ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 80
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 82.62
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
อยู่ระหว่างจัดทำแบบสอบถาม และแบบสอบถามออนไลน์
อยู่ระหว่างดำเนินการสำรวจพฤติกรรมการออกกำลังกายและเล่นกีฬา ของผู้รับบริการในศูนย์เยาวชน และศูนย์กีฬา ซึ่งทำการสำรวจผ่านแบบสอบถามออนไลน์ โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างรวมจำนวน 5,648 คน แบ่งออกเป็นผู้รับบริการในศูนย์เยาวชน จำนวน 4,511 คน และศูนย์กีฬา จำนวน 1,137 คน ขณะนี้ มีผู้ตอบแบบสอบถามออนไลน์แล้ว จำนวน 2,184 คน
อยู่ระหว่างดำเนินการสำรวจพฤติกรรมการออกกำลังกายและเล่นกีฬา ของผู้รับบริการในศูนย์เยาวชน และศูนย์กีฬา ซึ่งทำการสำรวจผ่านแบบสอบถามออนไลน์ โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างรวมจำนวน 5,648 คน แบ่งออกเป็นผู้รับบริการในศูนย์เยาวชน จำนวน 4,511 คน และศูนย์กีฬา จำนวน 1,137 คน ขณะนี้ มีผู้ตอบแบบสอบถามออนไลน์แล้ว จำนวน 4,525 คน
ดำเนินการสำรวจพฤติกรรมการออกกำลังกายและเล่นกีฬาของประชาชนกรุงเทพมหานคร โดยสำรวจจากผู้ใช้บริการในศูนย์บริการสังกัดสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว จำนวน 48 แห่ง (ศูนย์เยาวชน 36 แห่ง ศูนย์กีฬา 12 แห่ง) จำนวน 4,533 คน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 56.0 และเป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 43.7 มีอายุระหว่าง 36-60 ปี คิดเป็นร้อยละ 35.78 รองลงมาคือ มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 20.54 และมีอายุระหว่าง 18-25 ปี คิดเป็นร้อยละ 17.05 โดยผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์น้ำหนักปกติ (ค่าดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 18.50-22.99) คิดเป็นร้อยละ 43.97 รองลงมาคือ มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในภาวะอ้วนระดับ 1 (ค่าดัชนีมวลกาย อยู่ระหว่าง 23.00-24.99) คิดเป็นร้อยละ 20.43 มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในภาวะอ้วนระดับ 2 (ค่าดัชนีมวลกาย อยู่ระหว่าง 25.00-29.99) คิดเป็นร้อยละ 19.44 มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในน้ำหนักน้อย (ค่าดัชนีมวลกายน้อยกว่า 18.50) คิดเป็นร้อยละ 11.1 และมีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในภาวะอ้วนระดับ 3 (ค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 30 ขึ้นไป) คิดเป็นร้อยละ 4.83 เมื่อเปรียบเทียบค่าดัชนีมวลกาย จำแนกตามช่วงอายุ พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจในทุกช่วง อายุ ส่วนใหญ่มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ (ค่าดัชนีมวลกาย อยู่ระหว่าง 18.50-22.99) โดยกลุ่มอายุที่มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติสูงที่สุด คือ กลุ่มอายุ 18-25 ปี (ร้อยละ 49.74) และเมื่อพิจารณาถึงกลุ่มที่เริ่มมีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ภาวะอ้วนระดับ 1 และภาวะอ้วนระดับ 2 พบว่าเป็นกลุ่มอายุ 26-35 ปี อายุ 36-60 ปี และอายุ 60 ปีขึ้นไป มากที่สุด พฤติกรรมการออกกำลังกายและเล่นกีฬาของประชาชนกรุงเทพมหานคร ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ออกกำลังกาย/เล่นกีฬา 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 49.35 รองลงมาคือ ออกกำลังกาย/เล่นกีฬามากกว่า 4 ครั้งต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 33.27 ออกกำลังกาย/เล่นกีฬา 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 9.44 และไม่ได้ออกกำลังกาย/เล่นกีฬา คิดเป็นร้อยละ 7.94 โดยผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย/เล่นกีฬาโดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าไม่มีเวลา คิดเป็นร้อยละ 41.57 รองลงมาคือ ขาดแรงจูงใจ คิดเป็นร้อยละ 26.31 สภาพแวดล้อม/ภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวย คิดเป็นร้อยละ 19.08 ไม่มีสถานที่ออกกำลังกาย/เล่นกีฬา คิดเป็นร้อยละ 10.24 และเหตุผลอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 2.8 เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์เมืองไทยแข็งแรง ซึ่งควรออกกำลังกาย 15–30 นาที ต่อวัน หรือ 150 นาที ต่อสัปดาห์ (อย่างน้อย 2 ชั่วโมง 30 นาที ต่อสัปดาห์) นั้น พบว่าผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ออกกำลังกายมากกว่า 2 ชั่วโมง 30 นาที ต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 82.62 และออกกำลังกายเฉลี่ยต่อสัปดาห์น้อยกว่า 2 ชั่วโมง 30 นาที ต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 9.44 ซึ่งผู้ตอบแบบสำรวจที่เป็นผู้ที่ออกกำลังกาย โดยส่วนใหญ่จะออกกำลังภายหลังจากรับประทานอาหารไปแล้วมากกว่า 1 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 89.52 และผู้ตอบแบบสำรวจที่เคยออกกำลังกายหลังจากรับประทานอาหารมื้อหนัก (บุฟเฟ่ต์) ส่วนใหญ่จะออกกำลังกายหลังจากรับประทานอาหารมื้อหนัก (บุฟเฟ่ต์) มากกว่า 2 ชั่วโมง คิดเป็น ร้อยละ 19.68 ช่วงเวลาที่ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใญ่ออกกำลังกายมากที่สุด เป็นช่วงเวลาเย็น คิดเป็นร้อยละ 46.16 รองลงมาคือ ช่วงเช้า คิดเป็นร้อยละ 18.26 ช่วงที่ว่างจากภารกิจ คิดเป็นร้อยละ 17.92 ช่วงกลางวัน คิดเป็นร้อยละ 10.26 และช่วงกลางคืน คิดเป็นร้อยละ 7.39 ตามลำดับ สถานที่ที่ใช้ในการออกกำลังกายโดยส่วนใหญ่ผู้ตอบแบบสำรวจออกกำลังกายที่สนามกีฬา/ศูนย์กีฬา/ศูนย์เยาวชน คิดเป็นร้อยละ 43.54 รองลงมาคือ ออกกำลังกายในสวนสาธารณะ คิดเป็นร้อยละ 17.33 ออกกำลังกายที่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 14.88 ออกกำลังกายในฟิตเนส/ยิมส์ คิดเป็นร้อยละ 8.86 ออกกำลังกายที่ลานกีฬาหรือลานอเนกประสงค์ภายในชุมชน/หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 8.31 ออกกำลังกายที่โรงเรียน/สถานศึกษา/มหาวิทยาลัย คิดเป็นร้อยละ 3.92 และออกกำลังกายที่ทำงาน คิดเป็นร้อยละ 3.17 ตามลำดับ
- ชาวกรุงเทพมหานคร หมายถึง ผู้ใช้บริการในสถานที่ให้บริการด้านกีฬาและนันทนาการของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวที่ตอบแบบสอบถาม - สถานที่ให้บริการด้านกีฬาและนันทนาการในกรุงเทพมหานครหมายถึง ศูนย์เยาวชน (ศูนย์สร้างสุขทุกวัย) 36 แห่งศูนย์กีฬาในสังกัดสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว 12 แห่ง - การออกกำลังกาย หมายถึง การกระทำใดๆ ที่มีการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อสุขภาพหรือความสนุกสนานและเพื่อสังคม โดยใช้กิจกรรมง่าย ๆ เช่น วิ่ง กระโดดเชือก การบริหารร่างกาย การยกน้ำหนัก แอโรบิกด๊านซ์ ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เกมส์และการละเล่นพื้นเมือง เป็นต้น รวมทั้งการออกกำลังกาย ในการประกอบอาชีพและการออกกำลังกายในชีวิตประจำวัน - การเล่นกีฬา หมายถึง การกระทำใดๆ ที่ทำให้มีการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยใช้ทักษะกีฬาพื้นฐานและมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเสริมสุขภาพเพื่อความสนุกสนาน เพื่อสังคม เพื่อการแข่งขัน โดยจะเคร่งครัดต่อกฎกติกาของการแข่งขันหรือไม่เคร่งครัดก็ได้ - เกณฑ์เมืองไทยแข็งแรงโดยใช้หลักการออกกำลังกายที่ถูกต้องเป็นเกณฑ์ ดังนี้ 1. เวลาที่เหมาะสมของการออกกำลังกาย ควรห่างจากมื้ออาหารอย่างน้อย 1 ชั่วโมง ถ้าเป็นมื้อหนัก ควรเว้นระยะห่าง 2 – 3 ชั่วโมง เพื่อรอให้ร่างกายและเอนไซม์ต่าง ๆ ปรับเข้าสู่ภาวะปกติเสียก่อน 2. ควรออกกำลังกาย 15–30 นาที ต่อวัน หรือ 150 นาที ต่อสัปดาห์หากต้องการเผาผลาญไขมันควรใช้เวลาในการออกกำลังกาย 30 นาทีขึ้นไป
ร้อยละของชาวกรุงเทพมหานครออกกำลังกายตามเกณฑ์เมืองไทยแข็งแรง (ออกกำลังกายที่ถูกต้อง) = จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามที่ออกกำลังกายตามเกณฑ์เมืองไทยแข็งแรงx 100 ? จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด
1. ทอดแบบสอบถาม/แบบสอบถามออนไลน์แก่ผู้ที่มาใช้บริการของศูนย์กีฬา ศูนย์เยาวชนของสำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว 2. จำนวนแบบสอบถามในการจัดเก็บ พิจารณาจากจำนวนผู้ใช้บริการของปีที่ผ่านมาในสถานบริการแต่ละแห่งแล้วมากำหนดขนาดตัวอย่าง โดยคำนวณขนาดของตัวอย่าง ดังนี้ n = N/(1+Ne^2 ) n คือ ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง N คือ ขนาดประชากร e คือ ความคลาดเคลื่อนของกลุ่มตัวอย่าง กำหนดที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95(? = 0.05)
:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
:๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย |
:๑.๖.๖ คนกรุงเทพฯมีวิถีชีวิตแบบ Active Living Lifestyle% |
:๑.๖.๖.๑ สนับสนุนให้คนกรุงเทพฯ มีความตื่นตัวและกระตือรือร้น |