ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย : 50290000-3238

สำนักงานเขตสาทร : (2563)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

ชนาภา ทังเฮียง

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 3 100

หลักการและเหตุผล

จากการดำเนินการโครงการกรุงเทพฯเมืองอาหารปลอดภัยนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 เป็นต้นมา ในภาพรวมพบว่าสถานการณ์ความไม่ปลอดภัยด้านอาหารมีแนวโน้มลดลง โดยสถิติการปนเปื้อนทั้งสารเคมีอันตรายและเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหารในปี ๒๕๔๙- ๒๕๕6 พบร้อยละ ๓.๖, ๖.๒, ๘.๐, 4.8, 2.9, 3.4,2.4 และ 2.1 ตามลำดับ และลดลงเหลือร้อยละ 1.7 ในปี ๒๕๕7 โดยพบว่าสาเหตุหลักคือ การปนเปื้อนด้านจุลินทรีย์ สอดคล้องกับอัตราป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันต่อแสนประชากร ในกรุงเทพมหานคร ซึ่งพบว่ามีแนวโน้มลดลงเช่นกัน โดยพบว่าในปี ๒๕50 พบอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน เท่ากับ ๘๔9.5 และลดลงเหลือ 821.9, 720.60, 702.21, 772.06 และ 696.63 ในปี ๒๕๕1-2555 ตามลำดับ และสูงขึ้นเล็กน้อยในปี 2556 (708.96) โดยพบว่าในช่วงเวลาเดียวกันอัตราป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันต่อแสนประชากรในระดับประเทศกลับมีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงปี 2550-2554 (2,050.8,1,88.0, 2,023.6, 2,168.89 และ 2,068.09 ในปี 2550-2554 ตามลำดับ) และลดลงเล็กน้อยในปี 2555 (1,913.35) อย่างไรก็ตามถึงแม้สถานการณ์ความปลอดภัยด้านอาหารและอัตราป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในกรุงเทพมหานครจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นก็ตาม แต่เพื่อให้การดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยในกรุงเทพมหานคร มีความยั่งยืนและเกิดประโยชน์ต่อชาวกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตสาทร จึงได้จัดทำโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัยขึ้น ภายใต้แผนยุทธศาสตร์กรุงเทพฯเมืองอาหารปลอดภัย ทั้งนี้ เพื่อกำหนดกรอบและทิศทางในการดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยให้มีความต่อเนื่อง เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้ตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์งานด้านอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร รวมไปถึงการจัดทำฐานข้อมูลสถานประกอบการด้านอาหารทุกกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่เขตสาทร เพื่อก่อประโยชน์ต่อประชาชนชาวกรุงเทพมหานคร นักท่องเที่ยว รวมทั้งผู้ที่เข้ามาพักอาศัยจะได้รับการคุ้มครองจากการบริโภคอาหารปลอดภัย

50290400/50290400

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อปรับปรุง ยกระดับมาตรฐานด้านสุขลักษณะและด้านการสุขาภิบาลอาหารในสถานประกอบการอาหาร ให้มีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี 2. เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารในสถานประกอบการอาหารทั้งด้านเคมีและจุลินทรีย์ 3. เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ จิตสำนึกและความร่วมมือขององค์กรภาคเอกชน ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปในเรื่องอาหารปลอดภัย 4. เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร รวมทั้งเป็นการ คุ้มครองผู้บริโภค และสร้างความมั่นใจในการบริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย

เป้าหมายของโครงการ

1. ร้อยละ 100 ของความสำเร็จในการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี 2. ร้อยละ 78 ของตัวอย่างอาหารได้รับการสุ่มตรวจไม่พบการปนเปื้อนเชื้อโรค 3. ร้อยละ 95 ของตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจไม่พบการปนเปื้อนสารพิษ 4. ร้อยละ 100 ของผู้บริโภคได้รับการพิทักษ์สิทธิ์ในการเลือกซื้อกระเช้าของขวัญในช่วงเทศกาลปีใหม่

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย
๑.๖.๕ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีอาหารปลอดภัย ปราศจากเชื้อโรค และสารปนเปื้อน%
๑.๖.๕.๑ ควบคุม กำกับ ดูแล ให้สถานประกอบการอาหาร เตรียม ประกอบปรุง และจำหน่ายอาหารถูกสุขลักษณะ

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2020-09-23)

100.00

23/09/2563 : เดือนกันยายน ปรับยอดเป้าหมายใหม่เนื่องจากมีสถานประกอบการรายใหม่และมีสถานประกอบการเลิกกิจการซึ่งสถานประกอบการอาหารในพื้นที่เขตสาทร จำนวน 443 แห่ง แบ่งประเภทดังนี้ ร้านอาหาร จำนวน 390 แห่ง ตลาด จำนวน 5 แห่ง มินิมาร์ท จำนวน 45 แห่ง ซูเปอร์มาร์เก็ต จำนวน 3 แห่ง ***ข้อมูล ณ 21 กันยายน 2563 เป้าหมายสถานประกอบการด้านอาหาร ทั้งหมด 443 แห่ง ส่งต่ออายุป้าย มอป.ให้กองสุขาภิบาลอาหารแล้ว ณ เดือนกันยายน ดังนี้ เดิมต่ออายุป้าย มอป.แล้ว - ร้านอาหาร จำนวน 359 แห่ง ต่ออายุเพิ่ม 31 แห่ง รวม 390 แห่ง - ตลาด จำนวน 5 แห่ง ต่ออายุเพิ่ม 0 แห่ง รวม 5 แห่ง - มินิมาร์ท จำนวน 45 แห่ง ต่ออายุเพิ่ม 0 แห่ง รวม 45 แห่ง - ซูเปอร์มาร์เก็ต จำนวน 3 แห่ง ต่ออายุเพิ่ม 0 แห่ง รวม 3 แห่ง รวมส่งต่ออายุป้าย มอป.แล้ว ทั้งสิ้น 443 แห่ง

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 92.00 (2020-08-24)

92.00

24/08/2563 : เดือนสิงหาคม มีการปรับยอดเป้าหมายใหม่เนื่องจากมีสถานประกอบการรายใหม่และเลิกกิจการซึ่งสถานประกอบการอาหารในพื้นที่เขตสาทร จำนวน 446 แห่ง แบ่งประเภทดังนี้ ร้านอาหาร จำนวน 392 แห่ง ตลาด จำนวน 5 แห่ง มินิมาร์ท จำนวน 46 แห่ง ซูเปอร์มาร์เก็ต จำนวน 3 แห่ง ***ข้อมูล ณ 24 สิงหาคม 2563 เป้าหมายสถานประกอบการด้านอาหาร ทั้งหมด 446 แห่ง ส่งต่ออายุป้าย มอป.ให้กองสุขาภิบาลอาหารแล้ว ณ เดือนสิงหาคม ดังนี้ เดิมต่ออายุป้าย มอป.แล้ว - ร้านอาหาร จำนวน 289 แห่ง ต่ออายุเพิ่ม 70 แห่ง รวม 359 แห่ง - ตลาด จำนวน 5 แห่ง ต่ออายุเพิ่ม 0 แห่ง รวม 5 แห่ง - มินิมาร์ท จำนวน 43 แห่ง ต่ออายุเพิ่ม 3 แห่ง รวม 46 แห่ง - ซูเปอร์มาร์เก็ต จำนวน 3 แห่ง ต่ออายุเพิ่ม 0 แห่ง รวม 3 แห่ง รวมส่งต่ออายุป้าย มอป.แล้ว ทั้งสิ้น 413 แห่ง

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 91.00 (2020-07-23)

91.00

23/07/2563 : - เดือนกรกฎาคม เป้าหมายสถานประกอบการด้านอาหาร ทั้งหมด 419 แห่ง ส่งต่ออายุป้าย มอป.ให้กองสุขาภิบาลอาหารแล้ว ณ เดือนกรกฎาคม ดังนี้ เดิมต่ออายุป้าย มอป.แล้ว - ร้านอาหาร จำนวน 289 แห่ง ต่ออายุเพิ่ม 30 แห่ง รวม 319 แห่ง - ตลาด จำนวน 5 แห่ง ต่ออายุเพิ่ม 0 แห่ง รวม 5 แห่ง - มินิมาร์ท จำนวน 43 แห่ง ต่ออายุเพิ่ม 13 แห่ง รวม 56 แห่ง - ซูเปอร์มาร์เก็ต จำนวน 4 แห่ง ต่ออายุเพิ่ม 0 แห่ง รวม 4 แห่ง รวมส่งต่ออายุป้าย มอป.แล้ว ทั้งสิ้น 384 แห่ง (ร้อยละ 91.64) (ตอบเป้าหมายโครงการในข้อ 3.1, 3.2, และข้อ 3.3) **เนื่องจากข้อ 3.2 และ 3.3 เป็นผลลัพธ์ของ ข้อ 3.1

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 82.00 (2020-06-25)

82.00

25/06/2563 : - เดือนมิถุนายน จากการชะลอการดำเนินโครงการตามหนังสือสำนักอนามัยที่ กท014/3077 ลงวันที่ 8 เมษายน 2563 ปัจจุบันได้ดำเนินโครงการต่อ โดยส่งต่ออายุป้าย มอป.ให้กองสุขาภิบาลอาหารแล้ว จากเป้าหมายทั้งหมด 419 แห่ง ณ เดือนมิถุนายน ดังนี้ ร้านอาหาร จำนวน 289 แห่ง ตลาด จำนวน 5 แห่ง มินิมาร์ท จำนวน 43 แห่ง ซูเปอร์มาร์เก็ต จำนวน 4 แห่ง รวมส่งต่ออายุป้าย มอป.แล้วทั้งสิ้น 341 แห่ง

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 74.00 (2020-05-25)

74.00

25/05/2563 : เดือนพฤษภาคม ชะลอการดำเนินโครงการตามหนังสือสำนักอนามัยที่ กท014/3077 ลงวันที่ 8 เมษายน 2563

** ปัญหาของโครงการ :เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้ร้านอาหารปิดเป็นจำนวนมากทำให้ร้อยละความสำเร็จของตัวชี้วัดไม่เป็นไปตามกำหนด

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 74.00 (2020-04-23)

74.00

23/04/2563 : ความก้าวหน้าของโครงการ 74.46 % - เดือนเมษายน ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้จำเป็นต้องชะลอการดำเนินการต่างๆ ออกไปจนกว่าสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 จะคลี่คลาย ทำให้ไม่มีความคืบหน้าในการดำเนินการตรวจรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้เป็นไปตามหนังสือสำนักอนามัยที่ กท014/3077 ลงวันที่ 8 เมษายน 2563

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 74.46 (2020-03-24)

74.46

24/3/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน... - เดือนมีนาคม ดำเนินการตรวจสถานประกอบการอาหารและส่งรายชื่อเพื่อขอต่ออายุป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย ให้กองสุขาภิบาลอาหาร ดังนี้ ส่งรายชื่อขอป้าย มอป. ดังนี้ ร้านอาหาร จำนวน 46 แห่ง ตลาด จำนวน 0 แห่ง มินิมาร์ท จำนวน 0 แห่ง ซูเปอร์มาร์เก็ต จำนวน 0 แห่ง รวมเดือนมีนาคม ส่งรายชื่อขอป้าย มอป. จำนวน 46 แห่ง รวมเดือนตุลาคม – มีนาคม ส่งขอป้าย มอป.แล้ว จำนวน 312 แห่ง - ออกปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตสาทร ปีงบประมาณ 2563 ประจำเดือนเดือนมีนาคม - เมษายน 2563

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 63.48 (2020-02-18)

63.48

18/2/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน... - เดือนกุมภาพันธ์ ดำเนินการตรวจสถานประกอบการอาหารและส่งรายชื่อเพื่อขอต่ออายุป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย ให้กองสุขาภิบาลอาหาร ดังนี้ ส่งรายชื่อขอป้าย มอป. ดังนี้ ร้านอาหาร จำนวน 39 แห่ง ตลาด จำนวน 0 แห่ง มินิมาร์ท จำนวน 0 แห่ง ซูเปอร์มาร์เก็ต จำนวน 0 แห่ง รวมเดือนกุมภาพันธ์ ส่งรายชื่อขอป้าย มอป. จำนวน 39 แห่ง รวมเดือนตุลาคม – กุมภาพันธ์ ส่งขอป้าย มอป.แล้ว จำนวน 266 แห่ง - ออกปฏิบัติงานนอกเวลาราชการตามแผนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการตรวจสอบด้านกายภาพและเฝ้าระวังคุณภาพอาหาร ระหว่างเดือนมกราคม ถึงกุมภาพันธ์ 2563 - จัดทำแผนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตสาทร ปีงบประมาณ 2563 ประจำเดือนเดือนมีนาคม - เมษายน 2563

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 54.17 (2020-01-21)

54.17

21/1/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน... - เดือนมกราคม ดำเนินการตรวจสถานประกอบการอาหารและส่งรายชื่อเพื่อขอต่ออายุป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย ให้กองสุขาภิบาลอาหาร ดังนี้ ขอป้าย มอป. ดังนี้ ร้านอาหาร จำนวน 53 แห่ง ตลาด จำนวน 0 แห่ง มินิมาร์ท จำนวน 4 แห่ง ซูเปอร์มาร์เก็ต จำนวน 1 แห่ง รวมเดือนมกราคม ขอป้าย มอป. จำนวน 58 แห่ง รวมเดือนตุลาคม – มกราคม ขอป้าย มอป.แล้ว จำนวน 227 แห่ง - ออกปฏิบัติงานนอกเวลาราชการตามแผนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการตรวจสอบด้านกายภาพและเฝ้าระวังคุณภาพอาหาร ระหว่างเดือนมกราคม ถึงกุมภาพันธ์ 2563

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.33 (2019-12-25)

40.33

25/12/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน... - เดือนธันวาคม ดำเนินการตรวจสถานประกอบการอาหารและส่งรายชื่อเพื่อขอต่ออายุป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย ให้กองสุขาภิบาลอาหาร ดังนี้ ขอป้าย มอป. ดังนี้ ร้านอาหาร จำนวน 48 แห่ง ตลาด จำนวน 0 แห่ง มินิมาร์ท จำนวน 6 แห่ง ซูเปอร์มาร์เก็ต จำนวน 0 แห่ง รวมเดือนธันวาคม ขอป้าย มอป. จำนวน 54 แห่ง รวมเดือนตุลาคม - ธันวาคม ขอป้าย มอป.แล้ว จำนวน 169 แห่ง

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 27.44 (2019-11-22)

27.44

22/11/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน... - เสนอโครงการและจัดทำแผนปฏิบัติงาน - จัดทำแผนอนุมัติฎีกาตามแผนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการของข้าราชการและลูกจ้าง - สถานประกอบการอาหารในพื้นที่เขตสาทร จำนวน 419 แห่ง แบ่งประเภทดังนี้ ร้านอาหาร จำนวน 366 แห่ง ตลาด จำนวน 5 แห่ง มินิมาร์ท จำนวน 44 แห่ง ซูเปอร์มาร์เก็ต จำนวน 4 แห่ง - เดือนพฤศจิกายน ดำเนินการตรวจสถานประกอบการอาหารและส่งรายชื่อเพื่อขอต่ออายุป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย ให้กองสุขาภิบาลอาหาร ดังนี้ ขอป้าย มอป. ดังนี้ ร้านอาหาร จำนวน 99 แห่ง ตลาด จำนวน 5 แห่ง มินิมาร์ท จำนวน 10 แห่ง ซูเปอร์มาร์เก็ต จำนวน 1 แห่ง รวมเดือนพฤศจิกายน ขอป้าย มอป. จำนวน 115 แห่ง

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(12) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2019-10-24)

10.00

24/10/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน... - เสนอโครงการและจัดทำแผนปฏิบัติงาน

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:สำรวจข้อมูลเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
:0.00%
เริ่มต้น :2019-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2019-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:จัดทำแผนการตรวจเฝ้าระวังด้านสุขลักษณะและคุณภาพอาหารในสถานประกอบการอาหารและตรวจประเมินตามแผนที่กำหนด
:0.00%
เริ่มต้น :2019-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2019-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:จัดซื้อตัวอย่างอาหารในสถานประกอบอาหาร
:0.00%
เริ่มต้น :2019-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2019-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:จัดประชุมผู้ประกอบการตลาด/ผู้ขายของในตลาด ตามกิจกรรมการพัฒนาตลาดสะอาดได้มาตรฐานอาหารปลอดภัย
:0.00%
เริ่มต้น :2019-12-01 00:00:00
สิ้นสุด :2019-12-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:จัดประชุมคณะกรรมการเครือข่ายงานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน ตามกิจกรรมเครือข่ายงานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน จำนวน 1 ครั้ง
:0.00%
เริ่มต้น :2020-07-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-07-01 00:00:00
ขั้นตอน 6
:จัดทำแผนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ สำหรับข้าราชการและลูกจ้าง
:0.00%
เริ่มต้น :2020-01-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-01-01 00:00:00
ขั้นตอน 7
:จัดทำแผนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ สำหรับบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข
:0.00%
เริ่มต้น :2020-03-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-03-01 00:00:00
ขั้นตอน 8
:สรุปผลการดำเนินงาน
:0.00%
เริ่มต้น :2020-09-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-09-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 50290000-3238

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 50290000-3238

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 5029-0828

ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จในการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 80

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
40.33

100 / 100
2
74.46

100 / 100
3
81.83

0 / 0
4
100.00

100 / 100

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **