รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

4.2 ระดับความสำเร็จของการดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงาน : 5001-0767

ค่าเป้าหมาย คะแนน : 5

ผลงานที่ทำได้ คะแนน : 5

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 0

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(คะแนน)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
5.00
100
100 / 100
2
5.00
100
100 / 100
3
5.00
0
0 / 0
4
5.00
0
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

ส่งเอกสารหลักฐานให้สำนักอนามัยได้ตามกำหนด (เดือนธันวาคม 2562) ส่งเอกสารวันที่ 27 ธ.ค. 2562 ประกอบด้วย 1. สำเนาหนังสือที่หัวหน้าหน่วยงานรับทราบและเห็นชอบให้ดำเนินการจัดการความเสี่ยงในการทำงานสำหรับงานที่มีความเสี่ยงสูงจำนวน 2 งาน และจัดการความเสี่ยงในการทำงานสำหรับงานต่อยอดพัฒนา จำนวน 1 งาน 2. สำเนาหนังสือเวียนข้อปฏิบัติฯกลางการใช้รถยนต์ ให้ทุกส่วนราชการทราบและถือปฏิบัติ 3. สำเนาแบบรายงานการใช้ข้อปฏิบัติฯกลางการใช้รถยนต์ ครั้งที่ 1 4. สำเนาโครงการและแผนปฎิบัติงานโครงการ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

ดำเนินโครงการตามแผนงาน และกำกับติดตามโครงการตามแผนงาน และระยะเวลาดำเนินการ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

ส่งเอกสารให้สำนักอนามัยได้ตามระยะเวลาที่กำหนด (ภายในเมษายน 2563) ดังนี้ 1.ส่งสำเนาแบบรายงานผลการดำเนินงานและกำกับติดตามโครงการ [แบบ OCC3(63)] พร้อมแนบหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ให้สำนักอนามัย 2.ส่งสำเนาแบบรายงานการใช้ข้อปฏิบัติฯกลาง การใช้รถยนต์ครั้งที่ 2 ให้สำนักอนามัย

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

- ดำเนินงานตามแผนงาน กำกับ ติดตามผลการดำเนินโครงการ ตามตัวชี้วัดในเดือนสิงหาคม 2563 สำเร็จ ดังนี้ 1. ร้อยละ ๑๐๐ ของพนักงานทั่วไปรับผิดชอบงานฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุงและแมลง ในสังกัดส่วนราชการ ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล ปฏิบัติตนตามข้อปฏิบัติด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และไม่ประสบอุบัติเหตุจากการทำงานถึงขั้นหยุดงาน สามารถดำเนินการได้ ร้อยละ 100 2. ร้อยละ ๘๐ ของพนักงานทั่วไปรับผิดชอบงานกวาดขยะในสังกัดส่วนราชการฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะปฏิบัติตนตามข้อปฏิบัติด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และไม่ประสบอุบัติเหตุจากการทำงานถึงขั้นหยุดงาน สามารถดำเนินการได้ ร้อยละ 99.65 3. ร้อยละ ๘๐ ของนายตรวจอาคาร ในสังกัดส่วนราชการฝ่ายโยธา รับผิดชอบด้านการตรวจสอบการก่อสร้างอาคารในพื้นที่เขตพระนคร ปฏิบัติตนตามข้อปฏิบัติด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และไม่ประสบอุบัติเหตุจากการทำงานถึงขั้นหยุดงาน สามารถดำเนินการได้ร้อยละ 100 - ติดตามและประเมินผลการใช้ข้อปฏิบัติฯ และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการและผลสำเร็จของการดำเนินงานทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน โดยประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทาง Line และ Facebook

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

การดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่ 4.2 ระดับความสำเร็จของการดำเนินการด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงาน มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้บุคลากรในสังกัดกรุงเทพมหานคร มีสุขภาพที่ดีปลอดโรค ปลอดภัยในการทำงาน โดยการจัดสภาพการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานให้สะอาด ปลอดโรค ปลอดภัย ส่งเสริมการมีสุขภาพอนามัยในการทำงานที่ดี โดยนำหลักการด้านอาชีวอนามัยมาประยุกต์ใช้ ได้แก่ การสืบค้น (Identify) การประเมินอันตรายหรือการประเมินความเสี่ยง (Evaluation) และการควบคุม (Control) เพื่อนำไปสู่การจัดการ ควบคุมและป้องกันอันตรายจากการทำงานอย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพ โดยได้กำหนดสิ่งคุกคามสุขภาพในการทำงาน จำนวน 8 ด้าน ประกอบด้วย 1. สิ่งคุกคามด้านกายภาพ (physical hazard) 2. ด้านเคมี (chemical hazard) 3. ด้านชีวภาพ (biological hazard) 4. ด้านการยศาสตร์ (ergonomic hazard) 5. ด้านจิตวิทยาสังคม (psychosocial hazard) 6. ด้านความปลอดภัย (safety hazard) 7. ด้านอัคคีภัย และ 8. ด้านอื่นๆ ที่ไม่เข้าข่ายตามที่กล่าวมา ในปีนี้ กำหนดแผนการดำเนินงานในลักษณะต่อเนื่อง โดยเป็นการต่อยอดพัฒนางาน (เดิม) และขยายผลการดำเนินงานจัดการงานที่มีความเสี่ยงสูง (เพิ่มเติม) โดยมุ่งหวังให้มีการคุ้มครองสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานของบุคลากรในสังกัดกรุงเทพมหานครอย่างครอบคลุมครบถ้วนและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรก ต่อยอดพัฒนางาน (เดิม) ที่ดำเนินการในปีที่ผ่านมา และขยายผลการดำเนินงานจัดการงานที่มีความเสี่ยงสูง (เพิ่มเติม) ส่วนที่สอง นำข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือ มาตรฐานกลางสำหรับการปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงสูง เวียนทราบและถือปฏิบัติในหน่วยงานโดยทั่วกัน ทั้งนี้ ในส่วนของการประเมินความสำเร็จของตัวชี้วัดที่ 4.2 ในปีนี้ ยังคงวัดความสำเร็จเป็นแบบผสมผสาน (Hybrid) คือ ประเมินความสำเร็จจากความก้าวหน้าขั้นตอนการดำเนินงาน และประเมินผลความสำเร็จของการดำเนินงาน ขั้นตอนการดำเนินการ ขั้นตอนที่ 1 ทบทวน วิเคราะห์ความเสี่ยง ประเมินอันตรายจากการทำงาน คัดเลือกงานที่มีความเสี่ยงสูงนำมาจัดการความเสี่ยงในการทำงาน อย่างน้อย 2 งาน คัดเลือกงานที่ได้จัดการความเสี่ยงในปีที่ผ่านมา นำมาต่อยอดพัฒนางาน อย่างน้อย 1 งาน และนำข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือมาตรฐานกลางการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน เวียนทราบและถือปฏิบัติโดยทั่วกัน พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินงานให้สำนักอนามัย ภายในเดือนธันวาคม 2562 ขั้นตอนที่ 2 จัดทำโครงการพัฒนาและจัดการปัญหาความเสี่ยงในการทำงานของหน่วยงาน โดยจัดส่งสำเนาโครงการฯ และหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้สำนักอนามัย ภายในเดือนธันวาคม 2562 ดำเนินโครงการตามแผนงานและกำกับติดตามผลการดำเนินโครงการฯ พร้อมรายงานผลการปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือมาตรฐานกลางการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน ครั้งที่ 2 ให้สำนักอนามัย ภายในเดือนเมษายน 2563 ขั้นตอนที่ 3 ประเมินผลความสำเร็จของการดำเนินโครงการฯ ขั้นตอนที่ 4 จัดทำและนำข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือมาตรฐานการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของหน่วยงานไปใช้งานภายในหน่วยงาน พร้อมติดตามและประเมินผลการใช้งานข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือ มาตรฐานฯ ที่ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ขั้นตอนที่ 5 ดำเนินการเพื่อการเป็นต้นแบบที่ดีให้หน่วยงานอื่นใช้เป็นแบบอย่างในการดำเนินงานหรือใช้ประโยชน์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง สรุปผลการดำเนินงานในภาพรวมให้หัวหน้าหน่วยงานทราบ พร้อมรายงานผลการปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือ มาตรฐานกลาง การปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน ครั้งที่ 3 ให้สำนักอนามัย และจัดส่งผลการดำเนินการและหลักฐานที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนดให้สำนักอนามัย ภายในวันที่ 17 สิงหาคม 2563

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

เกณฑ์การให้คะแนน ระดับที่ 1 ประกอบด้วย 4 ส่วน ส่วนที่ 1 มีการทบทวน วิเคราะห์ความเสี่ยง ประเมินอันตรายจากการทำงาน คัดเลือกงานที่มีความเสี่ยงสูง นำมาจัดการความเสี่ยงในการทำงาน อย่างน้อย 2 งาน ส่วนที่ 2 มีการพิจารณาคัดเลือกงานที่ได้จัดการความเสี่ยงไปแล้วในปีที่ผ่านมา โดยนำมาต่อยอดพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น อย่างน้อย 1 งาน ส่วนที่ 3 มีการนำข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือมาตรฐานกลางการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัย ในการทำงาน เวียนทราบและถือปฏิบัติโดยทั่วกัน ส่วนที่ 4 มีการรายงานผลการดำเนินงานพร้อมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับส่วนที่ 1 ถึง 3 ให้สำนักอนามัย ภายในเดือนธันวาคม 2562 ระดับที่ 2 ประกอบด้วย 4 ส่วน ส่วนที่ 1 มีผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ระดับที่ 1 ครบถ้วน ส่วนที่ 2 มีโครงการพัฒนาและจัดการปัญหาความเสี่ยงในการทำงานของหน่วยงาน โดยจัดส่งสำเนาโครงการฯ และหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้สำนักอนามัย ภายในเดือนธันวาคม 2562 ส่วนที่ 3 มีการดำเนินโครงการและกำกับติดตามผลการดำเนินโครงการฯ ส่วนที่ 4 มีการรายงานผลการปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือมาตรฐานกลางการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน ครั้งที่ 2 ให้สำนักอนามัย ภายในเดือนเมษายน 2563 ระดับที่ 3 ประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนที่ 1 มีผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ระดับที่ 1 และ 2 ครบถ้วน ส่วนที่ 2 มีการประเมินผลความสำเร็จของการดำเนินโครงการฯ ระดับที่ 4 ประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนที่ 1 มีผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ระดับที่ 1 ถึง 3 ครบถ้วน ส่วนที่ 2 มีการจัดทำและนำข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือ มาตรฐานการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงานไปใช้งานภายในหน่วยงาน ส่วนที่ 3 มีการติดตามและประเมินผลการใช้งานข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือ มาตรฐานฯ ที่ดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ระดับที่ 5 ประกอบด้วย 4 ส่วน ส่วนที่ 1 มีผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ระดับที่ 1 ถึง 4 ครบถ้วน ส่วนที่ 2 มีการดำเนินการเพื่อการเป็นต้นแบบที่ดีให้หน่วยงานอื่นใช้เป็นแบบอย่างในการดำเนินงานหรือใช้ประโยชน์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่ 3 มีการสรุปผลการดำเนินงานในภาพรวมให้หัวหน้าหน่วยงานทราบ ส่วนที่ 4 มีการรายงานผลการปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือ มาตรฐานกลางการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน ครั้งที่ 3 ให้สำนักอนามัย พร้อมจัดส่งผลการดำเนินการและหลักฐานที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนดให้สำนักอนามัย ภายในวันที่ 17 สิงหาคม 2563

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1.หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการทบทวน วิเคราะห์ความเสี่ยง ประเมินอันตรายจากการทำงาน คัดเลือกงานที่มีความเสี่ยงสูง นำมาจัดการความเสี่ยงในการทำงาน อย่างน้อย 2 งาน และหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึง การพิจารณาคัดเลือกงานที่ได้จัดการความเสี่ยงไปแล้วในปีที่ผ่านมา โดยนำมา ซึ่งจะนำมาต่อยอดพัฒนางาน (เดิม) อย่างน้อย 1 งาน โดยจัดส่งหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้สำนักอนามัย ภายในเดือนธันวาคม 2562 2.หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการนำข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือมาตรฐานกลางการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน เวียนทราบและถือปฏิบัติโดยทั่วกัน โดยจัดส่งหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้สำนักอนามัย จำนวน 3 ครั้ง (ครั้งแรก : ภายในเดือนธันวาคม 2562 ครั้งที่ 2 : ภายในเดือนเมษายน 2563 และครั้งสุดท้าย : ภายในวันที่ 17 สิงหาคม 2563) 3.สำเนาโครงการพัฒนาและจัดการปัญหาความเสี่ยงในการทำงานของหน่วยงาน โดยจัดส่งหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้สำนักอนามัย ภายในเดือนธันวาคม 2562 4.หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการดำเนินโครงการฯ และการกำกับติดตามผลการดำเนินโครงการฯ โดยจัดส่งหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้สำนักอนามัย ภายในวันที่ 17 สิงหาคม 2563 5.หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการประเมินผลความสำเร็จของการดำเนินโครงการฯ โดยจัดส่งหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้สำนักอนามัย ภายในวันที่ 17 สิงหาคม 2563 6.หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการจัดทำและนำข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือมาตรฐานการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของหน่วยงานไปใช้งานภายในหน่วยงาน โดยจัดส่งเอกสรและหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้สำนักอนามัย ภายในวันที่ 17 สิงหาคม 2563 7.หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการติดตามและประเมินผลการใช้งานตามแนวทาง ข้อปฏิบัติฯ ที่ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยจัดส่งหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้สำนักอนามัย ภายในวันที่ 17 สิงหาคม 2563 8.หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการดำเนินการเพื่อการเป็นต้นแบบที่ดีให้หน่วยงานอื่นใช้เป็นแบบอย่างในการดำเนินงานหรือใช้ประโยชน์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยจัดส่งหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้สำนักอนามัย ภายในวันที่ 17 สิงหาคม 2563 9.หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงหัวหน้าหน่วยงานรับทราบผลการดำเนินงานทั้งหมด โดยจัดส่งหลักฐาน ที่เกี่ยวข้องให้สำนักอนามัย ภายในวันที่ 17 สิงหาคม 2563 ทั้งนี้ เงื่อนเวลาที่กำหนดในข้อ 1 ถึง 9 จะพิจารณาจากวันประทับเรื่องจากสำนักอนามัย หรือ ตามที่สำนักอนามัยกำหนด

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย
:๑.๖.๑ คนกรุงเทพฯ มีสุขภาวะทางกายและจิต มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ไม่มีภาวะเจ็บป่วยจาก โร%
:๑.๖.๑.๖ หน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครมีมาตรฐานอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง