ค่าเป้าหมาย เครือข่าย : 2
ผลงานที่ทำได้ เครือข่าย : 5
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
อยู่ระหว่างจัดเตรียมข้อมูลเพื่อเตรียมเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
กำหนดจัดประชุมเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อร่วมหารือแนวทางในการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักการแพทย์ สำนักอนามัย สำนักการศึกษา สำนักสิ่งแวดล้อม และสำนักงานเขต ในวันศุกร์ที่ 2 เมษายน 2564 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 16 อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2
อยู่ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเก็บข้อมูล ระหว่างวันที่ 1-30 มิถุนายน 2564
ดำเนินการร่วมมือกับเครือข่าย จำนวน 5 เครือข่าย ประกอบด้วย สำนักการแพทย์ สำนักอนามัย สำนักสิ่งแวดล้อม สำนักการศึกษา และสำนักงานเขต 50 เขต เพื่อจัดเก็บดัชนีมวลกาย (Body Mass Index (BMI)) ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปี ขึ้นไป โดยจัดเก็บข้อมูลจากประชาชนในพื้นที่เขต 50 เขต ผู้รับบริการในศูนย์บริการสาธารณสุข โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ ผู้ใช้บริการในสวนสาธารณะ และข้าราชการและบุคลากรในสังกัดสำนักการแพทย์ สำนักอนามัย สำนักสิ่งแวดล้อม สำนักการศึกษา และสำนักงานเขต 50 เขต โดยจัดเก็บข้อมูลจำนวนทั้งสิ้น 19,167 คน พบว่า ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์น้ำหนักปกติ จำนวน 6,731 คน คิดเป็นร้อยละ 35.12 รองลงมาคือ มีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ภาวะอ้วนระดับ 2 จำนวน 5,043 คน คิดเป็นร้อยละ 26.31 ภาวะอ้วนระดับ 1 จำนวน 3,666 คน คิดเป็นร้อยละ 19.13 ภาวะอ้วนระดับ 3 จำนวน 2,437 คน คิดเป็นร้อยละ 12.71 และมีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์น้ำหนักน้อย จำนวน 1,290 คน คิดเป็นร้อยละ 6.73 ตามลำดับ
- เครือข่ายความร่วมมือ หมายถึง การเชื่อมโยงการทำงานของหน่วยงานตั้งแต่ 2 แห่งขึ้นไป เพื่อร่วมกันจัดเก็บข้อมูลดัชนีมวลกาย สำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปี ขึ้นไป หรือจัดเก็บข้อมูลภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน สำหรับผู้ที่มีอายุ 1 วัน – 19 ปี ในสถานที่/ภารกิจที่ตนรับผิดชอบ - ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index (BMI)) หมายถึง ค่าที่คำนวณจากน้ำหนักและส่วนสูงเพื่อใช้เปรียบเทียบความสมดุลระหว่างน้ำหนักตัวต่อความสูง (การคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนัก (ก.ก.) หารด้วยส่วนสูง (ม.x ม.)) - ค่า BMI ตามเกณฑ์มาตรฐานอาเซียน (เอเชีย) สำหรับผู้มีอายุตั้งแต่ 20 ปี ขึ้นไป ดังนี้ ค่า BMI แปลผลน้ำหนัก ภาวะเสี่ยงโรค < 18.5 น้ำหนักน้อย/ผอม มากกว่าคนปกติ 18.5 – 22.9 น้ำหนักปกติ/สุขภาพดี เท่าคนปกติ 23 – 24.9 ท้วม/ภาวะอ้วนระดับ 1 อันตรายระดับ 1 25 – 29.9 อ้วน/ภาวะอ้วนระดับ 2 อันตรายระดับ 2 > 30 อ้วนมาก/ภาวะอ้วนระดับ 3 อันตรายระดับ 3 ที่มา: กองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข - ภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน (ผู้ที่มีอายุ 1 วัน – 19 ปี) หมายถึง มีส่วนสูงตามเกณฑ์อายุอยู่ในระดับ สูงตามเกณฑ์ ค่อนข้างสูง สูง และมีน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงอยู่ในระดับ สมส่วน ในคนเดียวกัน ประเมินภาวะโภชนาการโดยเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน ตามเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2543
นับจากจำนวนเครือข่าย/หน่วยงานที่ร่วมกันจัดเก็บดัชนีมวลกาย (Body Mass Index (BMI)) ที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
1. สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวจัดเก็บข้อมูลจากที่อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปที่มาสมัครสมาชิกที่ศูนย์กีฬา/ศูนย์เยาวชน 2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดเก็บและส่งข้อมูลให้สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
:๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย |
:๑.๖.๖ คนกรุงเทพฯมีวิถีชีวิตแบบ Active Living Lifestyle% |
:๑.๖.๖.๑ สนับสนุนให้คนกรุงเทพฯ มีความตื่นตัวและกระตือรือร้น |