รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมอาชีพ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพ/สร้างรายได้เสริมหรือนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน : 5036-1089

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 50

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 55.42

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
10.00
100
100 / 100
2
30.00
100
100 / 100
3
30.00
100
100 / 100
4
55.42
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

อยู่ระหว่างประสานวิทยากรเพื่อกำหนดหลักสูตรอบรมอาชีพ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

ดำเนินการจัดอบรมวิชาชีพเสริมรายได้ วิชาศิลปประดิษฐ์ จำนวน 3 วิชา ประกอบด้วย รองเท้าเดินในบ้าน, กระเป๋าปลาโอริตางิ, กระเป๋าสองสี, ตระกร้าเอนกประสงค์, กระเป๋าสะพายข้าง, กระเป๋าน้อยคล้องแขน, กระเป๋าช็อปปิ้งไฮโซ, กระเป๋าปากรูด, กระเป๋าหลายชั้น โดยกำหนดจัดอบรมระหว่างวันที่ 8, 14-15, 21-22, 28-29 มีนาคม และวันที่ 4-5 เมษายน 2563 ณ ลานเอนกประสงค์ สำนักงานเขตจอมทอง

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

อยู่ระหว่างพิจารณาเปิดการอบรมวิชาชีพเสริมรายได้ตามที่กำหนดไว้ในโครงการ ภายหลังจากที่รัฐบาลมีมาตรการผ่อนคลาย

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

ดำเนินการฝึกอบรมวิชาชีพเสริมรายได้ ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2563 - 15 สิงหาคม 2563 ณ สำนักงานเขตจอมทอง โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งสิ้น 402 คน ทั้งนี้ ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคมได้ดำเนินการสำรวจและติดตามผู้เข้าร่วมอบรมในการนำความรู้ไปใช้ประกอบอาชีพ สร้างรายได้เสริม หรือนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จำนวน 45 คน จากผู้เข้าร่วมอบรมทั้งสิ้น 83 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 55.42

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

1. ผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมวิชาชีพ หมายถึง ประชาชนทั่วไปในพื้นที่เขตจอมทองที่สมัครเข้ารับการอบรมวิชาชีพเสริมรายได้กับสำนักงานเขตจอมทองและผ่านการอบรมตามเกณฑ์ที่กำหนด 2. การนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพ/สร้างรายได้เสริม หรือนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ติดตามผลโดยการทอดแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ผู้ผ่านการอบรมวิชาชีพหลังจากจบการอบรม

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมอาชีพที่สามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพ/สร้างรายได้เสริมหรือนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน คูณด้วย 100 หารด้วยจำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรมอาชีพทั้งหมด ระหว่าง 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

ทอดแบบสอบถามกับผู้เข้าร่วมอบรมอาชีพ

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๓ - มหานครสำหรับทุกคน : Bangkok as a City for All
:๓.๒ - เมืองแห่งโอกาสทางเศรษฐกิจ
:๓.๒.๒ คนกรุงเทพฯมีโอกาสได้รับการฝึกอาชีพตามความถนัด%
:๓.๒.๒.๑ พัฒนาโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร ศูนย์ฝึกอาชีพ และการจัดฝึกอาชีพ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง