รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ตัวชี้วัดที่ 4.2 ระดับความสำเร็จของการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงาน : 2200-0980

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 4

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
1.00
100
100 / 100
2
3.00
100
100 / 100
3
80.00
100
100 / 100
4
100.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

1. ศึกษาหลักการ ขั้นตอนการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของกรุงเทพมหานคร พร้อมทั้งเกณฑ์การให้คะแนนการดำเนินการตามตัวชี้วัดที่ 4.2 ระดับความสำเร็จของการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงาน 2. นำงานของสำนักสิ่งแวดล้อมที่ได้ดำเนินการแล้วในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ได้แก่ การทำงานในโรงงาน ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ งานตรวจวัดควันดำ และงานตัดแต่งไม้สูง มาทบทวนและประเมินผล เพื่อนำมาพัฒนาต่อยอดการดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 3. ทบทวน วิเคราะห์ความเสี่ยง ประเมินอันตรายจากการทำงานของสำนักสิ่งแวดล้อม แล้วคัดเลือกงานอื่นที่มีความเสี่ยงสูงและยังไม่ได้ดำเนินการจัดการความเสี่ยงมาก่อนเลย เพื่อนำมาจัดการความเสี่ยงในการทำงาน จำนวน 3 งาน 4. นำข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือมาตรฐานกลางการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน (การใช้รถยนต์) เวียนแจ้งและถือปฏิบัติโดยทั่วกัน 5. จัดทำโครงการการจัดการความเสี่ยงจากการปฏิบัติงานของข้าราชการและลูกจ้างสังกัดสำนักสิ่งแวดล้อมประกอบด้วยงานในโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การใช้รถยนต์ราชการ งานจัดทำเอกสาร และงานทำความสะอาดและจัดเก็บมูลฝอย 6. รายงานการใช้ข้อปฏิบัติฯ กลาง (การใช้รถยนต์) ครั้งที่ 1 7. สรุปผลการคัดเลือกงาน พร้อมสำเนาโครงการฯ นำมาจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน ครั้งที่ 1 เสนอผู้อำนวยการสำนักอนามัย

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

-๑. ให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานของข้าราชการและลูกจ้างสังกัดสำนักสิ่งแวดล้อมในเรื่องความปลอดภัยในการทำงานในโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดจาก Office Syndrome รวมทั้งจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการทำงาน ความรู้เกี่ยวกับงานขับรถยนต์และความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมี การแยกประเภทมูลฝอย การจัดเก็บมูลฝอยอย่างถูกวิธี ท่าทางในการยกของหนัก และการใช้อุปกรณ์ป้องกันต่างๆ ๒. ประสานสำนักอนามัยเข้าทำการตรวจวัดแสงสว่าง ความร้อน ในโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และดำเนินการปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรฐาน ๓. จัดทำข้อปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานของข้าราชการและลูกจ้างสังกัดสำนักสิ่งแวดล้อมและรณรงค์ให้ข้าราชการและลูกจ้างปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ ประกอบด้วยงานในโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ งานขับรถยนต์ งานจัดทำเอกสารและงานทำความสะอาดสถานที่

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

-๑. นำข้อปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานของข้าราชการและลูกจ้างสังกัดสำนักสิ่งแวดล้อมและรณรงค์ให้ข้าราชการและลูกจ้างปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ ประกอบด้วยงานในโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ งานขับรถยนต์ งานจัดทำเอกสารและงานทำความสะอาดสถานที่ ๒. ประเมินผลการนำข้อปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยฯ ไปปฏิบัติแล้วนำผลการประเมินมาทำการปรับปรุงข้อปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยฯ เพื่อทำการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ต่อไป ๓. เวียนแจ้งข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือมาตรฐานการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของหน่วยงาน คือ งานในโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การใช้รถยนต์ราชการ งานจัดทำเอกสาร และงานทำความสะอาดและจัดเก็บมูลฝอย ให้ทุกส่วนราชการนำไปใช้ ๔. ประเมินผลการนำข้อปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยฯ ไปปฏิบัติเพื่อจัดทำรายงานต่อผู้บริหารต่อไป

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

-๑. นำข้อปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานของข้าราชการและลูกจ้างสังกัดสำนักสิ่งแวดล้อม ได้แก่ งานในโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ งานขับรถยนต์ งานจัดทำเอกสารและงานทำความสะอาดและจัดเก็บมูลฝอย เผยแพร่และรณรงค์ให้ข้าราชการและลูกจ้างปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ ๒. ดำเนินการเพื่อเป็นต้นแบบที่ดีให้หน่วยงานอื่นใช้เป็นแบบอย่างในการดำเนินงานหรือใช้ประโยชน์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ๓. ประเมินผลการนำข้อปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยฯ ไปปฏิบัติเพื่อจัดทำรายงานต่อผู้บริหารต่อไป ๔. จัดทำรายงานผลการดำเนินการตามโครงการการจัดการความเสี่ยงจากการปฏิบัติงานของข้าราชการและลูกจ้างสังกัดสำนักสิ่งแวดล้อม เสนอหัวหน้าหน่วยงาน และรวบรวมหลักฐานประกอบการดำเนินการรายงานต่อสำนักอนามัย

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

ขั้นตอนที่ 1 ทบทวน วิเคราะห์ความเสี่ยง ประเมินอันตรายจากการทำงาน คัดเลือกงานที่มีความเสี่ยงสูงนำมาจัดการความเสี่ยงในการทำงาน อย่างน้อย 2 งาน คัดเลือกงานที่ได้จัดการความเสี่ยงในปีที่ผ่านมา นำมา ต่อยอดพัฒนางาน อย่างน้อย 1 งาน และนำข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือมาตรฐานกลางการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน เวียนทราบและถือปฏิบัติโดยทั่วกัน พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินงานให้สำนักอนามัย ภายในเดือนธันวาคม 2562 ขั้นตอนที่ 2 จัดทำโครงการพัฒนาและจัดการปัญหาความเสี่ยงในการทำงานของหน่วยงาน โดยจัดส่งสำเนาโครงการฯ และหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้สำนักอนามัย ภายในเดือนธันวาคม 2562 ขั้นตอนที่ 3 ประเมินผลความสำเร็จของการดำเนินโครงการฯ ขั้นตอนที่ 4 จัดทำและนำข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือ มาตรฐานการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของหน่วยงานไปใช้งานภายในหน่วยงาน พร้อมติดตามและประเมินผล ขั้นตอนที่ 5 ดำเนินการเพื่อการเป็นต้นแบบที่ดีให้หน่วยงานอื่นใช้เป็นแบบอย่างในการดำเนินงานหรือใช้ประโยชน์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สรุปผลการดำเนินงานในภาพรวมให้หัวหน้าหน่วยงานทราบ พร้อมรายงานผลการปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือ มาตรฐานกลาง การปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน ครั้งที่ 3 ให้สำนักอนามัยและจัดส่งผลการดำเนินการและหลักฐานที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนดให้สำนักอนามัย ภายในวันที่ 17 สิงหาคม 2563

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

ขั้นตอนที่ 1 ทบทวน วิเคราะห์ความเสี่ยง ประเมินอันตรายจากการทำงาน คัดเลือกงานที่มีความเสี่ยงสูงนำมาจัดการความเสี่ยงในการทำงาน อย่างน้อย 2 งาน คัดเลือกงานที่ได้จัดการความเสี่ยงในปีที่ผ่านมา นำมา ต่อยอดพัฒนางาน อย่างน้อย 1 งาน และนำข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือมาตรฐานกลางการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน เวียนทราบและถือปฏิบัติโดยทั่วกัน พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินงานให้สำนักอนามัย ภายในเดือนธันวาคม 2562 ขั้นตอนที่ 2 จัดทำโครงการพัฒนาและจัดการปัญหาความเสี่ยงในการทำงานของหน่วยงาน โดยจัดส่งสำเนาโครงการฯ และหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้สำนักอนามัย ภายในเดือนธันวาคม 2562 ขั้นตอนที่ 3 ประเมินผลความสำเร็จของการดำเนินโครงการฯ ขั้นตอนที่ 4 จัดทำและนำข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือ มาตรฐานการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของหน่วยงานไปใช้งานภายในหน่วยงาน พร้อมติดตามและประเมินผล ขั้นตอนที่ 5 ดำเนินการเพื่อการเป็นต้นแบบที่ดีให้หน่วยงานอื่นใช้เป็นแบบอย่างในการดำเนินงานหรือใช้ประโยชน์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สรุปผลการดำเนินงานในภาพรวมให้หัวหน้าหน่วยงานทราบ พร้อมรายงานผลการปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือ มาตรฐานกลาง การปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน ครั้งที่ 3 ให้สำนักอนามัยและจัดส่งผลการดำเนินการและหลักฐานที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนดให้สำนักอนามัย ภายในวันที่ 17 สิงหาคม 2563

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

ตามกรอบเกณฑ์การประเมิน

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
:๗.๓ - การบริหารทรัพยากรบุคคล
:๗.๓.๒ กรุงเทพมหานครมีระบบบริหารทรัพยากรบุคคลเข้มแข็งเอื้อต่อความเป็นธรรมสามารถสร้างสมดุล%
:๗.๓.๒.๒ การพัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคคลและระบบราชการให้มีประสิทธิภาพ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง