รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

(เจรจาบูรณาการตัวที่ 2.1) ร้อยละของปริมาณมูลฝอยที่คัดแยกและนำกลับไปใช้ประโยชน์ที่แหล่งกำเนิดเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2560 : 5042-0820

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 15

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 26

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
26.00
100
100 / 100
2
26.00
100
100 / 100
3
25.50
100
100 / 100
4
19.98
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

- การจัดการมูลฝอยคัดแยกประเภทเพื่อใช้ประโยชน์ (รีไซเคิล เศษวัสดุก่อสร้าง เศษไม้) จำนวน 4,091.30 ตัน คิดเป็น 67.07ตัน/วัน - การจัดการมูลฝอยแยกประเภทเพื่อใช้ประโยชน์ (ขยะอินทรีย์) จำนวน 1,144.06 ตัน คิดเป็น 18.76 ตัน/วัน

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

- การจัดเก็บมูลฝอยคัดแยกประเภทเพื่อใช้ประโยชน์ (รีไซเคิล เศษวัสดุก่อสร้าง เศษไม้) จำนวน 12,320 ตัน คิดเป็น 67 ตัน/วัน ,การจัดเก็บมูลฝอยแยกประเภทเพื่อใช้ประโยชน์ (ขยะอินทรีย์) จำนวน 3,360 ตัน คิดเป็น 18 ตัน/วัน

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

-การจัดเก็บมูลฝอยคัดแยกประเภทเพื่อใช้ประโยชน์ (รีไซเคิล เศษวัสดุก่อสร้าง เศษไม้) จำนวน 18,513 ตัน คิดเป็น 67.50 ตัน/วัน -การจัดการมูลฝอยแยกประเภทเพื่อใช้ประโยชน์ (ขยะอินทรีย์) จำนวน 4,897 ตัน คิดเป็น 17.87 ตัน/วัน

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

-การจัดเก็บมูลฝอยคัดแยกประเภทเพื่อใช้ประโยชน์ (รีไซเคิล เศษวัสดุก่อสร้าง เศษไม้) จำนวน 24,733.80 ตัน คิดเป็น 67.58 ตัน/วัน -การจัดการมูลฝอยแยกประเภทเพื่อใช้ประโยชน์ (ขยะอินทรีย์) จำนวน 6,653.89 ตัน คิดเป็น 18.18 ตัน/วัน รวมทั้งปี 85.76 ตัน/วัน คิดเป็นร้อยละ 19.98

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

1.1 มูลฝอยอินทรีย์ (Organic waste) สิ่งที่ย่อยสลายง่าย ได้แก่ เศษอาหาร เศษผักเปลือกผลไม้ วัชพืช ใบไม้กิ่งไม้ ฯลฯ 1.2 มูลฝอยอินทรีย์นำกลับไปใช้ประโยชน์ หมายถึง การนำกลับไปใช้ประโยชน์ตามคุณสมบัติของมูลฝอยโดยผ่านกระบวนการแปรรูปหรือไม่ก็ได้เช่นทำปุ๋ยหมัก เลี้ยงสัตว์ แปรรูป ฯลฯ 1.3 มูลฝอยอันตราย (Hazardous Wastes) หมายถึงของเสียอันตรายที่เกิดจากชุมชน ได้แก่ หลอดฟลูออเรสเซนต์ ถ่านไฟฉาย/แบตเตอรี่ บรรจุภัณฑ์ปนเปื้อน ซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และอื่นๆ เช่น ยาเม็ดหมดอายุ ผงคาร์บอน เป็นต้น โดยไม่รวมของเสียอันตรายจากอุตสาหกรรม มูลฝอยติดเชื้อ และของเสียกัมมันตรังสี

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

วิธีการคำนวณ 2.1 ร้อยละของปริมาณมูลฝอยอินทรีย์ที่คัดแยกและนำกลับไปใช้ประโยชน์ที่แหล่งกำเนิดเพิ่มขึ้น เท่ากับ ปริมาณมูลฝอยอินทรีย์ที่คัดแยกและนำกลับไปใช้ประโยชน์ที่แหล่งกำเนิดปี 2562 ลบ ปริมาณมูลฝอยอินทรีย์ที่คัดแยกและนำกลับไปใช้ประโยชน์ที่แหล่งกำเนิดปี 2561 หาร ปริมาณมูลฝอยอินทรีย์ที่คัดแยกและนำกลับไปใช้ประโยชน์ที่แหล่งกำเนิดปี 2561 คูณ 100 2.2 ร้อยละของปริมาณมูลฝอยอันตรายที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิดเพิ่มขึ้น เท่ากับ ปริมาณมูลฝอยอันตรายที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิดปี 2562 ลบ ปริมาณมูลฝอยอันตรายที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิดปี 2561 หาร ปริมาณมูลฝอยอันตรายที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิดปี 2561 คูณ 100 เกณฑ์การประเมินผล 1. ค่าเป้าหมายรายเขตตามที่สำนักสิ่งแวดล้อมกำหนด 2. ผลการดำเนินงานรายเขตใช้ข้อมูลจากระบบรายงานของสำนักสิ่งแวดล้อม ณ วันที่ 30 กันยายน 2562 3. สำนักงานเขตรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด โดยแยกเป็น 2 ตัวย่อย ผ่านระบบติดตามและประเมินผลของสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลเป็นประจำทุกเดือน โดยต้องระบุรายละเอียดที่อธิบายได้ว่า ดำเนินการอย่างไร กับใคร ที่ไหน เมื่อไร ปริมาณมูลฝอยอินทรีย์ และปริมาณมูลฝอยอันตรายพร้อมระบุแหล่งกำเนิดที่ไปจัดเก็บมูลฝอย 4. จัดเตรียมเอกสารประกอบการดำเนินงานตามแนวทางที่สำนักสิ่งแวดล้อมกำหนดไว้ ณ หน่วยงานเพื่อรับการประเมินผล 4. เกณฑ์การคำนวณคะแนนจากเป้าหมายที่กำหนด แยกแต่ละตัวชี้วัดย่อย - ร้อยละ 100 ของค่าเป้าหมายเขตขึ้นไปได้ 5 คะแนน - ร้อยละ 90 - 99 ของค่าเป้าหมายเขต ได้ 4 คะแนน - ร้อยละ 80 - 89 ของค่าเป้าหมายเขต ได้ 3 คะแนน - ร้อยละ 70 - 79 ของค่าเป้าหมายเขต ได้ 2 คะแนน - ร้อยละ 60 - 69 ของค่าเป้าหมายเขต ได้ 1 คะแนน - ร้อยละ 59 ของค่าเป้าหมายเขตลงมา ได้ 0.9 คะแนน 5. นำผลคะแนน 2 ตัวย่อยรวมกันเป็นผลงานตัวชี้วัดรายเขต

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

-

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๑ - ปลอดมลพิษ
:๑.๑.๑ แหล่งน้ำสาธารณะทั้งแม่น้ำสายหลักและคูคลองต่างๆ มีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน คุณภ%
:๑.๑.๒.๑ ลดและควบคุมปริมาณมูลฝอยที่แหล่งกำเนิดและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่แหล่งกำเนิดจนถึงการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง