รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

จำนวนภูมิปัญญาจากผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น : 5030-1020

ค่าเป้าหมาย จำนวนภูมิปัญญา : 1

ผลงานที่ทำได้ จำนวนภูมิปัญญา : 0

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(จำนวนภูมิปัญญา)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00
100
100 / 100
2
0.00
100
100 / 100
3
0.00
100
100 / 100
4
0.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

- ศึกษาข้อมูลโครงการ - จัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง - วางแผนกำหนดรูปแบบรายละเอียดกิจกรรม

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

-อยู่ระหว่างประสานวิทยากรเผยแพร่ภูมิปัญญาผู้สูงอายุ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

-ยกเลิกโครงการ เนื่องจากสำนักงบประมาณแจ้งชะลอการดำเนินการหมวดรายจ่ายอื่น ประกอบกับเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด-19

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

-ยกเลิกโครงการ เนื่องจากสำนักงบประมาณแจ้งชะลอการดำเนินการหมวดรายจ่ายอื่น ประกอบกับเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด-19

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

นิยาม/คำอธิบาย ๑. ภูมิปัญญา หมายถึง องค์ความรู้ ความเชื่อ ความสามารถของคนในท้องถิ่นที่ได้จากการสั่งสมประสบการณ์และการเรียนรู้มาเป็นระยะเวลายาวนาน มีลักษณะเป็นองค์รวม และมีคุณค่าทางวัฒนธรรม ๒. คลังปัญญาผู้สูงอายุ คือ การรวบรวมบุคคลผู้มีอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป สุขภาพดี มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์จากการทำงาน มีความพร้อมที่จะสมัครใจอุทิศเพื่อนำปัญญา ความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญมาอำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น กลุ่มบุคคลอื่น ชุมชนและประเทศชาติ โดยไม่หวังผลตอบแทนส่วนตัว ผู้ที่เป็นภูมิปัญญาผู้สูงอายุชุมชนจึงเป็นผู้ที่ทรงคุณค่า เปี่ยมด้วยพลังศักยภาพ และยังมีบทบาทการถ่ายทอดภูมิรู้ ภูมิธรรม และภูมิปัญญาอันดีงามให้สืบทอดไว้ในชุมชน และสังคมต่อไป ๓. ภูมิปัญญาด้านต่างๆ ๓.๑ ด้านการศึกษา คือ ผู้มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ต่าง ๆ โดยไม่หวงวิชา ทั้งด้านทฤษฎี และปฏิบัติ ทำให้ผู้เรียนเข้าใจ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้และเป็นผู้ที่ศึกษาหาความรู้ รวบรวมข้อมูล ถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่นได้ ๓.๒ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ได้แก่ ความสามารถในการจัดการป้องกันและรักษาของคนในชุมชน โดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองทางด้านสุขภาพ และอนามัยได้ เช่น ยาสมุนไพร การนวดแผนโบราณ การดูแลรักษาสุขภาพแบบพื้นบ้าน เป็นต้น ๓.๓ ด้านเกษตร ได้แก่ ความสามารถในการผสมผสาน องค์ความรู้ ทักษะและเทคนิคด้านการเกษตรกับเทคโนโลยี โดยการพัฒนาบนพื้นฐานคุณค่าทางสังคมซึ่งคนสามารถพึ่งพาตนเองในสภาวการณ์ต่างๆ ได้ เช่น การทำเกษตรแบบผสมผสานการแก้ปัญหาการเกษตร ด้านตลาด การแก้ปัญหาด้านการผลิต เป็นต้น ๓.๔ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ความสามารถเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งการอนุรักษ์การพัฒนา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน เช่น การอนุรักษ์ป่าชายเลน การปลูกและใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝก ๓.๕ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการประดิษฐ์ หรือคิดค้นสิ่งของวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในชีวิตประจำวัน หรือใช้ในการ ๓.๖ ด้านวิศวกรรม ได้แก่ ความสามารถในการสร้างหรือประดิษฐ์โครงสร้างขนาดใหญ่ หรือการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ อาจนำหลักการทางวิศวกรรมมาใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน หรือประชาชนในพื้นที่ เช่น การทำเขื่อน หรืออ่างเก็บกักน้ำ เป็นต้น ๓.๗ ด้านสถาปัตยกรรม ได้แก่ ความสามารถในการผสมผสานความรู้ประสบการณ์ในการตกแต่ง ออกแบบ ประดิษฐ์วัสดุอุปกรณ์ซึ่ง เป็นส่วนประกอบของโครงสร้าง หรือสถานที่ที่มีความเฉพาะ หรือเป็นเอกลักษณ์ในแต่ละพื้นที่ ๓.๘ ด้านการพัฒนาสังคม พัฒนาชุมชน การจัดสวัสดิการชุมชน การสังคมสงเคราะห์ ได้แก่ ความสามารถช่วยเหลือทางด้านสังคม การเยี่ยมเยียนคนยากจน คนด้อยโอกาส การจัดเวทีประชาคม แลกเปลี่ยนเรียนรู้และแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชุมชนร่วมกัน โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาชุมชน พื้นที่ให้มีความเจริญมั่นคงต่อไป ๓.๙ ด้านกฎหมาย ได้แก่ ความสามรถในการนำประสบการณ์ ความรู้ด้านกฎหมายใช้ให้เกิดประโยชน์ในชุมชน ช่วยเหลือผู้มีปัญหาด้านกฎหมายต่างๆ ๓.๑๐ ด้านการเมืองการปกครอง ได้แก่ ความสามารถเป็นผู้นำในการปกครองพื้นที่ ชุมชนรักษาความสงบในพื้นที่ให้อยู่อย่างมีความสุข เป็นชุมชนที่พึ่งตนเอง หรือนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ปัจจุบัน ๓.๑๑ ด้านศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ได้แก่ ความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะ สาขาต่างๆ เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม นาฎศิลป์ ดนตรี ทัศนศิลป์ การอนุรักษ์การสืบสานวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่นให้คงอยู่ ๓.๑๒ ด้านศาสนา จริยธรรม ได้แก่ การนำหลักคำสอนทางศาสนา ปรัชญาความเชื่อมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน การถ่ายทอดหลักคำสอนทางศาสนาให้แก่ลูกหลานให้ประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดี ๓.๑๓ ด้านพาณิชย์และบริการ ได้แก่ ความสามารถในการพัฒนาการให้บริการดูแลผู้อื่นให้เกิดความพึงพอใจ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพสร้างรายได้ หรือการเพิ่มมูลค่าของหรือสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ที่เป็นของโบราณ เช่น การทำบายศรีโดยประยุกต์ให้มีความหลากหลาย เป็นที่สนใจมากขึ้น ๓.๑๔ ด้านความมั่นคง ได้แก่ ความสามารถในการปกป้องคุ้มครองประเทศให้ปลอดภัยด้วยวิธี หรือวิธีการที่ได้เรียนรู้ หรือประสบการณ์ที่ได้สั่งสมมา เช่น ทหารที่ปลดประจำการได้นำความรู้ ระเบียบวินัยต่างๆ มาถ่ายทอดให้แก่เด็กและเยาวชน ทำให้บุคคลเหล่านั้นเป็นพลเมืองดี ไม่สร้างความวุ่นวายให้สังคม ๓.๑๕ด้านบริหารจัดการและบริหารธุรกิจ ได้แก่ ความสามารถในการประยุกต์ วิธีการหรือจัดการธุรกิจ หรือกิจการให้ได้รับผลประโยชน์แก่ตนเอง หรือปันส่วนผลประโยชน์แก่ผู้เกี่ยวข้อง และแบ่งให้ได้ผลประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย หรือสามารถถ่ายทอดวิธีการเหล่านี้แก่ผู้อื่นได้ ๓.๑๖ ด้านการประชาสัมพันธ์ ได้แก่ ความสามารถในการผลิตสื่อหรือเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ สาระความรู้ หรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นด้วยเอกสาร แผ่นพับ การบอกต่อบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาในสมัยโบราณ สมัยก่อนของท้องถิ่นให้คงอยู่ ๓.๑๗ ด้านการคมนาคมและการสื่อสาร ได้แก่ การนำความรู้ประสบการณ์ด้านคมนาคม การสื่อสารสมัยก่อน ถ่ายทอดให้ผู้ให้ความสนใจ เช่น ช่องทางการสื่อสาร การรักษาทางน้ำ วิธีการสมัยโบราณให้เป็นการสร้างเส้นทางคมนาคม พาหนะเก็บรักษาไว้ให้คงอยู่ ๓.๑๘ ด้านพลังงาน ได้แก่ การนำวัสดุทรัพยากรธรรมชาติ หรือสิ่งทดแทนมาใช้แทนพลังงานที่กำลังจะหมดไป เช่น สบู่ดำทดแทนเชื้อเพลิง ถ่านแท่งที่ผลิตจาก แกลบ กะลา และวัสดุต่างๆ ในท้องถิ่น เป็นต้น ๓.๑๙ ด้านต่างประเทศ ประสบการณ์ในการติดต่อเจรจาต่อรองเกี่ยวกับชาวต่างชาติ หรือประสานการดำเนินงานกับต่างประเทศ ทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จัก หรือนำผลประโยชน์มาให้ประเทศไทย สามารถนำความรู้ถ่ายทอดให้ผู้อื่นเป็นกลยุทธ์ในการประสานงานกับต่างชาติ ๓.๒๐ ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม ได้แก่ การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์อย่างปลอดภัย ประหยัดและเป็นธรรม ๓.๒๑ ด้านภาษา วรรณศิลป์ ได้แก่ ความสามารถด้านภาไทยพื้นถิ่น ไทยดั้งเดิม กาพย์ กลอน โคลง ๓.๒๒ ด้านวาทศิลป์ ได้แก่ การอนุรักษ์การใช้พูดภาษาไทยอย่างถูกต้อง เหมาะสมตามกาลเทศะ ตามประเพณีไทย

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

-

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

-

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๓ - มหานครสำหรับทุกคน : Bangkok as a City for All
:๓.๑ - ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส ได้รับการดูแลอย่างครบวงจร
:๓.๑.๒ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสสามารถดำารงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี%
:๓.๑.๒.๑ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง