ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
- แจ้งรายชื่อผู้รับผิดชอบตัวชี้วัดที่ 4.2 ของหน่วยงาน - สำเนาแบบประเมินความเสี่ยงในการทำงาน OCC๑(๖๓) - หนังสือเวียนแจ้งข้อปฏิบัติฯ กลาง(การใช้รถยนต์)ให้ทราบทั่วกัน - ส่งสำเนาแบบรายงานใช้ปฏิบัติฯ กลาง(การใช้รถยนต์)ครั้งที่ ๑และสำเนาโครงการและแผนปฏิบัติงานโครงการ
-จัดทำข้อปฏิบัติด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน และสำรวจจำนวนและบันทึกประวัติโดยย่อของพนักงานปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันอันตรายจากการปฏิบัติการให้กับพนักงานที่ในส่วนที่เกี่ยวข้อง และจัดกิจกรรมสนทนาความปลอดภัย (Morning Talk) เพื่อทบทวนความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับข้อปฏิบัติแนวทางการทำงานว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน และการป้องกันอันตรายจากการปฏิบัติงาน เวียนทราบข้อปฏิบัติงานให้กับผู้ปฏิบัติงานรับทราบและถือปฏิบัติ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องรายงานการใช้ข้อปฏิบัติการใช้รถยนต์ราชการ (R2)
-1.จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันอันตรายจากการปฏิบัติการให้กับพนักงานที่ในส่วนที่เกี่ยวข้อง และจัดกิจกรรมสนทนาความปลอดภัย (Morning Talk) เพื่อทบทวนความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับข้อปฏิบัติแนวทางการทำงานว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน และการป้องกันอันตรายจากการปฏิบัติงาน จำนวน 3 ครั้ง 2. ติดตามผลการนำข้อปฏิบัติ แนวทางการทำงานไปใช้งาน 3 .ติดตาม/ประเมินผลความสำเร็จโครงการ 4.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือน เช่น การบันทึกสถิติการเกิดอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วยจากการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้อง
-1. ติดตามผลการนำข้อปฏิบัติ แนวทางการทำงานไปใช้งาน 2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการรายงานผลการปฏิบัติงานประจำเดือน เช่น การบันทึกสถิติการเกิดอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วยจากการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้อง 3.รายงานการประเมินความสำเร็จของการดำเนินโครงการฯ 4.รวบรวมรายงานผลการปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือมาตรฐานกลางการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน (การใช้รถยนต์) ครั้ง 3 5. ดำเนินการติดตามและประเมินผลการใช้ข้อปฏิบัติฯ ตามแบบ OCC 6 (63) 6. ดำเนินการจัดกิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการและผลสำเร็จของการดำเนินงานโดยรวบรวมผลการดำเนินงานและประชาสัมพันธ์ผลสำเร็จของการดำเนินงานผ่านช่องทางออนไลน์ ได้แก่ เว็บไซต์สำนักงานเขตบาง7. รายงานการใช้ข้อปฏิบัติฯ กลาง (การใช้รถยนต์) ครั้งที่ 3 ตามแบบ R 3 (63) 8. สรุปผลการดำเนินงานภาพรวมให้หัวหน้าหน่วยงานทราบ 9. รายงานผลการดำเนินงานและส่งแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ ให้สำนักอนามัยเรียบร้อยแล้ว
คำอธิบาย : การดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่ 4.2 ระดับความสำเร็จของการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงาน มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้บุคลากรในสังกัดกรุงเทพมหานคร มีสุขภาพอนามัยที่ดีปลอดโรคปลอดภัยในการทำงาน โดยการจัดสภาพการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานให้สะอาด ปลอดโรค ปลอดภัย ส่งเสริมการมีสุขภาพอนามัยในการทำงานที่ดี โดยนำหลักการด้านอาชีวอนามัยมาประยุกต์ใช้ ได้แก่ การสืบคัน (ldentify) การประเมินอันตรายหรือการประเมินความเสี่ยง (Evaluation) และการควบคุม (Contro) เพื่อนำไปสู่การจัดการ ควบคุมและป้องกันอันตรายจากการทำงานอย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพ โดยได้กำหนดสิ่งคุกคามสุขภาพในการทำงาน จำนวน 8 ด้าน ประกอบด้วย 1. สิ่งคุกคามด้านกายภาพ (physical hazard) 2.ด้านเคมี (chemical hazard) 3. ด้านชีวภาพ (biological hazard) 4. ด้านการยศาสตร์ (ergonomic hazard) 5. ด้านจิตวิทยาสังคม (psychosocial health hazard) 6.ด้านความปลอดภัย (safety hazard) 7. ด้านอัคคีภัย และ 8. ด้านอื่นๆ ที่ไม่เข้าข่ายตามที่กล่าวมา ในปีนี้ กำหนดแผนการดำเนินงานในลักษณะต่อเนื่อง โดยเป็นการต่อยอดพัฒนางาน (เดิม) และขยายผล การดำเนินงานจัดการงานที่มีความเสี่ยงสูง (เพิ่มเติม) โดยมุ่งหวังให้มีการคุ้มครองสุขภาพอนามัยและความปลอดภัย ในการทำงานของบุคลากรในสังกัดกรุงเทพมหานครอย่างครอบคลุมครบถ้วน และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ส่วนที่สำคัญ ได้แก่ ส่วนแรก ต่อยอดพัฒนางาน (เดิม) ที่ดำเนินการในปีที่ผ่านมา และขยายผลการดำเนินงานจัดกรงานที่มีความเสี่ยงสูง (เพิ่มเติม) ส่วนที่สอง นำข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือ มาตรฐานกลาง สำหรับการปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงสูง เวียนทราบและถือปฏิบัติในหน่วยงานโดยทั่วกัน ทั้งนี้ ในส่วนของการประเมิน ความสำเร็จของตัวชี้วัดที่ 4.2 ในปีนี้ยังคงวัดความสำเร็จเป็นแบบผสมผสาน (Hybrid) คือ ประเมินความสำเร็จจากความก้าวหน้าขั้นตอนการดำเนินงาน และประเมินผลความสำเร็จของการดำเนินงาน
ขั้นตอนที่ 1 ทบทวน วิเคราะห์ความเสี่ยง ประเมินอันตรายจากการทำงาน คัดเลือกงานที่มีความเสี่ยงสูง นำมาจัดการความเสี่ยงในการทำงาน อย่างน้อย 2 งาน คัดเลือกงานที่ได้จัดการความเสี่ยง ในปีที่ผ่านมา นำมาต่อยอดพัฒนางาน อย่างน้อย 1 งานและนำข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือมาตรฐานกลาง การปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงานเวียนทราบและถือปฏิบัติโดยทั่วกันพร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินงานให้สำนักอนามัยภายในเดือน ธันวาคม 2562 ขั้นตอนที่ 2 จัดทำโครงการพัฒนาและจัดการปัญหาความเสี่ยงในการทำงานของหน่วยงาน โดยจัดส่งสำเนาโครงการฯ และหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้สำนักอนามัย ภายในเดือนธันวาคม 2562 ดำเนินโครงการตามแผนงานและกำกับติดตามผลการดำเนินโครงการฯ พร้อมรายงานผลการปฏิบัติตามปฏิบัติ แนวทาง หรือมาตรฐานกลางการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน ครั้งที่ 2 ให้สำนักอนามัยภายในเดือนเมษายน 2563 ขั้นตอนที่ 3 ประเมินผลความสำเร็จของการดำเนินโครงการฯ ขั้นตอนที่ 4 จัดทำและนำข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือ มาตรฐานการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของหน่วยงานไปใช้งานภายในหน่วยงาน พร้อมติดตามและประเมินผลการใช้งานข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือ มาตรฐานฯ ที่ดำเนินการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ขั้นตอนที่ 5 ดำเนินการเพื่อการเป็นต้นแบบที่ดีให้หน่วยงานอื่นใช้เป็นแบบอย่างในการดำเนินงานหรือใช้ประโยชน์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สรุปผลการดำเนินงานในภาพรวมให้หัวหน้าหน่วยงานทราบ พร้อมรายงานผลการปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือ มาตรฐานกลาง การปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัย ในการทำงาน ครั้งที่ 3 ให้สำนักอนามัยและจัดส่งผลการดำเนินการและหลักฐานที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนดให้สำนักอนามัย ภายในวันที่ 17 สิงหาคม 2563
-
:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
:๗.๓ - การบริหารทรัพยากรบุคคล |
:๗.๓.๑ บุคลากรกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติงานแบบมืออาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นที่เชื่% |
:๗.๓.๑.๑ การพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ มีความเป็นมืออาชีพ |