รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

(เจรจาบูรณาการตัวที่ 3) พื้นที่เสี่ยงภัยได้รับการลดเงื่อนไขความล่อแหลมต่อการเกิดอาชญากรรม : 5042-0827

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
15.00
100
100 / 100
2
30.00
100
100 / 100
3
60.00
100
100 / 100
4
100.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

ได้รับอนุมัติโครงการฯและแผนปฏิบัติงาน คำสั่งมอบหมายเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตามโครงการฯ โดยมีจุดเสี่ยงทั้งหมด 12 จุด 1.การเฝ้าระวังและตรวจตราของเจ้าหน้าที่เทศกิจโดยจัดเจ้าหน้าที่สายตรวจเทศกิจออกปฏิบัติหน้าที่ตรวจตราพื้นที่เสี่ยง ตามบัญชีกำหนด 12 จุด ตรวจการทำงานของกล้อง CCTV และตรวจไฟฟ้าส่องสว่าง ทุกวัน ๆ ละ 3 ครั้ง พบว่าจุดที่ยังไม่มีกล้อง CCTV ทั้งหมด 6 จุด คือ จุดที่ 4 ถนนคู่ขนานกาญจนาภิเษก (ฝั่งตะวันตก) จุดที่ 5 โรงเรียนเอกวิทยา จุดที่ 6 หมู่บ้านศรีธราวรรณ จุดที่ 7 ซอยสายไหม 60 จุดที่ 8 โค้งตัวเอส จุดที่ 9 สะพานลอยคนข้ามพหลโยธิน กม.25 ถนนพหลโยธิน (ขาเข้า) จุดที่มีกล้องแล้ว ใช้งานได้ปกติ ไฟฟ้าใช้งานได้ทุกจุด 2. การพัฒนาสภาพแวดล้อม ได้มีการติดตั้งกล้อง CCTV แล้ว 6 จุด และได้ติดป้ายแจ้งเตือนว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรมทุกจุดเรียบร้อย ฝ่ายรักษาความสะอาดฯได้พัฒนาตัดหญ้า 1 จุด คือ ถนนกาญจนาภิเษก (ฝั่งตะวันออก)

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

-อยู่ระหว่างการดำเนินการตามโครงการ คือ 1.การเฝ้าระวัง โดยฝ่ายเทศกิจได้จัดเจ้าหน้าที่สายตรวจออกตรวจจุดเสี่ยง 12 จุดตามแผน และตรวจการทำงานของกล้องวงจรปิด (CCTV) ในจุดที่มีกล้องแล้ว ทุกวัน ๆ ละ 3 ครั้ง กล้องวงจรปิดใช้การได้ปกติทุกจุด และได้ประสานสถานีตำรวจในพื้นที่เพื่อตรวจสอบคดีอาชญากรรมบริเวณจุดเสี่ยงทั้งหมด ยังไม่พบมีคดีอาชญากรรมเกิดขึ้น 2. การพัฒนาสภาพแวดล้อม - ฝ่ายรักษาความสะอาดฯได้พัฒนาตัดหญ้าในบริเวณพื้นที่เสี่ยง จำนวน 4 จุด คือ จุดที่ 3 ถนนกาญจนาภิเษก (ฝั่งตะวันออก) จุดที่ 8 โค้งตัวเอส จตุโชติ จุดที่ 1 หน้าโรงเรียนเอกอนุบาล (ถนนวัดเกาะ) จุดที่ 6 บ้านร้างศรีธราวรรณ - ได้มีการติดตั้งกล้องวงจรปิดแล้ว 6 จุด จุดที่ยังไม่มี ได้ประสานสำนักการจราจรและขนส่งดำเนินการ ตามหนังสือที่ กท 7903/679 ลงวันที่ 27 มกราคม 2563 - ฝ่ายเทศกิจได้ติดป้ายประชาสัมพันธ์เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรมครบทุกจุดแล้ว

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

- อยู่ระหว่างดำเนินโครงการ 1. การเฝ้าระวังและตรวจตราของเจ้าหน้าที่เทศกิจ โดยได้จัดสายตรวจเทศกิจออกปฏิบัติหน้าที่ตรวจตราพื้นที่เสี่ยงตามบัญชีกำหนด 12 จุด ตรวจการทำงานของกล้อง CCTV และตรวจไฟฟ้าส่องสว่าง ทุกวัน ๆ ละ 3 ครั้ง ใช้การได้ปกติทุกจุด และประสานสถานีตำรวจในพื้นที่เพื่อสอบถามคดีอาชญากรรมที่เกิดขึ้น ไม่พบมีคดีอาชญาบริเวณจุดเสี่ยง 2. การพัฒนาสภาพแวดล้อม -ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ ได้พัฒนาทำความสะอาดฯ จำนวน 1 จุด คือจุดที่ 12 ป้ายรถประจำทาง ปากซอยพหลโยธิน 58 - ฝ่ายเทศกิจ ได้ติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์ฯ เป็นพื้นเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรม ครบ 12 จุด - ฝ่ายโยธา ได้ประสานสำนักการจราจรและขนส่ง เพื่อติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) ในจุดที่ยังไม่มีหรือใช้การไม่ได้ ตามหนังสือที่ กท 7903/679 ลงวันที่ 27 มกราคม 2563

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

-ดำเนินการเสร็จสิ้นตามแผน 1. การเฝ้าระวังและตรวจตราของเจ้าหน้าที่เทศกิจ โดยได้จัดสายตรวจเทศกิจออกปฏิบัติหน้าที่ตรวจตราพื้นที่เสี่ยงตามบัญชีกำหนด 12 จุด ตรวจการทำงานของกล้อง CCTV และตรวจไฟฟ้าส่องสว่าง ทุกวัน ๆ ละ 3 ครั้ง ใช้การได้ปกติทุกจุด และประสานสถานีตำรวจในพื้นที่เพื่อสอบถามคดีอาชญากรรมที่เกิดขึ้น ไม่พบมีคดีอาชญาบริเวณจุดเสี่ยง 2. การพัฒนาสภาพแวดล้อม -ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ ได้พัฒนาทำความสะอาดฯ จำนวน 3 จุด คือจุดที่ 2 ถนนเลียบคลองหกวา จุดที่ 4 ถนนคู่ขนานกาญจนาภิเษก (ฝั่งตะวันตก) จุดที่ 11 ป้ายรถประจำทาง แยกลำลูกกา ถนนพหลโยธิน - ฝ่ายเทศกิจ ได้ติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์ฯ เป็นพื้นเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรม ครบ 12 จุด - ฝ่ายโยธา ได้ประสานสำนักการจราจรและขนส่ง เพื่อติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) ในจุดที่ยังไม่มีหรือใช้การไม่ได้ ตามหนังสือที่ กท 7903/679 ลงวันที่ 27 มกราคม 2563

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

- จุดเสี่ยงภัย หมายถึง จุดที่กรุงเทพมหานครสำรวจว่าเป็นจุดเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรม (รวมกับจุดที่กองบัญชาการตำรวจนครบาลสำรวจ)จุดเสี่ยงต่อความปลอดภัยทางถนน และท่าเทียบเรือ - การเฝ้าระวังและตรวจตรา หมายถึง สำนักเทศกิจและสำนักงานเขต มีการดำเนินการเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยจากอาชญากรรม ความปลอดภัยทางถนน และท่าเทียบเรือ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ดังนี้ 1. จุดเสี่ยงภัยได้รับการตรวจตรา และตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของกล้องวงจรปิด (CCTV) 2. จุดเสี่ยงภัยได้รับการปรับสภาพแวดล้อม ด้วยการตัดต้นไม้ที่รกทึบ ติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง ติดป้ายประชาสัมพันธ์ป้องกันอาชญากรรม ทำความสะอาดป้ายรถประจำทาง 3. ดำเนินการเฝ้าระวังความปลอดภัยจากอาชญากรรมและความปลอดภัยทางถนน เช่น กลับบ้านปลอดภัยไปกับเทศกิจ การจัดกิจกรรมเทศกิจอาสาจราจรพาน้องข้ามถนน 4. ดำเนินการตรวจตราความปลอดภัยบริเวณท่าเทียบเรือ การวัดผลสัมฤทธิ์ของตัวชี้วัด 1. สำนักเทศกิจ มีข้อมูลจุดเสี่ยงภัยของสำนักงานเขต 1 ชุด 2. สำนักงานเขต มีการจัดทำแผนเฝ้าระวังและตรวจตราจุดเสี่ยงภัย ดังนี้ 2.1 จุดเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรม มีการตรวจตรา2 ครั้ง/วัน/จุด 2.2 จุดเสี่ยงภัยที่ติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) มีการตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของกล้องวงจรปิด (CCTV) 1 ครั้ง/วัน/จุดหากพบว่ามีการชำรุดให้จัดทำหนังสือประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไข 2.3 จุดเสี่ยงภัยได้รับการปรับสภาพแวดล้อมด้วยการดูแลตัดต้นไม้ ติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง ติดป้ายประชาสัมพันธ์ป้องกันอาชญากรรม ทำความสะอาดบริเวณป้ายรถประจำทาง ฯลฯ (ฝ่ายเทศกิจ ฝ่ายรักษาฯ ฝ่ายโยธา) 2.4 ปฏิบัติหน้าที่อำนวยความสะดวกด้านการจราจรตามโครงการอาสาพาน้องข้ามถนนและอาสาจราจร จำนวน 2 ครั้ง/วัน/จุด (ฝ่ายเทศกิจ) 3. สำนักงานเทศกิจ มีการจัดทำแผนเฝ้าระวังและตรวจตราจุดเสี่ยงภัย 3.1 จุดเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรม มีการตรวจตรา1 ครั้ง/เดือน/จุด 3.2 จุดเสี่ยงภัยที่ติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) มีการตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงาน 1 ครั้ง/เดือน/จุด หากพบว่ามีการชำรุดให้จัดทำหนังสือประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไข 3.3 ปฏิบัติหน้าที่อำนวยความสะดวกด้านการจราจรตามโครงการอาสาพาน้องข้ามถนนและอาสาจราจร2 ครั้ง/วัน/จุด 3.4 ท่าเทียบเรือ (ตั้งแต่สะพานซังฮี้ – สะพานกรุงเทพ)มีการตรวจตราความปลอดภัย จำนวน 2 ครั้ง/วัน 4. สำนักเทศกิจ และสำนักงานเขต ดำเนินการตามแผนการเฝ้าระวังและตรวจตราจุดเสี่ยงภัย พร้อมรายงานผลการดำเนินงานให้ผู้บริหารหน่วยงานทราบเป็นประจำทุกเดือน 5. สำนักเทศกิจ ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการเฝ้าระวังและตรวจตราจุดเสี่ยงภัยของทุกสำนักงานเขต และสรุปผลการดำเนินงานในภาพรวมรายไตรมาส ให้ผู้บริหารกรุงเทพมหานครทราบ

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

จำนวนจุดเสี่ยงภัย (จุดเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรม จุดเสี่ยงต่อความปลอดภัยทางถนน และท่าเทียบเรือ) ทุกจุดในพื้นที่ที่รับผิดชอบได้รับการเฝ้าระวังและตรวจตรา

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

-

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๒ - ปลอดอาชญากรรมและยาเสพติด
:๑.๒.๑ ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน%
:๑.๒.๑.๑ เสริมสร้างความปลอดภัยเพื่อลดความล่อแหลมของสภาพแวดล้อมต่อการก่อ อาชญากรรม

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง