู้ด้านการป้องกันและบรรเทาภัยแผ่นดินไหวและอาคารถล่ม เพิ่มขึ้น หารด้วยจำนวนผู้เข้ารับฝึกซ้อมแผนฯทั้งหมด คูณ 100

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

- จัดเก็บข้อมูลการฝึกซ้อม การจำลองสถานการณ์ เพื่อฝึกให้เกิดทักษะของผู้ฝึกซ้อม เสมือนใด้ฝึกซ้อมจริง

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๔ - ปลอดภัยพิบัติ
:๑.๔.๑ กรุงเทพมหานครสามารถลดความเสี่ยงและฟื้นคืนจากภัยพิบัติ%
:๑.๔.๑.๑ กรุงเทพมหานครมีความพร้อมในการรับมือกับอุทกภัยทั้งจากน้ำฝนน้ำหนุนและน้ำหลาก เสริมสร้างศักยภาพและความสามารถด้านบุคลากรและเครื่องมือ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง