ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
-วิเคราะห์และประเมินผลการปฏิบัติงานในปีที่ผ่านมา -สำรวจความพร้อมของท่อระบายน้ำ คู คลอง ที่ต้องล้างทำความสะอาด และที่ต้องขุดลอก -จัดทำแผนปฏิบัติการเตรียมการป้องกันปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ประจำปี 2563 -จัดกิจกรรมรณรงค์ไม่ทิ้งขยะลงในคูคลอง จำนวน 1 ครั้ง ผลการดำเนินงาน คิดเป็นร้อยละ 25.65
-มีการประเมินผลการปฏิบัติงานในปีงบประมาณ พ.ศ.2562 -สำรวจความพร้อมของท่อระบายน้ำที่ต้องล้างทำความสะอาด จำนวน 127 ซอย ความยาว 99,442 เมตร และ คู คลอง ที่ต้องขุดลอกและเปิดทางน้ำไหล จำนวน 27 คลอง ความยาว 26,120 เมตร -จัดทำแผนปฏิบัติการเตรียมการป้องกันปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ประจำปี 2563 -ทำความสะอาด/ลอกท่อ โดยใช้แรงงานเขต จำนวน 77 ซอย ความยาว 44,947 เมตร ดำเนินการไปแล้ว 65 ซอย ความยาว 34,000 เมตร และโดยการจ้างเหมาที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณประจำปี พ.ศ.2563 จำนวน 50 ซอย ความยาว 54,495 เมตร ดำเนินการได้ 45 ซอย ความยาว 49,700 เมตร รวมผลงานทั้งหมด 110 ซอย ความยาว 83,700 เมตร คิดเป็นร้อยละ 84.17 -ดำเนินการขุดลอกคู คลองฯ โดยใช้แรงงานเขต จำนวน 27 คลอง ความยาว 26,120 เมตร ดำเนินการได้ 20,700 เมตร คิดเป็นร้อยละ 79.25 -จัดกิจกรรมรณรงค์ไม่ทิ้งขยะลงในคูคลอง จำนวน 1 ครั้ง/เดือน ผลการดำเนินงานตั้งแต่เดือน ต.ค.62-มี.ค.63 จำนวน 6 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 วันที่ 24 ต.ค.62 ณ บริเวณคลองสะแก ครั้งที่ 2 วันที่ 21 พ.ย.62 ณ บริเวณคลองบ้านป่า ครั้งที่ 3 วันที่ 19 ธ.ค.62 ณ บริเวณคลองจวน ครั้งที่ 4 วันที่ 16 ม.ค.63 ณ บริเวณคลองพระโขนงเก่า ครั้งที่ 5 วันที่ 20 ก.พ.63 ณ บริเวณคลองแสนแสบ และครั้งที่ 6 วันที่ 19 มี.ค.63 ณ บริเวณคลองสุเหร่าใหม่
-มีการจัดทำแผนปฏิบัติการเตรียมการป้องกันน้ำท่วมประจำปี 2563 ของสำนักงานเขต -ความสามารถในการระบายน้ำจากถนนสายหลักที่มีปัญหาน้ำท่วมขังเนื่องจากฝนตก มีการดำเนินงานจัดทำแผนขุดลอกท่อระบายน้ำ จำนวน 127 ซอย ความยาว 99,442 เมตร ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว 127 ซอย ความยาว 99,442 เมตร คิดเป็นร้อยละ 100 -จัดกิจกรรมรณรงค์ไม่ทิ้งขยะลงในคูคลอง จำนวน 1 ครั้ง/เดือน ผลการดำเนินงานตั้งแต่เดือน ต.ค.62-มิ.ย.63 จำนวน 9 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 วันที่ 24 ต.ค.62 ณ บริเวณคลองสะแก ครั้งที่ 2 วันที่ 21 พ.ย.62 ณ บริเวณคลองบ้านป่า ครั้งที่ 3 วันที่ 19 ธ.ค.62 ณ บริเวณคลองจวน ครั้งที่ 4 วันที่ 16 ม.ค.63 ณ บริเวณคลองพระโขนงเก่า ครั้งที่ 5 วันที่ 20 ก.พ.63 ณ บริเวณคลองแสนแสบ ครั้งที่ 6 วันที่ 19 มี.ค.63 ณ บริเวณคลองสุเหร่าใหม่ ครั้งที่ 7 วันที่ 23 เม.ย.63 ณ คลองเจ็ดขนัด ครั้งที่ 8 วันที่ 21 พ.ค.63 ณ คลองบึงบ้านม้า และครั้งที่ 9 วันที่ 18 มิ.ย.63 ณ คลองประเวศบุรีรมย์
--มีการจัดทำแผนปฏิบัติการเตรียมการป้องกันน้ำท่วมประจำปี 2563 ของสำนักงานเขต -ความสามารถในการระบายน้ำจากถนนสายหลักที่มีปัญหาน้ำท่วมขังเนื่องจากฝนตก มีการดำเนินงานจัดทำแผนขุดลอกท่อระบายน้ำ จำนวน 127 ซอย ความยาว 99,442 เมตร ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว 127 ซอย ความยาว 99,442 เมตร คิดเป็นร้อยละ 100 -จัดกิจกรรมรณรงค์ไม่ทิ้งขยะลงในคูคลอง จำนวน 1 ครั้ง/เดือน ผลการดำเนินงานตั้งแต่เดือน ต.ค.62-ก.ย.63 จำนวน 9 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 วันที่ 24 ต.ค.62 ณ บริเวณคลองสะแก ครั้งที่ 2 วันที่ 21 พ.ย.62 ณ บริเวณคลองบ้านป่า ครั้งที่ 3 วันที่ 19 ธ.ค.62 ณ บริเวณคลองจวน ครั้งที่ 4 วันที่ 16 ม.ค.63 ณ บริเวณคลองพระโขนงเก่า ครั้งที่ 5 วันที่ 20 ก.พ.63 ณ บริเวณคลองแสนแสบ ครั้งที่ 6 วันที่ 19 มี.ค.63 ณ บริเวณคลองสุเหร่าใหม่ ครั้งที่ 7 วันที่ 23 เม.ย.63 ณ คลองเจ็ดขนัด ครั้งที่ 8 วันที่ 21 พ.ค.63 ณ คลองบึงบ้านม้า และครั้งที่ 9 วันที่ 18 มิ.ย.63 ณ คลองประเวศบุรีรมย์
๑. การเตรียมการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ หมายถึง การเตรียมการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเนื่องจากน้ำฝนและน้ำหลากเข้าในพื้นที่เขตให้สามารถลดระยะเวลาการระบายน้ำท่วมขังได้เร็วขึ้น ลดผลกระทบที่จะเกิดแก่ประชาชนให้น้อยลง ทั้งนี้ การเตรียมการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานเขตต้องจัดทำแผนปฏิบัติการเตรียมการป้องกันปัญหาน้ำท่วมประจำปี ๒๕๖๓ โดยมีภารกิจในการเตรียมการ ดังนี้ ๑.๑ การขุดลอกคู-คลอง และเปิดทางน้ำไหล ๑.๒ การทำความสะอาด/ลอกท่อระบายน้ำ บูรณะซ่อมแซมฝาบ่อพัก ตะแกรงรับน้ำ และคันหิน ๒. ความสำเร็จในการเตรียมการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร หมายถึง ผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการเตรียมการป้องกันปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ประจำปี ๒๕๖๓ ที่สำนักการระบายน้ำและสำนักงานเขตกำหนด
เกณฑ์การให้คะแนน : ร้อยละ ๑๐๐ - พิจารณาจากผลการดำเนินการตามแผนเตรียมการป้องกันปัญหาน้ำท่วมประจำปี ๒๕๖๓ ของสำนักการระบายน้ำและสำนักงานเขต ประกอบด้วย การเตรียมการตามแผนฯ แบ่งเป็น ๒ ภารกิจ ๑ กิจกรรม ดังนี้ ๑. แผนการทำความสะอาด/ลอกท่อระบายน้ำ บูรณะซ่อมแซมฝาบ่อพักตะแกรงรับน้ำและคันหิน แบ่งแผนการดำเนินการ ดังนี้ ๑.๑ แผนงานทำความสะอาด/ลอกท่อระบายน้ำฯ โดยใช้แรงงานเขต ๑.๒ แผนงานทำความสะอาด/ลอกท่อระบายน้ำฯ โดยการจ้างเหมาหน่วยงานอื่นตามที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ทั้งนี้ ให้รายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนฯ ผ่านเว็บไซต์ของสำนักการระบายน้ำ ตามแบบรายงาน สนน.๐๑ ไม่เกินวันที่ ๕ ของทุกเดือน พร้อมระบุปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน (ถ้ามี) และผลการดำเนินงานตามแผนที่กำหนด ต้องได้ร้อยละ ๑๐๐ ภายในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ (คะแนนร้อยละ ๔๕) ๒. แผนการขุดลอกคู คลอง และเปิดทางน้ำไหล แบ่งแผน การดำเนินการ ดังนี้ ๒.๑ แผนงานการขุดลอกคู คลองฯ โดยใช้แรงงานเขต ๒.๒ แผนงานการขุดลอกคู คลองฯ โดยการจ้างเหมาหน่วยงานอื่นตามที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ทั้งนี้ ให้รายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนฯ ผ่านเว็บไซต์ของสำนักการระบายน้ำ ตามแบบ สนน. ๐๒ ไม่เกินวันที่ ๕ ของทุกเดือน และการรายงานการดำเนินงานต้องครบถ้วน สมบูรณ์ สม่ำเสมอ และระบุปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน (ถ้ามี) และผลการดำเนินงานตามแผนที่กำหนด ต้องได้ร้อยละ ๑๐๐ ภายในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ (คะแนนร้อยละ ๔๕) ๓. จัดกิจกรรมรณรงค์ไม่ทิ้งขยะลงในคู คลอง โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน/เอกชนในพื้นที่หรือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๔ ครั้ง/ปี (คะแนน ร้อยละ ๑๐) สูตรการคำนวณ : ผลคะแนนการดำเนินการตามแผนฯ (คะแนนร้อยละ ๑๐๐) ร้อยละความสำเร็จ = ร้อยละผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ คูณด้วย ๑๐๐ หารด้วยร้อยละความสำเร็จตามแผนปฏิบัติการฯ ที่สำนักงานเขตกำหนด เกณฑ์การให้คะแนน - ร้อยละ ๑๐๐ เท่ากับ ๑๐ คะแนน - ร้อยละ ๙๐–๙๙ เท่ากับ ๘ คะแนน - ร้อยละ ๘๐-๘๙ เท่ากับ ๖ คะแนน - ร้อยละ ๗๐-๗๙ เท่ากับ ๔ คะแนน - ต่ำกว่าร้อยละ ๗๐ เท่ากับ ๑ คะแนน (ปัดเศษตามหลักคณิตศาสตร์)
1. แผนงานทำความสะอาด/ลอกท่อระบายน้ำ 2. แผนพัฒนาคู คลองในพื้นที่เขตพระโขนง 3. สรุปผลการดำเนินงานลอดท่อระบายน้ำแลพัฒนาคูคลองในพื้นที่เขตเสนอผู้อำนวยการเขตทราบ 4. เอกสารเผยแพร่ 5. ภาพถ่ายกิจกรรม
:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
:๑.๔ - ปลอดภัยพิบัติ |
:๑.๔.๑ กรุงเทพมหานครสามารถลดความเสี่ยงและฟื้นคืนจากภัยพิบัติ% |
:๑.๔.๑.๑ กรุงเทพมหานครมีความพร้อมในการรับมือกับอุทกภัยทั้งจากน้ำฝนน้ำหนุนและน้ำหลาก เสริมสร้างศักยภาพและความสามารถด้านบุคลากรและเครื่องมือ |