รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละความสำเร็จในการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี : 5029-0828

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 80

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 0

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
40.33
100
100 / 100
2
74.46
100
100 / 100
3
81.83
0
0 / 0
4
100.00
0
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

ไตรมาส 1 - เสนอโครงการและจัดทำแผนปฏิบัติงาน - จัดทำแผนอนุมัติฎีกาตามแผนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการของข้าราชการและลูกจ้าง - สถานประกอบการอาหารในพื้นที่เขตสาทร จำนวน 419 แห่ง แบ่งประเภทดังนี้ ร้านอาหาร จำนวน 366 แห่ง ตลาด จำนวน 5 แห่ง มินิมาร์ท จำนวน 44 แห่ง ซูเปอร์มาร์เก็ต จำนวน 4 แห่ง - เดือนธันวาคม ดำเนินการตรวจสถานประกอบการอาหารและส่งรายชื่อเพื่อขอต่ออายุป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย ให้กองสุขาภิบาลอาหาร ดังนี้ ขอป้าย มอป. ดังนี้ ร้านอาหาร จำนวน 48 แห่ง ตลาด จำนวน 0 แห่ง มินิมาร์ท จำนวน 6 แห่ง ซูเปอร์มาร์เก็ต จำนวน 0 แห่ง รวมเดือนธันวาคม ขอป้าย มอป. จำนวน 54 แห่ง รวมเดือนตุลาคม - ธันวาคม ขอป้าย มอป.แล้ว จำนวน 169 แห่ง

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

-ไตรมาส 2 เดือนมกราคม - มีนาคม ดำเนินการตรวจสถานประกอบการอาหารและส่งรายชื่อเพื่อขอต่ออายุป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย ให้กองสุขาภิบาลอาหาร ดังนี้ ส่งรายชื่อขอป้าย มอป. ดังนี้ ร้านอาหาร จำนวน 138 แห่ง ตลาด จำนวน 0 แห่ง มินิมาร์ท จำนวน 4 แห่ง ซูเปอร์มาร์เก็ต จำนวน 1 แห่ง รวมไตรมาส 2 เดือนมกราคม - มีนาคม ส่งรายชื่อขอป้าย มอป. จำนวน 143 แห่ง รวมทั้งสิ้นเดือนตุลาคม – มีนาคม ส่งขอป้าย มอป.แล้ว จำนวน 312 แห่ง - ออกปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตสาทร ปีงบประมาณ 2563 ประจำเดือนเดือนมีนาคม - เมษายน 2563

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

- ไตรมาส 3 เดือนเมษายน-มิถุนายน จากการชะลอการดำเนินโครงการตามหนังสือสำนักอนามัยที่ กท014/3077 ลงวันที่ 8 เมษายน 2563 ปัจจุบันได้ดำเนินโครงการต่อ โดยส่งต่ออายุป้าย มอป.ให้กองสุขาภิบาลอาหารแล้ว จากเป้าหมายทั้งหมด 419 แห่ง ณ เดือนมิถุนายน ดังนี้ ร้านอาหาร จำนวน 289 แห่ง ตลาด จำนวน 5 แห่ง มินิมาร์ท จำนวน 43 แห่ง ซูเปอร์มาร์เก็ต จำนวน 4 แห่ง รวมส่งต่ออายุป้าย มอป.แล้วทั้งสิ้น 341 แห่ง (ร้อยละ 81.83) (ตอบเป้าหมายโครงการในข้อ 3.1, 3.2, และข้อ 3.3) **เนื่องจากข้อ 3.2 และ 3.3 เป็นผลลัพธ์ของ ข้อ 3.1

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

-ไตรมาส 4 เดือนกรกฎาคม - กันยายน เดือนกันยายน ปรับยอดเป้าหมายใหม่เนื่องจากมีสถานประกอบการรายใหม่และมีสถานประกอบการเลิกกิจการซึ่งสถานประกอบการอาหารในพื้นที่เขตสาทร จำนวน 443 แห่ง แบ่งประเภทดังนี้ ร้านอาหาร จำนวน 390 แห่ง ตลาด จำนวน 5 แห่ง มินิมาร์ท จำนวน 45 แห่ง ซูเปอร์มาร์เก็ต จำนวน 3 แห่ง ส่งขอป้าย มอป. และต่ออายุป้าย มอป. ครบแล้วทั้ง 443 แห่ง

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

๑. สถานประกอบการอาหาร หมายถึง สถานที่จำหน่ายอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต และมินิมาร์ท ในพื้นที่เขตสาทร ที่ได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข ๒. เกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร หมายถึงเกณฑ์ที่ใช้ตรวจประเมินสถานประกอบการอาหารเพื่อขอรับป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดีประกอบด้วย ๓ องค์ประกอบหลัก ได้แก่ด้านอาคารสถานที่ ด้านความปลอดภัยของอาหารและด้านบุคลากรผู้สัมผัสอาหาร ดังนี้ 2.1 ด้านอาคารสถานที่ ต้องผ่านเกณฑ์สุขลักษณะสถานประกอบการอาหาร 2.2 ด้านความปลอดภัยของอาหาร ต้องผ่านเกณฑ์ด้านความปลอดภัย ดังนี้ (1) อาหารและวัตถุดิบสุ่มตรวจด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (Test kit) ทางด้านเคมี อยู่ในเกณฑ์คุณภาพอาหารที่กำหนด ดังนี้ - ต้องไม่พบการปนเปื้อนของสารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน สารฟอกขาว และสารกันรา - ต้องไม่พบสีสังเคราะห์ในอาหาร ที่ห้ามการใช้สี - ต้องไม่พบกรดแร่อิสระในน้ำส้มสายชู - ต้องไม่พบยาฆ่าแมลง สารไอโอเดท และสารโพลาร์ในน้ำมันทอดอาหารเกินเกณฑ์คุณภาพอาหารที่กำหนด (2) ตรวจความสะอาดของอาหารพร้อมบริโภคภาชนะอุปกรณ์ มือผู้สัมผัสอาหาร โดยใช้ชุดตรวจหาโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น (SI-๒) พบการปนเปื้อน ไม่เกินร้อยละ 1๐ กรณี พบการปนเปื้อนสารเคมีอันตราย หรือโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ให้ออกคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือคำแนะนำให้ผู้ประกอบการอาหารดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้ผ่านเกณฑ์ความปลอดภัยโดยสุ่มตรวจวิเคราะห์ซ้ำ 2.3 ด้านบุคลากรผู้สัมผัสอาหารต้องผ่านการอบรมหรือการเรียนรู้ด้วยตนเองตามหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารของกรุงเทพมหานคร และผ่านการทดสอบความรู้โดยได้รับหนังสือรับรองและบัตรประจำตัวผู้สัมผัสอาหาร ๓. ร้อยละความสำเร็จในการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร หมายถึงร้อยละความสำเร็จในการส่งเสริมสนับสนุนให้สถานประกอบการอาหารสามารถพัฒนาเพื่อยกระดับมาตรฐานสถานประกอบการอาหารให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ผลผลิต - จำนวนสถานประกอบการอาหารที่ได้รับการส่งเสริมให้มีการพัฒนาตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ผลลัพธ์ - ร้อยละสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

วิธีการคำนวณ จำนวนสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครคูณด้วย ๑๐๐ หารด้วยจำนวนสถานประกอบการอาหารทั้งหมดในพื้นที่เขต การดำเนินงานของสำนักงานเขต ๑. สำรวจและตรวจสอบจำนวนสถานประกอบการอาหารในพื้นที่ให้เป็นปัจจุบันเพื่อจัดทำฐานข้อมูล แล้วรายงานให้สำนักอนามัย (๑.๐) ๒. ส่งเสริมสถานประกอบการอาหารในพื้นที่ให้มีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร (๓.๐)โดย ๒.๑ ตรวจแนะนำด้านสุขลักษณะ ๒.๒ ตรวจคุณภาพอาหารด้านเคมี และโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ด้วยชุดทดสอบด้านความปลอดภัยของอาหารเบื้องต้น (Test-kit ๒.๓ ส่งเสริมผู้สัมผัสอาหารให้ผ่านการอบรม หรือเรียนรู้ด้วยตนเอง ตามหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารของกรุงเทพมหานคร ๓. รวบรวมรายชื่อสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครส่งให้สำนักอนามัย เพื่อขอรับป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร (๐.๕) ๔. ส่งมอบป้ายรับรองฯให้กับสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร (๑.๐) ๕. ตรวจติดตามกำกับ สถานประกอบการที่ได้รับป้ายรับรองฯ ให้มีการรักษาคุณภาพมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ(๑.๐)

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

- รายงานการตรวจสถานประกอบการด้านอาหาร - รายงานสถานประกอบการที่มีผลประเมินผ่านมาตรฐานอาหารปลอดภัย (มอป.)

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย
:๑.๖.๕ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีอาหารปลอดภัย ปราศจากเชื้อโรค และสารปนเปื้อน%
:๑.๖.๕.๑ ควบคุม กำกับ ดูแล ให้สถานประกอบการอาหาร เตรียม ประกอบปรุง และจำหน่ายอาหารถูกสุขลักษณะ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง