ค่าเป้าหมาย คะแนน : 100
ผลงานที่ทำได้ คะแนน : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
1.บันทึกรายการบัญชีในสมุดรายวันเงินรับ จ่าย ทั่วไป และย่อยเงินฝากธนาคาร ถึงเดือน ธ.ค. 62 ผ่านรายการไปยังสมุดบัญชีแยกประเภท ถึงเดือน พ.ย. 62 2.จัดทำงบการงินประจำปีงบประมาณ 2562 ส่งให้กองบัญชี สำนักการคลัง ภายในกำหนด (30 พ.ย. 62) 3.งบการเงินมีความถูกต้อง ไม่มีการแก้ไขข้อทักท้วงจากกองบัญชี 4.จัดทำรายงานประจำเดือน ถึงเดือน พ.ย. 62
1.บันทึกรายการบัญชีในสมุดรายวันเงินรับ-จ่าย ทั่วไป และย่อยเงินฝากธนาคาร ถึงเดือน มี.ค.63 ผ่านรายการไปยังสมุดบัญชีแยกประเภท ถึงเดือน ก.พ. 62 2.จัดทำงบการเงินประจำปีงบประมาณ 2562 ส่งให้กองบัญชี สำนักการคลัง ภายในกำหนด (30 พ.ย. 62) 3.งบการเงินมีความถูกต้องไม่มีการแก้ไขข้อทักท้วงจากกองบัญชี 4.จัดทำรายงานประจำเดือน ถึงเดือน ก.พ. 63
1.บันทึกรายการบัญชีในสมุดรายวันเงินรับ-จ่าย ทั่วไป และย่อยเงินฝากธนาคาร ถึงเดือน มิ.ย. 63 ผ่านรายการไปยังสมุดบัญชีแยกประเภท ถึงเดือน พ.ค.62 2.จัดทำงบการเงินประจำปีงบประมาณ 2562 ส่งให้กองบัญชี สำนักการคลัง ภายในกำหนด (30 พ.ย. 62) 3.งบการเงินมีความถูกต้องไม่มีการแก้ไขข้อทักท้วงจากกองบัญชี 4.จัดทำรายงานประจำเดือน ถึงเดือน พ.ค. 63
- บันทึกรายการบัญชีในสมุดรายวัน สมุดบัญชีแยกประเภท สมุดบัญชีย่อย เป็นปัจจุบัน - ดำเนินการจัดทำงบการเงินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 แล้วเสร็จและจัดส่งกองบัญชี สำนักการคลัง ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2562 ถูกต้องครบถ้วน ไม่มีการแก้ไขหรือข้อทักท้วงจากกองบัญชี - จัดทำรายงานประจำเดือนครบถ้วน และมีเอกสารประกอบตามหลักเกณฑ์
ความสำเร็จของการจัดทำงบการเงิน หมายถึง หน่วยงานสามารถบันทึกบัญชีเป็นปัจจุบัน ครบถ้วนและถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด สามารถจัดทำงบการเงินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ส่งกองบัญชี สำนักการคลัง ได้ทันเวลาและถูกต้องภายในกำหนด เพื่อเป็นการเร่งรัดและเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านบัญชีและการจัดทำงบการเงินของหน่วยงานให้เป็นไปตามคู่มือการบัญชีของกรุงเทพมหานครได้ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน ภายในระยะเวลาที่กฎหมายและระเบียบกำหนด และเป็นข้อมูลที่สำคัญในการจัดทำงบการเงินของหน่วยงานและงบการเงินในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร การพิจารณาระดับคะแนนความสำเร็จของการจัดทำงบการเงิน แบ่งเป็น 4 ส่วน ดังนี้ 1. คะแนนในการบันทึกบัญชีมีความเป็นปัจจุบัน โดยมีการบันทึกรายการในบัญชีในสมุดรายวัน สมุดบัญชีแยกประเภท สมุดบัญชีย่อย ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด มีคะแนนเต็ม 20 คะแนน โดยมีการให้คะแนน ตามแต่ละรายการ ดังนี้ - บันทึกรายการบัญชีใน สมุดรายวันเงินรับ ถึงเดือนกันยายน 2563 ได้ 4 คะแนน - บันทึกรายการบัญชีใน สมุดรายวันเงินจ่าย ถึงเดือนกันยายน 2563 ได้ 4 คะแนน - บันทึกรายการบัญชีใน สมุดรายวันทั่วไป ถึงเดือนสิงหาคม 2563 ได้ 4 คะแนน - บันทึกการผ่านรายการจากสมุดบัญชีรายวันฯ ไปยังสมุดบัญชีแยกประเภท ถึงเดือนสิงหาคม 2563 ได้ 4 คะแนน - บันทึกรายการในสมุดบัญชีย่อยเงินฝากธนาคาร ถึงเดือนกันยายน 2563 ได้ 4 คะแนน 2. คะแนนในการจัดทำงบการเงินประจำปีงบประมาณ 2562 ส่งให้ กองบัญชี สำนักการคลัง ได้ทันภายใน 60 วัน นับแต่สิ้นปีงบประมาณ (วันที่ 30 พฤศจิกายน 2562) ได้ 10 คะแนน - หากส่งงบการเงินภายหลัง 60 วัน (หลังจากวันที่ 30 พฤศจิกายน 2562) ได้ 0 คะแนน หมายเหตุ งบการเงินที่ต้องจัดส่ง ประกอบด้วย - งบแสดงฐานะการเงิน (งบดุล) - กระดาษทำการงบทดลองก่อน-หลังปิดบัญชี - งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน - รายงานบัญชีมูลค่าทรัพย์สินประจำปี - งบกระแสเงินสด - หมายเหตุประกอบงบการเงิน 3. คะแนนของความถูกต้องของงบการเงิน คะแนนเต็ม 50 คะแนน โดยมีการแบ่งสัดส่วนการให้คะแนน ดังนี้ 3.1 หากงบการเงินของหน่วยงานมีความถูกต้องหรือมีการแก้ไขข้อทักท้วง จากกองบัญชี สำนักการคลัง จนถูกต้องไม่เกิน 10 วัน ได้ 50 คะแนน 3.2 หากหน่วยงานมีการแก้ไขงบการเงินจนถูกต้อง รวมกันทุกครั้งเกิน 10 วัน ได้ 0 คะแนน หมายเหตุ กรณีหน่วยงานจัดทำ-ส่งงบการเงิน ภายในเดือนพฤศจิกายน 2562 แต่งบการเงินเป็นข้อมูลตัวเลขเดิมของปีที่แล้วมา หรือข้อมูลตัวเลขไม่สัมพันธ์กันอย่างเห็นได้ชัดเจนในแต่ละส่วนของงบการเงิน หรือจัดทำ-ส่งเอกสารประกอบงบการเงิน ไม่ครบถ้วนตามที่กำหนด จะได้คะแนนตามข้อ 2 เป็น 0 คะแนน และจะถือว่างบการเงินของหน่วยงานไม่ถูกต้อง และเข้าสู่การนับวันแก้ไขข้อทักท้วงตามข้อ 3 ทันที 4. คะแนนในการจัดทำรายงานประจำเดือนครบถ้วน จัดเก็บที่หน่วยงานสำหรับรอการตรวจสอบ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 – กรกฎาคม 2563 ได้ 20 คะแนน - หากมีให้ตรวจสอบไม่ครบถ้วน ได้ 0 คะแนน หมายเหตุ รายงานประจำเดือนที่ต้องจัดทำ ประกอบด้วย - งบทดลอง - รายงานรายได้และค่าใช้จ่าย - รายงานรายละเอียดประกอบค่าใช้จ่าย - งบเงินคงเหลือ - รายงานเงินฝากธนาคาร - งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร - รายงานรายละเอียดประกอบยอดคงเหลือในบัญชีเงินฝากธนาคาร - รายงานรายละเอียดประกอบยอดคงเหลือในบัญชีเงินฝากธนาคาร – เงินนอกงบประมาณ - รายละเอียดบัญชีเงินรับฝาก - รายงานรายได้กรุงเทพมหานคร - รายละเอียดเงินนอกงบประมาณอื่นรอการรับรู้ - รายงานรายได้แผ่นดิน - รายงานรายได้ระหว่างหน่วยงาน – หน่วยงานรับเงินงบประมาณจากคลัง กทม. - รายงานรายได้ระหว่างหน่วยงาน – หน่วยงานรับเงินงบประมาณจากคลัง กทม. – งบกลาง การดำเนินการ 1. หน่วยงานบันทึกรายการบัญชีมีความเป็นปัจจุบันและจัดทำสมุดบัญชีรายวันทุกประเภท บัญชีแยกประเภท ทุกบัญชี บัญชีย่อย และทะเบียนคุม ได้ถูกต้องครบถ้วนตามที่คู่มือการบัญชีกรุงเทพมหานครกำหนด 2. หน่วยงานมีการจัดทำรายงานประจำเดือน ควบถ้วนตามที่คู่มือการบัญชีกรุงเทพมหานครกำหนด และจัดส่งให้ปลัดกรุงเทพมหานครทราบ 3. หน่วยงานจัดส่งงบการเงินประจำปีเพื่อให้กองบัญชี สำนักการคลัง ตรวจสอบกระทบยอดของรายการทางบัญชีและความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูลตัวเลขในงบการเงิน ภายในระยะเวลาที่กำหนด (ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2562) 4. กองบัญชี สำนักการคลัง ทำการตรวจสอบความถูกต้องของงบการเงิน และประเมินผลสำเร็จของการปฏิบัติราชการตามกรอบการประเมินและเกณฑ์การให้คะแนนในตัวชี้วัด ส่งให้สำนักงาน ก.ก. หรือคณะกรรมการประเมินผล การปฏิบัติราชการฯ แนวทางการประเมินผล 1. ให้หน่วยงานผู้รับประเมินจัดเตรียมสมุดบัญชีรายวันเงินรับ สมุดรายวันเงินจ่าย สมุดรายวันทั่วไป สมุดบัญชีแยกประเภทต่างๆ สมุดบัญชีย่อย รายงานประจำเดือน ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ไว้ที่หน่วยงานผู้รับประเมิน เพื่อรอการตรวจและประเมินผลการปฏิบัติราชการฯ ระยะสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ตามเกณฑ์ที่กำหนด จากกองบัญชี สำนักการคลัง 2. หน่วยงานจัดส่งงบการเงินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 โดยให้ส่งกองบัญชี สำนักการคลัง ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2562 ตรวจสอบความถูกต้องโดยการกระทบยอดและตรวจสอบความสัมพันธ์ของรายการบัญชีของหน่วยงาน และสอบยันยอดบัญชีกับส่วนกลางเฉพาะรายการบัญชีที่ต้องยืนยันยอดระหว่างส่วนกลางและหน่วยงาน หากมีการทักท้วงระยะเวลาการแก้ไขจนถูกต้องคะแนนจะเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ประกอบด้วย งบแสดงฐานการเงิน (งบดุล), งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน, งบกระแสเงินสด, หมายเหตุประกอบงบการเงิน, กระดาษทำการงบทดลองก่อน-หลังบัญชี, รายงานบัญชีมูลค่าทรัพย์สินประจำปี 3. การนับจำนวนวันของงบการเงิน ว่าอยู่ที่หน่วยงานใด ให้ถือปฏิบัติ ดังนี้ 3.1 กรณีหน่วยงานส่งงบการเงินมาให้กองบัญชี การนับจำนวนวันให้นับวันที่เจ้าหน้าที่กองบัญชีรับงบการเงิน รวมเป็นจำนวนวันที่อยู่กองบัญชี 3.2 กรณีกองบัญชีส่งคืนหรือแจ้งให้แก้ไขงบการเงิน การนับจำนวนวันให้นับวันที่เจ้าหน้าที่หน่วยงานรับคืนหรือรับแจ้งให้แก้ไขงบการเงิน รวมเป็นจำนวนวันที่หน่วยงานรับผิดชอบระยะเวลาในการแก้ไขงบการเงิน
คะแนนของการบันทึกบัญชีและจัดทำรายงานประจำเดือนมีความเป็นปัจจุบัน + คะแนนของการจัดส่งงบการเงินได้ทันกำหนดเวลาและถูกต้อง
1. สมุดบัญชีรายวันทุกประเภท สมุดบัญชีแยกประเภททุกบัญชี สมุดบัญชีย่อยต่างๆ ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 2. งบการเงินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ของหน่วยงาน 3. รายงานประจำเดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 – กรกฎาคม 2563
:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
:๗.๔ - การคลังและงบประมาณ |
:๗.๔.๑ กรุงเทพมหานครมีการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังและการงบประมาณ ที่เป็นมาตรฐานสากลแ% |
:๗.๔.๑.๔ ปรับปรุงมาตรฐานและแนวปฏิบัติด้านการเงินการบัญชี และการตรวจสอบ |