รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน : 2000-0739

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 80

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 95

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
25.00
100
100 / 100
2
50.00
100
100 / 100
3
75.00
95
95 / 100
4
100.00
95
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

1. สำนักงานเลขานุการจัดกิจกรรมเสาวนาองค์ความรู้ด้านงบประมาณ เรื่อง การจัดทำคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2562 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม สงม. 2. สำนักงานระบบงบประมาณจัดกิจกรรมเสาวนาองค์ความรู้ด้านงบประมาณ เรื่อง แบบจัดทำแผน/รายงานผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ..." เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2562 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม สงม. 3. กองวิเคราะห์งบประมาณ 1 จัดกิจกรรมเสวนาองค์ความรู้ด้านงบประมาณ เรื่อง การตั้งงบประมาณรายการค่าใช้จ่ายในกาบำรุงรักษา เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 ณ ห้องประชุม สงม.

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

กองวิเคราะห์งบประมาณ 5 จัดกิจกรรมเสวนาองค์ความรู้ด้านงบประมาณ เรื่อง การออกตรวจพื้นที่เพื่อพิจารณาคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง (เฉพาะค่าที่ดิน) ในวันที่ 27 มกราคม 2563 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักงบประมาณฯ ชั้น 4

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

อยู่ระหว่างจัดกิจกรรมเสวนาองค์ความรู้ด้านงบประมาณและรวบรวมตัวชี้วัดของโครงบการฯ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

ดำเนินการโครงการ "สร้างองค์ความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านงบประมาณ" เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว โดยมีตัวชี้วัด ดังนี้ 1. มีแนวทางการวิเคราะห์คำของบประมาณรายจ่ายประจำปี การบริหารงบประมาณและการติดตามประเมินผล จำนวน 1 เล่ม และเผยแพร่บนเว็บไซต์ของหน่วยงาน 2. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเสริมสร้างและพัฒนาความรู้ในการปฏิบัติงานด้านงบประมาณ สามารถทำคะแนนการทดสอบหลังการฝึกอบรมได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 3. จำนวนคำขอตั้งงบประมาณ (หมวดรายจ่ายอื่น) ที่สามารถผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีได้ในครั้งเดียว โดยไม่ต้องนำเข้าพิจารณาใหม่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนคำขอตั้งงบประมาณฯ (หมวดรายจ่ายอื่น) ทั้งหมด

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน หมายถึง การพัฒนา ปรับปรุง แก้ไข และหรือเพ่ิมเติมความสามารถหรือทักษะในการปฏิบัติงานของหน่วยงานให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้ผลการปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและคุณภาพ เกิดความพึงพอใจแก่ผู้ปฏิบัติงานและผู้รับบริการ

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

1. มีแนวทางการวิเคราะห์คำของบประมาณรายจ่ายประจำปี การบริหารงบประมาณและการติดตามประเมิน จำนวน 1 เล่ม และเผยแพร่เว็บไซต์ของสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานครภายในเดือนกันยายน 2563 2. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเสริมสร้างและพัฒนาความรู้ในการปฏิบัติงานด้านงบประมาณ สามารถทำคะแนนการทดสอบหลังการฝึกอบรมได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 3. จำนวนคำขอตั้งงบประมาณ (หมวดรายจ่ายอื่น) ที่สามารถผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาคำขอตั้งงบประมาณฯ ได้ในครั้งเดียว โดยไม่ต้องนำเข้าพิจารณาใหม่ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนคำขอตั้งงบประมาณ (หมวดรายจ่ายอื่น) ทั้งหมด

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

ไม่มี

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
:๗.๔ - การคลังและงบประมาณ
:๗.๔.๑ กรุงเทพมหานครมีการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังและการงบประมาณ ที่เป็นมาตรฐานสากลแ%
:๗.๔.๑.๑ เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง